พันธสัญญาเดิม 2022
11–17 เมษายน อีสเตอร์: “พระองค์จะทรงกลืนความตายเสียเป็นนิตย์”


“11–17 เมษายน อีสเตอร์: ‘พระองค์จะทรงกลืนความตายเสียเป็นนิตย์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“11–17 เมษายน อีสเตอร์” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
หลุมฝังศพที่มีก้อนหินกลิ้งออกจากประตู

ภาพประกอบของอุโมงค์ว่างเปล่า โดย มารีนา ครีอูเชนโก

11–17 เมษายน

อีสเตอร์

“พระองค์จะทรงกลืนความตายเสียเป็นนิตย์”

ขณะที่ท่านเตรียมสอนในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ให้พิจารณาว่าท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นคุณค่าอย่างลึกซึ้งและแสดงประจักษ์พยานต่อการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาหรือครอบครัวทำเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ในช่วงเทศกาลอีสเตอร์นี้

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เนื่องจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงชนะความตาย เราจะมีชีวิตอีกครั้งเช่นเดียวกัน

  • เนื่องจากวันนี้คือวันอาทิตย์อีสเตอร์ ท่านอาจทบทวนเรื่องราวของอีสเตอร์แรกในพระคัมภีร์—การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ (ดู ยอห์น 20:1–17) ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งให้เล่าเรื่องด้วยคำพูดของเขาเอง ท่านอาจจะฉายวีดิทัศน์เรื่อง “He Is Risen” (ChurchofJesusChrist.org) ด้วยก็ได้ สมาชิกชั้นเรียนอาจเพลิดเพลินกับการร้องเพลงสวดเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและอ่านพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง (การอ้างอิงระบุไว้ที่ด้านล่างของแต่ละเพลงใน เพลงสวด) จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันวลีที่โปรดปรานจากเพลงสวดและความรู้สึกของพวกเขาต่อพระผู้ช่วยให้รอด

  • ในการช่วยให้สมาชิกของท่านเห็นคุณค่าว่าพันธสัญญาเดิมเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์อย่างไร ท่านอาจเชื้อเชิญพวกเขาให้ทบทวนพระคัมภีร์ในตารางใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว รวมถึงข้อความในพระคัมภีร์มอรมอนที่มากับตาราง เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและพระพันธกิจของพระองค์จากข้อความเหล่านี้? เหตุใดการรู้เกี่ยวกับคำพยากรณ์เหล่านี้จึงมีค่า?

เราสามารถพบสันติสุขและปีติผ่านการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว มีรายการพระคัมภีร์ที่บรรยายถึงสันติสุขและปีติที่มาโดยผ่านพระเยซูคริสต์ หากสมาชิกชั้นเรียนอ่านพระคัมภีร์เหล่านี้ที่บ้าน กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ หรือท่านอาจจะอ่านพระคัมภีร์สองสามข้อกันทั้งชั้นเรียนและพูดคุยเกี่ยวกับสันติสุขและปีติที่เรารู้สึกเนื่องจากพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ เราจะแบ่งปันพรเหล่านี้กับผู้คนที่อาจกำลังพยายามค้นพบสันติสุขและปีติในชีวิตพวกเขาอย่างไร? ท่านอาจเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้อ่านข่าวสารของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเรื่อง “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ” ด้วย (เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 81–84) ระหว่างสัปดาห์ก่อนเริ่มชั้นเรียนและเตรียมตัวมาแบ่งปันในชั้นเรียนว่าข่าวสารเรื่องนี้สอนอะไรเกี่ยวกับการพบปีติในพระผู้ช่วยให้รอด

  • ท่านอาจรู้สึกได้รับการดลใจให้นำการสนทนาเกี่ยวกับวิธีช่วยเหลือผู้อื่นพบสันติสุขและปีติในพระคริสต์ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงใครสักคนที่พวกเขารู้จัก—อาจเป็นใครสักคนที่พวกเขาปฏิบัติศาสนกิจ—ผู้ที่อาจต้องการการสนับสนุน การรับใช้ หรือแม้แต่แค่รับฟังประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ กระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนให้อ้างถึงพระคัมภีร์ (เช่นพระคัมภีร์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) ขณะพวกเขาพิจารณาถึงการรับใช้ที่พวกเขาอาจมอบให้หรือประจักษ์พยานที่พวกเขาอาจแบ่งปันเพื่อเสริมสร้างผู้คนที่อยู่รอบตัวพวกเขาให้เข้มแข็งขึ้น เชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนสองสามคนให้แบ่งปันความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับการรับใช้อย่างที่พระเยซูทรงทำ

ภาพ
พระคริสต์บนกางเขน

กลโกธาในวันวิปโยค โดย เจ. เคิร์ก ริชาร์ดส์

โดยผ่านการชดใช้ของพระองค์ พระเยซูคริสต์ทรงมีพลังอำนาจที่จะช่วยให้เราเอาชนะบาป ความตาย การทดลอง และความอ่อนแอ

  • วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองถึงพรที่มาโดยผ่านการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดคือเขียนหัวข้อ บาป ความตาย การทดลอง และ ความอ่อนแอ บนกระดาน สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนอาจจะอ่านพระคัมภีร์ที่ระบุไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” คนละข้อและไตร่ตรองว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเราเอาชนะสิ่งที่เขียนไว้บนกระดานอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนอาจจะเขียนถึงพระคัมภีร์อ้างอิงไว้ใต้หัวข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้นบนกระดานและแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์

  • เรื่องเล่าและการเปรียบเทียบต่างๆ จะช่วยให้เราเข้าใจการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้แบ่งปันหนึ่งในเรื่องราวหรือการเปรียบเทียบต่างๆ ในข่าวสารของเอ็ลเดอร์วอลเตอร์ เอฟ. กอนซาเลซเรื่อง “สัมผัสของพระผู้ช่วยให้รอด” (เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 90–92) หรือข่าวสารของซิสเตอร์นีลล์ เอฟ. แมร์ริออตต์เรื่อง “อยู่กับพระผู้เป็นเจ้าและสมานรอยร้าว” (เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 10–12) เรื่องราวหรือการเปรียบเทียบเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับการชดใช้ของพระคริสต์? เชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้ทำงานเป็นคู่เพื่อคิดเรื่องราวหรือการเปรียบเทียบต่างๆ ของตนเอง

  • เราเรียนรู้อะไรจากข้อดังต่อไปนี้เกี่ยวกับราคาที่พระเยซูคริสต์ทรงจ่ายเพื่อความรอดของเรา: อิสยาห์ 53:3–5; โมไซยาห์ 3:7; หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19? พระบิดาบนสวรรค์ของเราทรงจ่ายเท่าไหร่? (ดู ยอห์น 3:16)

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

พระคัมภีร์เกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ปรับปรุงการสอนของเรา

ขอบคุณผู้เรียนของท่าน “อย่ามัวแต่จดจ่ออยู่กับบทเรียนจนท่านลืมขอบคุณผู้เรียนสำหรับการมีส่วนร่วมของพวกเขา พวกเขาต้องรู้ว่าท่านเห็นคุณค่าของความเต็มใจของพวกเขาในการแบ่งปันความเข้าใจลึกซึ้งและประจักษ์พยาน” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 33)

พิมพ์