พันธสัญญาเดิม 2022
7–13 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 12–17; อับราฮัม 1–2: “เป็นผู้ดำเนินชีวิตในความชอบธรรมอย่างซื่อสัตย์ยิ่งขึ้น”


“7–13 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 12–17; อับราฮัม 1–2: ‘เป็นผู้ดำเนินชีวิตในความชอบธรรมอย่างซื่อสัตย์ยิ่งขึ้น’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“7–13 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 12–17; อับราฮัม 1–2” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
อับราฮัมกับซาราห์

ภาพประกอบของอับราฮัมกับซาราห์ โดย ดิลลีน มาร์ช

7–13 กุมภาพันธ์

ปฐมกาล 12–17; อับราฮัม 1–2

“เป็นผู้ดำเนินชีวิตในความชอบธรรมอย่างซื่อสัตย์ยิ่งขึ้น”

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสอนอะไรท่านในสัปดาห์นี้ขณะที่ท่านศึกษา ปฐมกาล 12–17 และ อับราฮัม 1–2? ให้แน่ใจว่าจะเปิดโอกาสให้สมาชิกชั้นเรียนได้แบ่งปันสิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสอนพวกเขา

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ในการเปิดโอกาสให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก ปฐมกาล 12–17 และ อับราฮัม 1–2 พวกเขาแต่ละคนอาจเลือกบุคคลที่กล่าวถึงในบทเหล่านี้และเติมประโยคต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: “อับราฮัมสอนฉัน ” หรือ “ซาราห์สอนฉัน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

ปฐมกาล 15:1–6; 17:15–22; อับราฮัม 1:1–19

พระผู้เป็นเจ้าจะทรงอวยพรเราสำหรับศรัทธาและความปรารถนาอันชอบธรรมของเรา

  • ประสบการณ์ของอับราฮัมและซาราห์ที่บันทึกใน ปฐมกาล 15; 17; อับราฮัม 1 อาจช่วยสมาชิกชั้นเรียนให้รักษาศรัทธาที่ว่าความปรารถนาอันชอบธรรมของพวกเขาจะสัมฤทธิผลในเวลาของพระเจ้า ท่านจะเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมนี้อย่างไร? แนวคิดหนึ่งคือเชื้อเชิญชั้นเรียนให้ค้นคว้า ปฐมกาล 15:1–6 และ อับราฮัม 1:1–19 และบรรยายความปรารถนากับสภาวการณ์ที่ยากลำบากของอับราฮัม อับราฮัมกับซาราห์แสดงศรัทธาของพวกเขาในช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างไร? (ดู ฮีบรู 11:8–13) ความปรารถนาอันชอบธรรมของพวกเขามีสัมฤทธิผลในท้ายที่สุดอย่างไร? (ดู ปฐมกาล 17:15–22; 21:1–3; หลักคำสอนและพันธสัญญา 132:29; อับราฮัม 1:31) เราจะแสดงศรัทธาเมื่อความปรารถนาอันชอบธรรมของเรายังไม่มีสัมฤทธิผลอย่างที่เราต้องการให้เป็นได้อย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสนับสนุนพวกเขาในสถานการณ์เช่นนั้นอย่างไร

  • สมาชิกบางคนในชั้นเรียนของท่านอาจได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยจากครอบครัวขณะที่พวกเขาพยายามดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ—และพวกเขายังอาจเผชิญกับการต่อต้านอีกด้วย เราสามารถเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของอับราฮัมใน อับราฮัม 1:1–19 ที่สามารถช่วยเหลือผู้ที่พยายามดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมในสถานการณ์เช่นนั้น?

  • ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 14:36–40 (ในคู่มือพระคัมภีร์) และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับศรัทธาและความปรารถนาของอับราฮัม พวกเขายังอาจแบ่งปันว่าพวกเขาได้รับพรอย่างไรเมื่อพวกเขาใช้ศรัทธาเพื่อจ่ายส่วนสิบ

อับราฮัม 2:6–11

พันธสัญญาแห่งอับราฮัมเป็นพรแก่เราทุกคน

  • ในการช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าพันธสัญญาแห่งอับราฮัมคืออะไร ท่านอาจแบ่งปันข้อความของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” (ดู Gospel Topics, “Abrahamic Covenant,” topics.ChurchofJesusChrist.org ด้วย) สมาชิกชั้นเรียนอาจเคยได้เรียนรู้เกี่ยวกับพันธสัญญาแห่งอับราฮัมจาก อับราฮัม 2:6–11 ดังที่แนะนำใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ หรือชั้นเรียนอาจจะศึกษาข้อเหล่านี้ด้วยกัน สัญญาและความรับผิดชอบอะไรที่เราได้รับผ่านพันธสัญญาแห่งอับราฮัม? วีดิทัศน์เรื่อง “พยานพิเศษ—ประธานเนลสัน” อาจช่วยตอบคำถามข้อนี้ (ChurchofJesusChrist.org/media-library/video/2011-04-18-special-witness-president-nelson) เราต้องทำอะไรจึงจะได้รับพรของพันธสัญญานี้? เราในฐานะพงศ์พันธุ์ของอับราฮัมจะเป็นพรแก่ “ทุกครอบครัวของแผ่นดินโลก” ได้อย่างไร? (อับราฮัม 2:11)

ปฐมกาล 14:18–19; งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 14:25–40

“เมลคีเซเดคเป็นบุรุษแห่งศรัทธา”

  • เนื่องจากการฟื้นฟูพระกิตติคุณ สมาชิกของศาสนจักรส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค แต่บางคนยังไม่รู้เกี่ยวกับบุรุษที่ชื่อเมลคีเซเดค ในการช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเขามากขึ้น ท่านอาจเชื้อเชิญให้จินตนาการว่าพวกเขาถูกขอให้แนะนำเขากับบางคนที่ไม่รู้จักเขาและเขียนบนกระดานถึงสิ่งที่พวกเขาจะพูด พวกเขาอาจอ้างอิงจากสิ่งที่พวกเขาอ่านใน งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 14:26–27, 33–38 (ในคู่มือพระคัมภีร์); แอลมา 13:13–19; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 107:1–4 เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคจากข้อเหล่านี้?

    ภาพ
    เมลคีเซเดคให้พรอับราม

    เมลคีเซเดคให้พรอับราม โดย วอลเตอร์ เรน

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

พรแห่งพันธสัญญาแห่งอับราฮัม

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า

“พันธสัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำกับอับราฮัมและทรงยืนยันอีกครั้งกับอิสอัคและยาโคบมีความสำคัญเป็นพิเศษ … พระเจ้าจึงเสด็จมาปรากฏในยุคสุดท้ายนี้เพื่อต่อพันธสัญญาแห่งอับราฮัม … ด้วยการต่อสัญญาครั้งนี้ เราจึงได้รับฐานะปุโรหิตศักดิ์สิทธิ์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจเช่นเดียวกับผู้คนในสมัยโบราณ เรามีสิทธิ์ที่จะได้รับความสมบูรณ์แห่งพระกิตติคุณ ได้รับพรของฐานะปุโรหิต และคู่ควรแก่พรยิ่งใหญ่ที่สุดของพระผู้เป็นเจ้า—นั่นคือชีวิตนิรันดร์” (“พันธสัญญา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 111–112)

“พรสูงสุดของพันธสัญญาแห่งอับราอัมคือพรที่มอบให้ในพระวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ พรดังกล่าวทำให้เราออกมาในการฟื้นคืนชีวิตแรกได้รับบัลลังก์ อาณาจักร พลังอำนาจ เขตปกครอง และการครอบครองไปสู่ ‘ความสูงส่งและรัศมีภาพในสิ่งทั้งปวง’ ของเรา [หลักคำสอนและพันธสัญญา 132:19]” (“พยานพิเศษของพระคริสต์,” เลียโฮนา, เม.ย. 2001, 7)

ปรับปรุงการสอนของเรา

แสดงประจักษ์พยานบ่อยๆ พยานแห่งความจริงทางวิญญาณอันเรียบง่ายและจริงใจของท่านสามารถเป็นอิทธิพลที่ทรงพลังแก่คนที่ท่านสอนได้ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจแบ่งปันประจักษ์พยานอันเรียบง่ายว่าพันธสัญญาเป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร

พิมพ์