หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
2–8 สิงหาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 85–87: “เจ้าจงยืนอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์”


“2–8 สิงหาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 85–87: ‘เจ้าจงยืนอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“2–8 สิงหาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 85–87” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2021

ครอบครัวเดินไปพระวิหาร

2–8 สิงหาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 85–87

“เจ้า​จงยืน​อยู่​ใน​สถาน​ที่​ศักดิ์สิทธิ์”

อย่ารู้สึกกดดันให้สอนพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาครบทุกข้อ—หรือครบทุกภาค—ในโรงเรียนวันอาทิตย์ ให้พระวิญญาณทรงนำทางท่านและสนองตอบสิ่งที่สมาชิกชั้นเรียนพบว่าเกี่ยวข้องกับชีวิตพวกเขา

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านเพื่อจับใจความใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 85–87 โดยหาคำหรือวลีที่ดูเหมือนสำคัญต่อพวกเขา (อาจจะเป็นคำหรือวลีที่พวกเขาทำเครื่องหมายไว้ในพระคัมภีร์แล้ว) ขอให้พวกเขาเขียนคำหรือวลีเหล่านั้นไว้บนกระดานและเลือกมาสนทนาสักสองสามคำ

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 85:6

พระวิญญาณตรัสด้วย “เสียงสงบแผ่วเบา”

  • ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 85:6 ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธใช้ภาษาเชิงพรรณนาเพื่อบอกว่าพระวิญญาณตรัสกับท่านอย่างไร เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์จากคำพรรณนาของโจเซฟ สมิธ? ท่านอาจจะขอให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงเวลาที่พระวิญญาณตรัสกับพวกเขา—พวกเขาจะพรรณนาประสบการณ์ของพวกเขาว่าอย่างไร? พวกเขาสามารถหาคำพรรณนาเพิ่มเติมในข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้: ลูกา 24:32; โมไซยาห์ 5:2; แอลมา 32:28; ฮีลามัน 5:30; หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:22–23; 11:12–13

  • ท่านคิดบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริงหรือการสาธิตที่จะอธิบายให้เข้าใจสุรเสียงกระซิบสงบแผ่วเบาของพระวิญญาณออกหรือไม่? ท่านอาจจะให้เปิดเพลงศักดิ์สิทธิ์บางเพลงเบาๆ ขณะสมาชิกชั้นเรียนเข้ามาในห้อง สมาชิกชั้นเรียนจะพูดคุยกันว่าเพลงทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไรและจะฟังเพลงนั้นยากขึ้นเพียงใดถ้ามีเสียงรบกวน สิ่งนี้จะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับสิ่งรบกวนในชีวิตเราที่กีดกั้นเราไม่ให้ได้ยินเสียงสงบแผ่วเบา สมาชิกชั้นเรียนจะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อเพิ่มความรู้สึกไวต่อพระวิญญาณ—คำแนะนำบางข้ออยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”

หลักคำสอนและพันธสัญญา 86:1–7

พระเจ้าจะทรงรวบรวมคนชอบธรรมในวันเวลาสุดท้าย

  • กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจสัญลักษณ์ในอุปมาเรื่องข้าวสาลีกับข้าวละมาน: ท่านจะเขียนวลีเชิงสัญลักษณ์จากอุปมา (เช่น “ผู้หว่านเมล็ดพันธุ์” “ข้าวละมานเบียดเบียนข้าวสาลี” “ต้นข้าวกำลังผลิใบ” และ “การเก็บข้าวสาลี” [ข้อ 2–4, 7]) และการแปลความที่เป็นไปได้ (เช่น “อัครสาวก” “การฟื้นฟู” และ “งานเผยแผ่ศาสนา”) ไว้บนแถบกระดาษและติดไว้บนกระดาน จากนั้นให้สมาชิกชั้นเรียนช่วยกันจับคู่สัญลักษณ์กับความหมาย โดยใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 86:1–7 (พวกเขาจะอ่าน มัทธิว 13:37–43 ด้วย) เหตุใดจึงสำคัญที่พระเจ้าตรัสการเปิดเผยนี้ “แก่เจ้าผู้รับใช้ทั้งหลายของเรา”? (ข้อ 1) เราพบข่าวสารอะไรบ้างเกี่ยวกับการรับใช้พระเจ้าของเรา? (ดู ข้อ 11 ด้วย)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 87:2, 6, 8

สันติสุขพบใน “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์”

สตรีอยู่นอกพระวิหาร

พระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เราสามารถรู้สึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้า

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความจำเป็นของการ “ยืนอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์” ท่านอาจจะเริ่มโดยเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนความท้าทายบางอย่างที่เราประสบในยุคสุดท้าย แล้วหาตัวอย่างบางเรื่องใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 87:2, 6 จากนั้นท่านจะสนทนาว่าพระดำรัสเชื้อเชิญของพระเจ้าใน ข้อ 8 จะช่วยเราเรื่องความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างไร คำถามทำนองนี้จะช่วยได้:

    อะไรสำคัญเกี่ยวกับคำว่า “ยืน” ในข้อนี้?

    อะไรทำให้สถานที่แห่งหนึ่งศักดิ์สิทธิ์?

    อะไรจะย้ายคนๆ หนึ่งออกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์?

    เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราไม่ถูกย้าย?

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจจะยินดียกตัวอย่าง “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” และสิ่งที่ทำให้สถานที่เหล่านั้นศักดิ์สิทธิ์ (ท่านอาจจะชี้ให้เห็นว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นมากกว่าที่ตั้งทางกายภาพ) วีดิทัศน์เรื่อง “Standing in Holy Places” (ChurchofJesusChrist.org) จะให้แนวคิดเพิ่มเติม ขณะพวกเขาแบ่งปัน จงกระตุ้นให้พวกเขาพูดคุยกันว่าเหตุใดสถานที่เหล่านั้นจึงศักดิ์สิทธิ์ต่อพวกเขา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ช่วยให้เราพบสันติสุขท่ามกลางภยันตรายยุคสุดท้ายอย่างไร?

ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

หา “เวลาสงบนิ่งทุกวัน”

ซิสเตอร์วิคกี้ เอฟ. มัตสุโมริ อดีตที่ปรึกษาในฝ่ายประธานปฐมวัยสามัญให้คำแนะนำนี้ “เพราะเรามักอธิบายว่าพระวิญญาณเป็นสุรเสียงสงบแผ่วเบา จึงสำคัญ … ที่เราจะมีเวลาเงียบๆ ในชีวิตเรา พระเจ้าทรงแนะนำเราว่า ‘จงนิ่งเสีย และรู้เถิดว่าเราคือพระเจ้า’ [สดุดี 46:10] ถ้าเรามีเวลาสงบนิ่งทุกวัน ไม่เปิดโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตลอดเวลา เท่ากับเราเปิดโอกาสให้สุรเสียงสงบแผ่วเบาประทานการเปิดเผยส่วนตัว กระซิบคำแนะนำที่ดี สร้างความมั่นใจ และปลอบโยนเรา” (“ช่วยผู้อื่นให้ตระหนักในสุรเสียงกระซิบของพระวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 12)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เตรียมโดยนึกถึงผู้คน “จงให้ความเข้าใจผู้คนที่ท่านสอนเป็นแนวทาง [การเตรียม] ของท่าน … ครูที่เหมือนพระคริสต์ไม่ยึดติดกับรูปแบบหรือวิธีการสอนเฉพาะทางอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พวกเขาช่วยผู้คนให้เสริมสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์และเป็นเหมือนพระองค์ยิ่งขึ้น” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)