หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
17–23 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 51–57: “ผู้พิทักษ์ที่ซื่อสัตย์, เที่ยงธรรม, และมีปัญญา”


“17–23 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 51–57: ‘ผู้พิทักษ์ที่ซื่อสัตย์, เที่ยงธรรม, และมีปัญญา’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“17–23 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 51–57” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์

เกษตรกรกับวัว

ไถครั้งแรก โดย เจมส์ เทย์เลอร์ ฮาร์วูด

17–23 พฤษภาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 51–57

“ผู้พิทักษ์ที่ซื่อสัตย์, เที่ยงธรรม, และมีปัญญา”

บางครั้งการดลใจเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องสอนจะมาเมื่อท่านสนทนาพระคัมภีร์กับสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจจะแบ่งปันถ้อยคำเหล่านี้จากเอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก “ข้าพเจ้าหวังให้เราทบทวนเป็นการส่วนตัวและเป็นครอบครัวถึงสิ่งที่อยู่ในความพิทักษ์ที่เรารับผิดชอบ” (“สิ่งที่อยู่ในความพิทักษ์—ภาระหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 114) จากนั้นท่านจะถามสมาชิกชั้นเรียนว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจาก ภาค 51–57 เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในความพิทักษ์ของพวกเขา

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 51:9, 15–20

พระเจ้าทรงต้องการให้เราเป็นผู้พิทักษ์ที่ซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม และมีปัญญา

  • ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนพิจารณาวิธีประยุกต์ใช้พระดำรัสของพระเจ้าใน ภาค 51 กับพวกเขาอย่างไร? ท่านจะเขียนบนกระดานว่า พระเจ้าทรงมอบความรับผิดชอบอะไรให้ฉัน? และให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนคำตอบออกมาเป็นข้อๆ (ดูแนวคิดจาก “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) จากนั้นพวกเขาจะค้นหาหลักธรรมใน ข้อ 9, 15–20 ที่สอนให้พวกเขารู้วิธีเป็นผู้พิทักษ์สิ่งที่เขียนไว้ได้ดีขึ้น หรือท่านจะเน้นคำว่า “ซื่อสัตย์” “เที่ยงธรรม” และ “มีปัญญา” ใน ข้อ 19 โดยสนทนาว่าแต่ละคำจะนำทางเราในการทำหน้าที่ผู้พิทักษ์ให้เกิดสัมฤทธิผลได้อย่างไร หากจำเป็น ให้ทบทวนนิยามของ “ผู้พิทักษ์, สิ่งที่อยู่ในความพิทักษ์” ด้วยกันในคู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

ทุ่งเขียวขจี

สมาชิกที่ดำเนินชีวิตตามกฎแห่งการอุทิศถวายบริจาคทั้งหมดที่พวกเขามีให้แก่ศาสนจักร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:10; 53:3; 55:1–3

เราได้รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยการวางมือ

  • หลายข้อในการเปิดเผยเหล่านี้กล่าวถึงการได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยการวางมือ ถ้าการสนทนาหัวข้อนี้จะมีคุณค่าต่อชั้นเรียน ท่านจะถามสมาชิกชั้นเรียนว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:10; 53:3; 55:1–3 เกี่ยวกับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ใน กิจการของอัครทูต 8:14–17; 19:1–6 สมาชิกชั้นเรียนอาจจะพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อได้รับอิทธิพลของพระองค์อย่างต่อเนื่องในชีวิตพวกเขา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:9–11, 22–27

เราสามารถแบ่งปันพระกิตติคุณไม่ว่าเราอยู่ที่ใด

  • เมื่อพระเจ้าทรงส่งผู้นำศาสนจักรหลายท่านไปมิสซูรี พระองค์รับสั่งให้พวกท่านใช้ประโยชน์จากเวลาเดินทางและ “สั่งสอนไประหว่างทาง” (ข้อ 25–27) การอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:9–11, 22–27 จะนำไปสู่การสนทนาว่าเราจะแบ่งปันพระกิตติคุณ “ไประหว่างทาง” หรือระหว่างดำเนินชีวิตตามปกติได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนจะพูดคุยกันว่าพวกเขาทำให้การแบ่งปันพระกิตติคุณเป็นธรรมชาติของชีวิตพวกเขาอย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:14–19

พระผู้เป็นเจ้าประทานแบบฉบับสำหรับหลีกเลี่ยงการหลอกลวง

  • เพื่อแนะนำแบบฉบับที่พระเจ้าทรงเปิดเผยไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:14–19 ท่านจะยกตัวอย่างแบบฉบับอื่นที่สมาชิกชั้นเรียนคุ้นเคย เช่น แบบก่อสร้างหรือแบบฉบับความประพฤติ สมาชิกชั้นเรียนอาจมีตัวอย่างของพวกเขาเอง เหตุใดแบบฉบับต่างๆ จึงมีค่า? เราจะประยุกต์ใช้แบบฉบับใน ข้อ 14–19 เพื่อหลีกเลี่ยงการหลอกลวงที่เราพบในโลกทุกวันนี้ได้อย่างไร?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 54

ฉันสามารถหันมาหาพระเจ้าเมื่อฉันถูกทำร้ายจากการเลือกของผู้อื่น

  • พวกเราหลายคนทนทุกข์กับความผิดหวังเมื่อคนที่เราไว้เนื้อเชื่อใจไม่รักษาคำมั่นสัญญา สิ่งนี้เกิดขึ้นกับวิสุทธิชนจากโคลสวิลล์ นิวยอร์กผู้คาดหวังจะตั้งรกรากบนที่ดินของลีมัน คอพลีย์ในโอไฮโอ เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์นี้ สมาชิกชั้นเรียนจะทบทวนหัวบทของ ภาค 54 (ดู Saints, 1:125–128; “A Bishop unto the Church,” Revelations in Context, 78–79 ด้วย) พวกเขาจะสมมติว่ามีเพื่อนคนหนึ่งในหมู่วิสุทธิชนโคลสวิลล์และจากนั้นให้หาคำแนะนำใน ภาค 54 ที่จะแบ่งปันกับเพื่อนคนนั้นได้ หรือพวกเขาจะค้นคว้าการเปิดเผยเพื่อหาสิ่งที่จะผู้กำลังทนทุกข์เพราะการเลือกของอีกคนหนึ่ง (ท่านอาจจะหยิบยกคำสัญญาใน ข้อ 6 กับคนที่รักษาพันธสัญญาของพวกเขา)

  • หลักคำสอนและพันธสัญญา 54:10 มีหลายวลีที่สมาชิกชั้นเรียนจะเห็นว่ามีความหมาย เช่น “อดทนต่อความยากลำบาก” “แสวงหาเราแต่แรก” และ “ความพักผ่อนแก่จิตวิญญาณพวกเขา” สมาชิกชั้นเรียนจะเลือกไตร่ตรองและศึกษาหนึ่งวลี โดยใช้เชิงอรรถหรือแหล่งข้อมูลอื่นสำรวจข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง แล้วแบ่งปันความคิดของพวกเขา

ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ความเป็นผู้พิทักษ์ของเรา

ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์อธิบายว่า “ในศาสนจักรความเป็นผู้พิทักษ์คือความไว้วางใจอันศักดิ์สิทธิ์ทางโลกหรือทางวิญญาณต่อสิ่งซึ่งพวกเขามีภาระรับผิดชอบ เพราะทุกสิ่งเป็นของพระเจ้า เราจึงเป็นผู้พิทักษ์ดูแลร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และทรัพย์สินของเรา (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 104:11–15) ผู้พิทักษ์ที่ซื่อสัตย์คือคนที่ใช้อำนาจปกครองอย่างชอบธรรม ดูแลตนเอง ดูแลคนยากจนและคนขัดสน” (“Welfare Services: The Gospel in Action,” Ensign, Nov. 1977, 78)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ช่วยให้ผู้เรียนสนับสนุนกัน สร้างสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่ผู้เรียนสนับสนุนและให้กำลังใจกัน เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันแนวคิดและวิธียกระดับการศึกษาเป็นส่วนตัวและกับครอบครัว (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 36)