บทเรียนการศึกษาที่บ้าน
แอลมา 25–32 (หน่วย 18)
คำนำ
เริ่มบทเรียนนี้ด้วยกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนพยายามเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ของบทเรียนจะมุ่งเน้นผลของการเชื่อและการปฏิบัติแนวคิดผิดๆ อันขัดกับการเชื่อและการปฏิบัติตามพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ดังอธิบายไว้ใน แอลมา 30–32
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
แอลมา 25–29
แอมันกับพวกบุตรของโมไซยาห์ปลาบปลื้มในพระเจ้าเมื่อชาวเลมันมากมายเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระกิตติคุณ
ดังบันทึกไว้ใน แอลมา 26 แอมันกับพี่น้องของเขาชื่นชมยินดีกับความสำเร็จในงานของพระเจ้า ให้นักเรียนอ่าน แอลมา 26:1–4, 11–13 และมองหาสิ่งที่แอมันกับพี่น้องของเขาทำสำเร็จและพวกเขาสามารถทำสำเร็จได้อย่างไร เตือนความจำของนักเรียนว่าข้อเหล่านี้สอนหลักธรรมดังต่อไปนี้คือ เมื่อเราอ่อนน้อมถ่อมตน พระเจ้าทรงเพิ่มพละกำลังและใช้เราเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์พระองค์
แอลมา–30
คอริฮอร์เยาะเย้ยหลักคำสอนของพระคริสต์
ให้ชั้นเรียนดูเมล็ดพืช ขอให้พวกเขาเขียนตัวอย่างของสิ่งที่พวกเขาชอบซึ่งมาจากเมล็ดพืช เมื่อเปรียบเทียบกับต้นไม้ ผลไม้ และผักที่นักเรียนอาจจะกล่าวถึง ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดพืชอาจเติบโตเป็นต้นไม้ที่ให้ผลขมหรือผลมีพิษหรืออาจจะทำลายต้นไม้ดีๆ ต้นอื่นก็ได้
เขียนคำว่า แนวคิด และ ความเชื่อ ไว้บนกระดานและถามว่า แนวคิดหรือความเชื่อเหมือนเมล็ดพืชอย่างไร
อธิบายว่าเมื่อนักเรียนศึกษาและสนทนา แอลมา 30–32 ในชั้นเรียนวันนี้ พวกเขาจะเปรียบเทียบผลของการทำตามแนวคิดผิดๆ กับผลของการทำตามพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า
ขอให้นักเรียนอธิบายว่าคอริฮอร์เป็นใคร เชื้อเชิญพวกเขาให้อ่าน แอลมา 30:12–18, 23 และระบุแนวคิดผิดๆ ที่คอริฮอร์สอน หลังจากให้เวลาอ่านแล้ว เชื้อเชิญพวกเขาให้เขียนแนวคิดผิดๆ สองสามข้อของคอริฮอร์ที่พวกเขาคิดว่าอาจจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความเชื่อทางศาสนาของคนบางคนไว้บนกระดานหรือในแผ่นกระดาษ จากนั้นให้ถามดังนี้
-
แนวคิดเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การกระทำอะไรบ้าง (ขณะที่นักเรียนตอบ จงชี้ให้เห็นว่าแนวคิดที่นำไปสู่การกระทำเปรียบเสมือนเมล็ดพืชที่เติบโตเป็นต้นไม้)
-
ตามที่กล่าวไว้ใน แอลมา 30:18 คำสอนของคอริฮอร์ชักนำผู้คนให้ทำอะไร (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เน้นว่า ซาตานใช้หลักคำสอนเท็จชักจูงเราให้ทำบาป)
เชิญนักเรียนคนหนึ่งสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นกับคอริฮอร์ (หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือ ให้พวกเขาใช้หัวบทสำหรับ แอลมา 30 หรืออ่าน แอลมา 30:52–53, 59–60)
แอลมา 31
แอลมาเป็นผู้นำพันธกิจแห่งการนำชาวโซรัมที่ละทิ้งความเชื่อกลับคืนมา
เตือนความจำของนักเรียนว่าชาวโซรัมเชื่อแนวคิดผิดๆ และถลำเข้าไปในการปฏิบัติแบบผิดๆ หรือแบบคนละทิ้งความเชื่อ ใน แอลมา 31:5 เราเรียนรู้ว่า เมื่อเราศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า พระวจนะนั้นจะนำเราให้ทำสิ่งถูกต้อง
แอลมา–32
แอลมาสอนคนยากจนของชาวโซรัมให้รู้วิธีใช้ศรัทธา
เตือนความจำของนักเรียนว่าถึงแม้ชาวโซรัมจำนวนมากไม่ยอมรับพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า แต่แอลมาเริ่มมีความสำเร็จในบรรดาคนยากจน เขาสอนคนเหล่านั้นให้รู้วิธีใช้ศรัทธา ให้นักเรียนทบทวนข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ แอลมา 32:21 ขอให้พวกเขาอธิบายว่าข้อนี้สอนอะไรเกี่ยวกับศรัทธา
เตือนความจำของนักเรียนว่าแอลมาใช้เมล็ดพืชสอนเรื่องกระบวนการพัฒนาศรัทา จากนั้นให้ถามดังนี้
-
วลีใดใน แอลมา 32:28 บ่งบอกว่าเมล็ดพืชดี หรือในกรณีนี้คือพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า
-
พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้ามีผลอะไรต่อเราเมื่อเรายอมให้ปลูกไว้ในใจเรา
บอกนักเรียนว่าแอลมากระตุ้นเตือนชาวโซรัมให้ทดลองพระวจนะ หรือปลูกไว้ในใจพวกเขาโดยเชื่อและปฏิบัติตามพระวจนะนั้น เชื้อเชิญพวกเขาให้อ่าน แอลมา 33:22–23 โดยดูว่าแอลมาปรารถนาให้ผู้คนปลูก “พระวจนะ” อะไรไว้ในใจพวกเขา ท่านอาจต้องการกระตุ้นนักเรียนให้เขียนข้อเหล่านี้เป็นข้ออ้างโยงใกล้กับ แอลมา 32:28
ให้นักเรียนอ่าน แอลมา 32:28–29, 31, 37, 41–43 โดยมองหารางวัลที่เราได้รับจากการเชื่อและปฏิบัติตามพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ขณะที่นักเรียนตอบ หลักธรรมต่อไปนี้ต้องชัดเจน: หากเราบำรุงเลี้ยงศรัทธาของเราในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าไว้ในใจเราอย่างขยันหมั่นเพียร ศรัทธาและประจักษ์พยานของเราในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์จะเติบโต
เพื่อสรุปบทเรียนนี้ ให้เชิญนักเรียนแบ่งปันคำตอบของบทที่ 4 งานมอบหมาย 4 ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา—เกี่ยวกับผลที่พวกเขาเห็นในชีวิตเมื่อทำตามการทดลองที่แอลมาบอกไว้ใน แอลมา 32
หน่วยต่อไป (แอลมา 33–38)
อะไรคืออันตรายของการผัดวันแห่งการกลับใจ อมิวเล็คตอบคำถามนี้และให้คำเตือน แอลมาแนะนำบุตรชายสองคนของเขาเช่นกันเมื่อใกล้ถึงจุดจบของชีวิตเขา เขาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเขา—เปลี่ยนจากคนที่ต่อสู้กับพระผู้เป็นเจ้ามาเป็นคนที่ต่อสู้เพื่อพระผู้เป็นเจ้า—และบอกว่าเขารู้สึกอย่างไรเมื่อเขาเป็นอิสระจากความรู้สึกผิดและความเจ็บปวดของบาป