พันธสัญญาใหม่ 2023
26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21: “พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว”


“26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21: ‘พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

พระเยซูตรัสกับเปโตรที่ชายฝั่งทะเล

จงดูแลแกะของเราเถิด โดย คามิลลา คอร์รีย์

26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม

มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21

“พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว”

ก่อนสำรวจแนวคิดการสอนในโครงร่างนี้ ให้อ่าน มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; และ ยอห์น 20–21 ไตร่ตรองว่าจะใช้บทเหล่านี้เสริมสร้างศรัทธาของคนที่ท่านสอนได้อย่างไร

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในการศึกษาส่วนตัวและกับครอบครัว ขอให้พวกเขาจดความจริงประการหนึ่งจากงานมอบหมายให้อ่านของสัปดาห์นี้ที่พวกเขารู้สึกว่าควรแบ่งปัน “ไปทั่วโลก” (ดู มาระโก 16:15) เมื่อจบชั้นเรียนให้ถามพวกเขาว่าพวกเขาพบความจริงเพิ่มเติมที่อยากแบ่งปันหรือไม่

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20

เพราะพระเยซูคริสต์ฟื้นคืนพระชนม์ เราจะฟื้นคืนชีวิตด้วย

  • ท่านอาจให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีทบทวนงานมอบหมายการอ่านของสัปดาห์นี้และ “ฟื้นคืนชีวิต (การ), ฟื้นคืนพระชนม์ (การ)” ในคู่มือพระคัมภีร์ และเขียนความจริงที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นคืนพระชนม์ ให้นักเรียนสองสามคนออกมาแบ่งปันสิ่งที่เขียน กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนยกมือเมื่อพวกเขาได้ยินบางคนแบ่งปันความจริงคล้ายกับที่พวกเขาจดไว้ เหตุใดความจริงเหล่านี้จึงสำคัญต่อเรา? ความจริงเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ของเราอย่างไร? ความจริงเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเลือกของเราอย่างไร?

ลูกา 24:13–35

เราสามารถอัญเชิญพระวิญญาณให้ทรง “พักด้วยกัน”

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นความเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ของพวกเขากับประสบการณ์ของเหล่าสาวกบนถนนไปเอมมาอูส ให้วาดภาพถนนสายหนึ่งบนกระดาน และเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนรายละเอียดจากเรื่องราวใน ลูกา 24:13–35 บนถนนฟากหนึ่ง จากนั้นพวกเขาจะเขียนความคล้ายคลึงกับประสบการณ์ของพวกเขาเองในฐานะผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ไว้บนถนนอีกฟากหนึ่ง ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะเขียน “ตาของเขาทั้งสองถูกปิดกั้น” (ลูกา 24:16) บนถนนฟากหนึ่งและ บางครั้งเราไม่รับรู้อิทธิพลของพระเจ้าในชีวิตเรา บนถนนอีกฟากหนึ่ง เราจะทูลเชิญพระผู้ช่วยให้รอดให้ทรงพักอยู่กับเราได้อย่างไร?

พระคริสต์ผู้ฟื้นคืนพระชนม์ทรงปรากฏต่ออัครสาวก

พระเยซูทรงสอนโธมัสว่า “อย่าสงสัยเลย แต่จงเชื่อ” (ยอห์น 20:27)

ยอห์น 20:19–29

“คนที่ไม่เห็นเราแต่เชื่อก็เป็นสุข”

  • ชั้นเรียนโรงเรียนวันอาทิตย์ของท่านสามารถเป็นที่ให้สมาชิกชั้นเรียนได้เสริมสร้างศรัทธาของกันและกันในสิ่งที่พวกเขามองไม่เห็น บางทีท่านอาจจะเริ่มโดยขอให้บางคนสรุปประสบการณ์ของโธมัสใน ยอห์น 20:19–29 สมาชิกชั้นเรียนอาจจะเขียนบางสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงขอให้เราเชื่อทั้งที่มองไม่เห็นไว้บนกระดาน จากนั้นท่านอาจขอให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ที่เสริมสร้างประจักษ์พยานของพวกเขาในสิ่งเหล่านี้และพรที่พวกเขาได้รับเมื่อใช้ศรัทธา

ยอห์น 21:1–17

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื้อเชิญให้เราเลี้ยงดูแกะของพระองค์

  • อะไรอาจจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านยอมรับพระดำรัสเชื้อเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “เลี้ยงดูแกะ [ของพระองค์]”? ท่านอาจจะเริ่มโดยเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน ยอห์น 21:15–17 ในใจ โดยใส่ชื่อของพวกเขาแทนชื่อซีโมนและใส่ชื่อคนที่พวกเขารู้สึกว่าพระเจ้าทรงต้องการให้พวกเขารับใช้แทนคำว่า “ลูกแกะของเรา” และ “แกะของเรา”—ตัวอย่างเช่น คนที่พวกเขาปฏิบัติศาสนกิจด้วย เพื่อนบ้าน หรือคนที่พวกเขารู้จักที่ทำงานหรือที่โรงเรียน หลังจากนั้นสองสามนาที สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันความประทับใจที่มี เราเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากการกระทำของพระองค์ใน ยอห์น 21:4–13? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเลี้ยงลูกแกะและแกะของพระผู้ช่วยให้รอด? คำกล่าวของเอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจช่วยตอบคำถามนี้ได้

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

เราจะ “เลี้ยงดูแกะ [ของพระองค์]” ได้อย่างไร

เอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันอธิบายว่าเราจะทำตามพระบัญชาของพระเจ้าให้เลี้ยงดูแกะของพระองค์ได้อย่างไร

“ใครคือคนเลี้ยงแกะ ชายหญิงและเด็กทุกคนในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าคือคนเลี้ยงแกะ ไม่จำเป็นต้องมีการเรียก ทันทีที่เราขึ้นมาจากน้ำบัพติศมา เราได้รับมอบหมายให้ทำงานนี้ เราแสดงความรักต่อผู้อื่นเพราะนั่นคือสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชาให้เราทำ … เมื่อเพื่อนบ้านของเรามีความทุกข์ทางโลกหรือทางวิญญาณ เราวิ่งไปช่วย เราแบกภาระของกันและกัน เพื่อมันจะได้เบา เราโศกเศร้ากับคนที่โศกเศร้า เราปลอบโยนคนที่ต้องการการปลอบโยน [ดู โมไซยาห์ 18:8–9] พระเจ้าทรงคาดหวังสิ่งนี้จากเรา วันนั้นจะมาถึงเมื่อเราจะรายงานการดูแลฝูงแกะของพระองค์ [ดู มัทธิว 25:31–46]” (“การดูแลจิตวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 111)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เผื่อเวลาให้ผู้เรียนได้แบ่งปัน “เมื่อผู้เรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ ไม่เพียงแต่พวกเขาจะสัมผัสถึงพระวิญญาณและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประจักษ์พยานของตนเองเท่านั้น แต่พวกเขากระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ ให้ค้นพบความจริงด้วยตนเองเช่นกัน … เผื่อเวลาไว้ให้นักเรียนแบ่งปันในทุกบทเรียน—ในบางกรณี ท่านอาจพบว่าการสนทนาเหล่านี้ คือ บทเรียน” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 30)