พันธสัญญาใหม่ 2023
23–29 ตุลาคม 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน: “​จง​เป็น​แบบ‍อย่าง​แก่​บรร‌ดา​ผู้​เชื่อ”


“23–29 ตุลาคม 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน: “​จง​เป็น​แบบ‍อย่าง​แก่​บรร‌ดา​ผู้​เชื่อ,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2021)

“23–29 ตุลาคม 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

สตรีสามคนเดินอยู่นอกพระวิหาร

23–29 ตุลาคม

1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน

“จงเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ”

อ่าน 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; และ ฟีเลโมน โดยนึกถึงสมาชิกชั้นเรียนของท่าน ความคิดและความประทับใจที่มาสู่ท่านจะช่วยให้ท่านนำสมาชิกชั้นเรียนไปสู่ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญและนำพระวิญญาณมาสู่ชั้นเรียนของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

อาจเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกชั้นเรียนในการฟังแต่ละฝ่ายพูดถึงความสำเร็จและความท้าทายในการศึกษาพระคัมภีร์ ทั้งเป็นส่วนตัวและกับครอบครัว ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนโดยเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้พูดถึงสิ่งที่กำลังดำเนินไปด้วยดีในการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส

การเข้าใจหลักคำสอนที่แท้จริงจะช่วยเราหลีกเลี่ยงการถูกหลอก

  • สมาชิกในชั้นเรียนของท่านอยู่ในช่วงเวลาที่ยากต่อการตัดสินว่าอะไรจริงอะไรเท็จ ทิโมธีและทิตัสก็อยู่ในช่วงเวลาเช่นนั้นด้วย ฉะนั้น คำแนะนำของเปาโลที่มีต่อพวกเขาจึงอาจมีประโยชน์ในทุกวันนี้ ต่อไปนี้เป็นข้อความบางส่วนที่มีคำแนะนำของเปาโล: 1 ทิโมธี 1:1–7; 4:1–2, 6; 6:3–5, 20–21; 2 ทิโมธี 3:13–17; 4:2–4; ทิตัส 1:7–9; 2:1, 7–8 ท่านอาจมอบหมายให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนอ่านหนึ่งข้อจากข้อต่อไปนี้และแบ่งปันสิ่งที่เขาเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของหลักคำสอนที่แท้จริง (ดู แอลมา 31:5 ด้วย) หลักคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยเราหลีกเลี่ยงการหลอกลวงได้อย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งอำนาจของหลักคำสอนที่แท้จริงเป็นพรแก่พวกเขา

ผู้สอนศาสนาสองท่านกำลังพูดคุยกับชายคนหนึ่ง

“อย่า​ให้​ใคร​หมิ่น‍ประ‌มาท​ความ​อ่อน‍วัย​ของ​ท่าน แต่จงเป็นแบบอย่างแก่คนที่เชื่อทั้งปวง” (1 ทิโมธี 4:12)

1 ทิโมธี 4:10–16

“จงเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ”

  • เป็นไปได้ที่สมาชิกชั้นเรียนของท่านจะไม่ตระหนักในพลังของการเป็นแบบอย่างที่ดีที่พวกเขากำลังเป็น ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาพูดถึงคนรู้จักรวมถึงเพื่อนสมาชิกชั้นเรียนว่าคนเหล่านั้นเป็นแบบอย่างของสานุศิษย์ของพระคริสต์อย่างไร หากท่านเขียนคำใน ข้อ 12 ที่อธิบายว่าเราควรเป็นแบบอย่างอย่างไร—วาจา การประพฤติ (ซึ่งอาจหมายถึงความประพฤติหรือพฤติกรรม) ความรัก (วิญญาณ) ความเชื่อ และ ความบริสุทธิ์ อาจช่วยในการสนทนาได้เช่นกัน สมาชิกชั้นเรียนอาจสนทนาว่าเราจะเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อในแต่ละด้านเหล่านี้ได้อย่างไร

2 ทิโมธี 1

“พระเจ้าไม่ได้ประทานใจที่ขลาดกลัวแก่เรา แต่ประทานใจที่ประกอบด้วยฤทธานุภาพ ความรัก และการบังคับตนเองแก่เรา”

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว แนะนำให้มองหาคำแนะนำใน 2 ทิโมธี ที่เปาโลให้ไว้เพื่อสนับสนุนทิโมธีในการปฏิบัติศาสนกิจของเขา ขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อคิดที่พวกเขาพบ หรือท่านอาจให้เวลาพวกเขาสองสามนาทีในชั้นเรียนเพื่อค้นหาและแบ่งปันคำแนะนำของเปาโล (บทที่ 1 มีตัวอย่างที่ดี) พวกเขาอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับเมื่อพระผู้เป็นเจ้าช่วยพวกเขาเอาชนะความกลัวและประทาน “ใจที่ประกอบด้วย … ฤทธานุภาพ ความรัก และการบังคับตนเอง” (2 ทิโมธี 1:7)

2 ทิโมธี 3

การศึกษาพระคัมภีร์จะช่วยเราเอาชนะภยันตรายของยุคสุดท้าย

  • หลังจากเตือนทิโมธีเกี่ยวกับ “เวลาที่น่ากลัว” ที่จะมาถึง เปาโลเป็นพยานถึงพลังอำนาจและความสำคัญของพระคัมภีร์ (ดู 2 ทิโมธี 3:1, 14–17) เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่พระคัมภีร์สามารถทำให้เราเข้มแข็งในยามยากลำบาก ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวนคำบรรยายของเปาโลเกี่ยวกับภยันตรายนยุคสุดท้ายใน 2 ทิโมธี 3:1–7 จากนั้นพวกเขาสามารถค้นหาและแบ่งปันพระคัมภีร์ที่ช่วยพวกเขาปกป้องตนเองจากภยันตรายเช่นนี้ (บางตัวอย่างมีอยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) การศึกษาพระคัมภีร์คุ้มครองเราจากปัญหาในโลกปัจจุบันอย่างไร?

  • การศึกษาคำแนะนำของเปาโลเกี่ยวกับพลังอำนาจของพระคัมภีร์จะเป็นโอกาสสำหรับสมาชิกชั้นเรียนที่จะให้กำลังใจกันเมื่อพวกเขาพยายามศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน 2 ทิโมธี 3:14–17 เพื่อระบุพรและความคุ้มครองที่มาจากการศึกษาพระคัมภีร์ จากนั้นพวกเขาจะแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขาได้รับพรเหล่านี้เนื่องจากการศึกษาพระคัมภีร์ของตน ท่านอาจให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองสักครู่ถึงสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อมีประสบการณ์ที่มีความหมายมากขึ้นกับพระคัมภีร์ ทั้งโดยส่วนตัวและเป็นครอบครัว

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ความจริงในพระคัมภีร์ที่คุ้มครองเราจากภยันตรายของยุคสุดท้าย (ดู 2 ทิโมธี 3:2)

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ความจริงที่คุ้มครองเรา

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

เห็นแก่ตัว

ความจริงที่คุ้มครองเรา

ยอห์น 15:12–13

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

รักเงินทอง

ความจริงที่คุ้มครองเรา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:123

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

โอ้อวด

ความจริงที่คุ้มครองเรา

โมไซยาห์ 2:24–25

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

หยิ่งยโส

ความจริงที่คุ้มครองเรา

แอลมา 5:27–28

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ชอบ​ดู‍หมิ่น

ความจริงที่คุ้มครองเรา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:64

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ไม่เชื่อฟังพ่อแม่

ความจริงที่คุ้มครองเรา

เอเฟซัส 6:1–3

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

อกตัญญู

ความจริงที่คุ้มครองเรา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 78:19

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ชั่วร้าย

ความจริงที่คุ้มครองเรา

เฉลยธรรมบัญญัติ 7:6

ปรับปรุงการสอนของเรา

การเติบโตทางวิญญาณเกิดขึ้นที่บ้าน ท่านอยู่กับสมาชิกชั้นเรียนของท่านเป็นเวลาสั้นๆ สองครั้งต่อเดือน หลายคนกำลังมีประสบการณ์ทางวิญญาณที่มีความหมายนอกชั้นเรียน และประสบการณ์เหล่านี้สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิกคนอื่นๆ ในชั้นเรียนได้ ถามคำถามที่กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ขณะศึกษาพระกิตติคุณที่บ้าน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 18)