พันธสัญญาใหม่ 2023
21–27 สิงหาคม 1 โครินธ์ 1–7: “ให้​เป็น‍น้ำ‍หนึ่ง‍ใจ‍เดียว‍กัน​”


“21–27 สิงหาคม 1 โครินธ์ 1–7: ‘ให้​เป็น‍น้ำ‍หนึ่ง‍ใจ‍เดียว‍กัน,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“21–27 สิงหาคม 1 โครินธ์ 1–7,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

เมืองโครินธ์โบราณ

เมืองโครินธ์ กรีซตอนใต้ ลานประชาคมและศูนย์ราชการ ภาพวาดโดย บาลาจ บาโลกห์ Balogh/www.ArchaeologyIllustrated.com

21–27 สิงหาคม

1 โครินธ์ 1–7

“ให้​เป็น‍น้ำ‍หนึ่ง‍ใจ‍เดียว‍กัน​”

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่าคนส่วนใหญ่ “มา [โบสถ์] เพื่อแสวงหาประสบการณ์ทางวิญญาณ” (“ครูที่มาจากพระเจ้า,” เลียโฮนา, ก.ค. 1998, 29) เมื่อท่านอ่าน 1 โครินธ์ 1–7 ให้พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ทางวิญญาณในชั้นเรียนของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนสิ่งที่พวกเขาทำตามสิ่งที่เรียนรู้จากพระคัมภีร์ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 โครินธ์ 1:10–17; 3

สมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์มุมานะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

  • การสนทนาสองสามบทแรกของ 1 โครินธ์ อาจเป็นโอกาสที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นท่ามกลางสมาชิกวอร์ด ท่านอาจเริ่มโดยขอให้สมาชิกชั้นเรียนพูดเกี่ยวกับสมาคม กลุ่ม ทีม หรือองค์กรอื่นๆ ที่พวกเขาเป็นสมาชิกซึ่งมีความสามัคคีกันอย่างมาก เหตุใดกลุ่มนี้จึงรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันมาก? จากนั้นท่านอาจสำรวจคำสอนบางข้อของเปาโลเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกันใน 1 โครินธ์ 1:10–13; 3:1–11 ข้อเหล่านี้และประสบการณ์ของเราสอนอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่ช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันและสิ่งที่อาจทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกัน? เราต้องเสียสละอะไรบ้างเพื่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน? พรใดมาสู่ผู้คนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน? ดูการเปรียบเทียบของซิสเตอร์แชรอน ยูแบงค์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  • เปาโลใช้ภาพของตึกเพื่อกระตุ้นความเป็นหนึ่งเดียวกันใน 1 โครินธ์ 3:9–17 การเปรียบเทียบนี้จะช่วยให้ชั้นเรียนของท่านเข้าใจความเป็นหนึ่งเดียวกันได้ดีขึ้นอย่างไร? ตัวอย่างเช่น หลังจากอ่านข้อเหล่านี้ด้วยกัน ท่านอาจให้แท่งไม้หนึ่งแท่งกับสมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนและให้ช่วยกันสร้างบางสิ่ง เราเป็น “ตึก​ของ​พระ‍องค์” ในแง่ใด? (1 โครินธ์ 3:9) พระผู้เป็นเจ้ากำลังทรงสร้างเราแต่ละคนอย่างไร? เรากำลังสร้างอะไรด้วยกันในฐานะเพื่อนวิสุทธิชน? เราจะทำอะไรได้บ้างในฐานะวอร์ดที่เป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งลำพังเราคนเดียวไม่สามารถทำได้?

1 โครินธ์ 1:17–31; 2; 3:18–20

เพื่อทำให้งานของพระผู้เป็นเจ้าประสบผลสำเร็จ เราต้องการพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้า

  • ต่อไปนี้คือแนวคิดเพื่อช่วยให้ชั้นเรียนพึ่งพาพระผู้เป็นเจ้า: แบ่งสมาชิกชั้นเรียนเป็นกลุ่ม และขอให้พวกเขาอ่าน 1 โครินธ์ 1:17–31; 2; หรือ 3:18–20 โดยมองหาคำเช่น มีปัญญา และ โง่ จากนั้นพวกเขาอาจแบ่งปันในกลุ่มของพวกเขาว่าข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับการมีปัญญาในงานของพระเจ้า มีสิ่งใดบ้างเกี่ยวกับพระกิตติคุณที่อาจดูโง่สำหรับบางคน? สิ่งเหล่านี้แสดงถึงปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร? บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งพวกเขาวางใจในปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าแทนที่จะวางใจปัญญาของตนเองเพื่อทำงานของพระองค์ให้สำเร็จ

1 โครินธ์ 6:9–20

ร่างกายของเราศักดิ์สิทธิ์

  • เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับข้อเหล่านี้ ท่านอาจเขียนคำถามทำนองนี้บนกระดาน: พระเจ้าทรงประสงค์ให้เรามองร่างกายเราอย่างไร? ต่างจากวิธีที่ซาตานต้องการให้เรานึกถึงร่างกายเราอย่างไร? ร่างกายของเราเป็นวิหาร​ของ​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์​หมายความว่าอย่างไร? เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ใน 1 โครินธ์ 6:9–20 (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:15; โมเสส 6:8–9 ด้วย)

  • การสนทนาของท่านเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของร่างกายเราอาจรวมถึงการสนทนาเกี่ยวกับกฎความบริสุทธิ์ทางเพศ บางทีท่านอาจถามสมาชิกชั้นเรียนของท่านว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเปาโล—เช่นเดียวกับจากแหล่งช่วยอื่นๆ ของศาสนจักร—ที่จะช่วยพวกเขาอธิบายกับผู้อื่นได้ว่าเหตุใดความบริสุทธิ์ทางเพศจึงสำคัญ แหล่งช่วยเหล่านี้อาจรวมถึงรายการที่ระบุไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

“ความแตกต่างสามารถเปลี่ยนเป็นการได้เปรียบ”

ซิสเตอร์แชรอน ยูแบงค์อธิบายว่าทีมพายเรือที่แข่งขันกันเกิดความสามัคคีได้อย่างไร

“ฝีพายต้องควบคุมความมุทะลุของตนเองและในขณะเดียวกันต้องแน่วแน่ต่อสมรรถภาพส่วนตัวของแต่ละคน การแข่งขันไม่อาจเอาชนะได้ด้วยคนพิมพ์เดียวกัน ฝีพายที่ดีมีส่วนผสมเข้ากันได้ดี—บางคนนำปฏิบัติการ บางคนถนอมพลังไว้เมื่อถึงเวลา บางคนพายกระหน่ำ บางคนสร้างสันติ ไม่มีฝีพายคนใดมีค่ามากกว่ากัน ทุกคนล้วนมีคุณค่าต่อเรือ แต่หากจะให้พายด้วยกันได้ดี แต่ละคนต้องปรับให้เข้ากับความจำเป็นและความสามารถของผู้อื่น—คนที่แขนสั้นต้องเอื้อมไกลออกไปอีกนิด คนที่แขนยาวต้องงอแขนเข้ามาอีกหน่อย

“ความแตกต่างสามารถเปลี่ยนเป็นการได้เปรียบแทนที่จะเสียเปรียบ” (“โดยเอกภาพของความรู้สึกเราจะมีพลังร่วมกันกับพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 56; ดู Daniel James Brown, The Boys in the Boat: Nine Americans and Their Epic Quest for Gold at the 1936 Berlin Olympics [2013], 161, 179)

พรของความบริสุทธิ์ทางเพศ

เดวิด เอ. เบดนาร์, “เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 42

2:3

Chastity: What Are the Limits?

วัยรุ่นวิสุทธิชนยุคสุดท้ายได้รับคำแนะนำให้รักษาความบริสุทธิ์ทางเพศ แต่อะไรคือขีดจำกัดจริงๆ โดยใช้คำสอนของศาสดาพยากรณ์สมัยใหม่ การนำเสนอนี้แสดงให้เราเห็นถึงวิธีที่เราจะพบความสุขและสันติสุขได้ผ่านการรักษาความบริสุทธิ์ทางเพศ

4:19

I Choose to be Pure

เยาวชนหกคนต่างศาสนาพูดอย่างจริงใจถึงเหตุผลที่พวกเขาเลือกจะรักษาความบริสุทธิ์ทางเพศ

ปรับปรุงการสอนของเรา

แสดงประจักษ์พยานถึงพระเยซูคริสต์ เปาโล “มาเพื่อประ‌กาศ​ความ​ล้ำ‍ลึก​ของ​พระ‍เจ้า … ไม่‍ได้มาด้วยถ้อย‍คำหวาน‍หูหรือด้วยความฉลาดปราด‍เปรื่อง” (1 โครินธ์ 2:1) ประจักษ์พยานอันเรียบง่ายของท่านเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดสามารถมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้ง