จงตามเรามา
9–15 มิถุนายน: “เราอยู่กับคนซื่อสัตย์เสมอ”: หลักคําสอนและพันธสัญญา 60–63


“9–15 มิถุนายน: ‘เราอยู่กับคนซื่อสัตย์เสมอ’: หลักคําสอนและพันธสัญญา 60–63” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคําสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“หลักคําสอนและพันธสัญญา 60–63” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

แคมป์ไฟริมแม่น้ำมิสซูรี

ส่วนหนึ่งจากภาพ แคมป์ไฟริมแม่น้ำมิสซูรี โดย ไบรอัน มาร์ค เทย์เลอร์

9–15 มิถุนายน: “เราอยู่กับคนซื่อสัตย์เสมอ”

หลักคำสอนและพันธสัญญา 60–63

ต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1831 โจเซฟ สมิธและเอ็ลเดอร์คนอื่นๆ ของศาสนจักรกําลังเตรียมกลับไปเคิร์ทแลนด์หลังจากไปเยือน “แผ่นดินแห่งไซอัน” ไม่นาน (หลักคําสอนและพันธสัญญา 59:3) พระเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาสั่งสอนพระกิตติคุณระหว่างเดินทาง (ดู หลักคําสอนและพันธสัญญา 52:10) และบางคนสั่งสอนอย่างขยันหมั่นเพียร แต่คนอื่นๆ ลังเล “พวกเขาซ่อนพรสวรรค์ซึ่งเราให้แก่พวกเขา” พระเจ้าตรัส “เพราะความกลัวมนุษย์” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 60:2) พวกเราหลายคนรู้ว่าเอ็ลเดอร์เหล่านี้รู้สึกอย่างไร ถึงแม้เรารักพระกิตติคุณ แต่ความกลัวและความสงสัยอาจทําให้เราไม่แบ่งปันพระกิตติคุณ แต่พระเจ้าทรงมีพระเมตตา พระองค์ทรง “รู้ความอ่อนแอของมนุษย์และรู้ว่าจะช่วย [เรา]” อย่างไร (หลักคำสอนและพันธสัญญา 62:1) คำรับรองต่อผู้สอนศาสนายุคแรกที่กระจายอยู่ทั่วการเปิดเผยเหล่านี้และสามารถช่วยเราเอาชนะความกลัวและข้อบกพร่อง: “เราสามารถทําให้เจ้าบริสุทธิ์” “เนื้อหนังทั้งปวงอยู่ในมือเรา” “เราอยู่กับคนซื่อสัตย์เสมอ” และ “คนที่ซื่อสัตย์และอดทนจะชนะโลก” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:7; 61:6; 62:9; 63:47)

ไอคอนการศึกษา

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 60; 62

เราสามารถแบ่งปันความรักและประจักษ์พยานของเราเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

ประจักษ์พยานของท่านในพระกิตติคุณเปรียบเสมือน “พรสวรรค์” หรือของมีค่าจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร? บางครั้งเรา “ซ่อนพรสวรรค์ [ของเรา]” ด้วยวิธีใดบ้าง? หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2; ดู มัทธิว 25:14–30 ด้วย

ท่านพบข่าวสารให้กำลังใจอะไรจากพระเจ้าใน ภาค 60 และ 62? ข่าวสารเหล่านี้สร้างความมั่นใจให้ท่านในการแบ่งปันพระกิตติคุณอย่างไร? ขณะที่ท่านไตร่ตรองคําถามเหล่านี้ ท่านอาจร้องหรืออ่านเนื้อเพลง “ฉันอยากเป็นผู้สอนศาสนาเดี๋ยวนี้” (หนังสือเพลงสําหรับเด็ก, 90) ท่านเรียนรู้อะไรจากเพลงสำหรับเด็กเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณ?

ดู “การแบ่งปันพระกิตติคุณ” ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณด้วย

การแบ่งปันพระกิตติคุณบนรถโดยสาร

เราสามารถเปิดใจเกี่ยวกับการแบ่งปันศรัทธาของเราในพระคริสต์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2–4; 61:1–2, 20, 36–38; 62:1, 6

พระคัมภีร์สอนถึงพระเยซูคริสต์

เมื่อพระองค์ทรงแนะนําผู้สอนศาสนา พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงสําคัญเกี่ยวกับพระองค์ มองหาความจริงเหล่านี้ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 60:2–4; 61:1–2, 20, 36–38; 62:1, 6 ท่านพบเรื่องราวใดจากพระคัมภีร์ที่แสดงให้เห็นบทบาทและพระคุณลักษณะของพระผู้ช่วยให้รอด (ดูตัวอย่าง เช่น ยอห์น 8:1–11; อีเธอร์ 2:14–15)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 62

การตัดสินใจของเราควร “ตามดุลพินิจและตามการนำทางของพระวิญญาณ”

พระเจ้าประทานการนําทางเกี่ยวกับความจริงและหลักธรรมนิรันดร์ แต่บ่อยครั้งพระองค์จะทรงปล่อยให้เรากําหนดรายละเอียดเฉพาะเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหลักธรรมเหล่านี้ ท่านเห็นหลักธรรมนี้อธิบายไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 62 อย่างไร? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:5; 61:22 ด้วย) ท่านเคยเห็นหลักธรรมนี้ในชีวิตท่านอย่างไร? เหตุใดจึงเป็นการดีสำหรับเราที่ตัดสินใจบางอย่างโดยไม่คาดหวังให้พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับเราอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไร?

ดู อีเธอร์ 2:18–25; หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:27–28 ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:7–12

เครื่องหมายมาโดยศรัทธาและพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

ท้ายโครงร่างนี้มีภาพประกอบเรื่องปาฏิหาริย์ที่ทำให้เอสรา บูธประทับใจอย่างลึกซึ้ง: แขนของเอลซา จอห์นสันหายดีอย่างน่าอัศจรรย์ หลังจากเห็นเช่นนั้น เอสราก็รับบัพติศมาโดยไว แต่ภายในไม่กี่เดือน เอสราก็สูญเสียศรัทธาและวิพากษ์วิจารณ์ท่านศาสดาพยากรณ์ นี่เป็นไปได้อย่างไรทั้งที่เขาเห็นปาฏิหาริย์?

ไตร่ตรองเรื่องนี้ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:7–12 ท่านเรียนรู้ความจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับเครื่องหมายและศรัทธา?

ดู มัทธิว 16:1–4; ยอห์น 12:37; มอรมอน 9:10–21; อีเธอร์ 12:12, 18 ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:16

ไอคอนเซมินารี
ฉันสามารถเป็นคนบริสุทธิ์ในความคิดและการกระทําของฉัน

ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 63:16 พระผู้ช่วยให้รอดทรงยืนยันถึงสิ่งที่พระองค์ทรงสอนในพันธสัญญาใหม่—ว่ากฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศไม่ควรควบคุมแค่การกระทําของเราเท่านั้น แต่ความนึกคิดของเราด้วย (ดู มัทธิว 5:27–28) ขณะที่ท่านอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 63:16 ให้จดคำเตือนที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานเกี่ยวกับความนึกคิดที่เต็มไปด้วยตัณหาราคะ ท่านอาจไตร่ตรองสิ่งที่ตรงข้ามกับคำเตือนแต่ละข้อด้วย ตัวอย่างเช่น คําหรือวลีใดบ้างที่ตรงข้ามกับความกลัว? มีพรใดอีกบ้างที่มาจากการมีความนึกคิดและการกระทําที่บริสุทธิ์?

มีหลายคนคิดว่ามาตรฐานของพระเจ้าในเรื่องของความบริสุทธิ์ทางเพศในความนึกคิดและการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยหรือแม้กระทั่งกดขี่ จะเกิดความแตกต่างอย่างไรถ้าบุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้าพยายามดําเนินชีวิตตามกฎดังกล่าว? ท่านอาจมองหาคําตอบของคําถามนี้ในข่าวสารของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์เรื่อง “เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์” (เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 41–44) หรือ “ร่างกายของท่านศักดิ์สิทธิ์” (เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน: คู่มือแนะแนวการเลือก, 23–26) ท่านพบข่าวสารแห่งความหวังอะไรบ้าง?

ถึงแม้เราจะรู้ถึงพรของการบริสุทธิ์ในความนึกคิดและการกระทําของเรา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องง่าย ท่านอาจใช้เวลาไตร่ตรองว่าสิ่งใดทำให้ยากสำหรับท่านที่จะรักษามาตรฐานความบริสุทธิ์ทางเพศของพระผู้ช่วยให้รอด—และสิ่งใดทำให้ง่ายขึ้น ท่านจะแบ่งปันคำแนะนำใดกับผู้อื่นในการปฏิบัติเมื่อถูกล่อลวงด้วยความนึกคิดที่ไร้คุณค่า?

สนับสนุนกันและกัน พรอันประเสริฐประการหนึ่งของการร่วมประชุมในศาสนจักรและในชั้นเรียนคือโอกาสที่ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนวิสุทธิชนในขณะที่เราพยายามติดตามพระผู้ช่วยให้รอด พวกเราหลายคนต่างเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายกัน และประสบการณ์ที่มีร่วมกันจะเป็นความเข้มแข็งที่ยิ่งใหญ่ อย่ากลัวที่จะยอมรับว่าท่านมีความท้าทายต่างๆ แบ่งปันให้กันและกันว่าสิ่งใดช่วยให้ท่านดําเนินชีวิตตามกฎของพระผู้เป็นเจ้าและเอาชนะการล่อลวงได้

ดู หลักคําสอนและพันธสัญญา 121:45AddressingPornography.ChurchofJesusChrist.org

2:3

มาตรฐาน: ความบริสุทธิ์ทางเพศและความสุภาพเรียบร้อย - ความเชื่อมั่นที่แท้จริง

เยาวชนหญิงสองคนแบ่งปันความลับของการมีความมั่นใจและคุณค่าในตนเอง: การมีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นเพื่อน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:58–64

ควรปฏิบัติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความเคารพ

หลักธรรมใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 63:58–64 มีมากกว่าการใช้พระนามของพระเจ้าอย่างไม่สมควร สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นใดบ้างที่มา “จากเบื้องบน” หรือมาจากพระผู้เป็นเจ้า? การที่ท่านพูดถึงสิ่งเหล่านี้ “ด้วยความระมัดระวัง” หมายความว่าอย่างไร?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร เลียโฮนา และ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ฉบับเดือนนี้

ไอคอนหมวดเด็ก 03

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:4; 61:1–2, 36; 62:1

พระคัมภีร์สอนถึงพระเยซูคริสต์

  • ท่านอาจเขียนข้อความบางอย่างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดที่พบใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 60–62 ไว้บนกระดาษแผ่นเล็กๆ จากนั้นเด็กจะจับคู่ข้อความเหล่านี้กับภาพพระเยซูจากการปฏิบัติศาสนกิจบนแผ่นดินโลกของพระองค์ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 34–61) ที่แสดงให้เห็นพระคุณลักษณะเหล่านี้ พระองค์ทรงทําให้เรารู้จักพระองค์ทุกวันนี้อย่างไร?

    Jesus Christ at age twelve in the temple at Jerusalem during the Feast of the Passover. A group of learned Jewish doctors are gathered around Christ. The doctors are expressing astonishment at the wisdom and understanding of the young Christ. (Luke 2:41-50)
พระเยซูคริสต์ผู้ฟื้นคืนพระชนม์

ส่วนหนึ่งจากภาพ เพื่อจุดประสงค์นี้ โดย ยองซุง คิม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:7; 61:1–2; 62:1

พระเจ้าจะทรงให้อภัยฉันเมื่อฉันกลับใจ

  • ขณะที่ท่านอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 60:7; 61:2 กับเด็ก ขอให้ช่วยพวกเขาหาคําที่ข้อเหล่านี้มีเหมือนกัน ย้ำเตือนพวกเขาว่าการเปิดเผยเหล่านี้ประทานแก่โจเซฟ สมิธและผู้นำศาสนจักรท่านอื่นๆ พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านเหล่านั้นรู้อะไร? ท่านอาจพูดคุยกันว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงรู้สึกอย่างไรกับเราเมื่อเราทําผิดพลาด และการกลับใจหมายความว่าอย่างไร ตามที่กล่าวไว้ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 62:1 พระเยซูจะทรงช่วยได้อย่างไรเมื่อเราถูกล่อลวง?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 62:3, 9

พระเยซูคริสต์ทรงต้องการให้เราแบ่งปันพระกิตติคุณ

  • ท่านอาจถามเด็กถึงสิ่งที่พวกเขาจะพูดหากมีคนถามว่าพวกเขาชื่นชอบอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และศาสนจักรของพระองค์ ร้องเพลงด้วยกันเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณ เช่น “ฉันอยากเป็นผู้สอนศาสนาเดี๋ยวนี้” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 90) อาจให้แนวคิดได้ จากนั้นท่านอาจอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 62:3 และขอให้เด็กฟังสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราแบ่งปันประจักษ์พยานของเรา คําสัญญาใน ข้อ 9 จะช่วยได้อย่างไรหากเรารู้สึกประหม่า?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:64

เราจะมีความคารวะ

  • เพื่อแนะนํา หลักคําสอนและพันธสัญญา 63:64 ท่านอาจร้องเพลงเกี่ยวกับความคารวะกับเด็ก เช่น “ความคารวะคือความรัก” (หนังสือเพลงสําหรับเด็ก, บทเพลงที่ 12) จากนั้นท่านอาจพูดคุยกันเกี่ยวกับวิธีแสดงความคารวะต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

  • ท่านสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจว่าความคารวะคืออะไรโดยการพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งที่พิเศษต่อพวกเขา เช่น ของเล่นชิ้นโปรด หนังสือเล่มโปรด หรือผ้าห่มผืนโปรด ถามพวกเขาว่าพวกเขาดูแลและปกป้องสิ่งที่พิเศษต่อพวกเขาอย่างไร จากนั้นให้อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:64 ด้วยกัน สิ่งใดพิเศษ—หรือศักดิ์สิทธิ์—ต่อพระบิดาบนสวรรค์? (ดูตัวอย่าง ข้อ 61 และ หน้ากิจกรรม ของสัปดาห์นี้) เราควรปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร—ด้วยคําพูดและการกระทําของเรา?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

การรักษาเอลซา จอห์นสัน

การรักษาไหล่ของเอลซา จอห์นสัน โดย แซม ลอว์เลอร์

หน้ากิจกรรมสําหรับเด็ก