พันธสัญญาเดิม 2022
16–22 พฤษภาคม เฉลยธรรมบัญญัติ 6–8; 15; 18; 29–30; 34: “จงระวังตัวเกรงว่าพวกท่านจะลืมพระยาห์เวห์”


“16–22 พฤษภาคม เฉลยธรรมบัญญัติ 6–8; 15; 18; 29–30; 34: ‘จงระวังตัวเกรงว่าพวกท่านจะลืมพระยาห์เวห์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“16–22 พฤษภาคม เฉลยธรรมบัญญัติ 6–8; 15; 18; 29–30; 34” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
โมเสสยืนบนภูเขา

ภาพประกอบของโมเสสบนภูเขาเนโบ © Providence Collection/licensed from goodsalt.com

16–22 พฤษภาคม

เฉลยธรรมบัญญัติ 6–8; 15; 18; 29–30; 34

“จงระวังตัวเกรงว่าพวกท่านจะลืมพระยาห์เวห์”

โมเสสได้รับการดลใจให้สอนลูกหลานอิสราเอลโดยยึดความต้องการของพวกเขาเป็นหลัก (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 6:1) ขณะท่านศึกษาเฉลยธรรมบัญญัติ จงแสวงหาการดลใจให้รู้ว่าจะสอนหลักธรรมใดโดยยึดความต้องการของสมาชิกชั้นเรียนเป็นหลัก

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพราะเฉลยธรรมบัญญัติประกอบด้วยคำพูดสุดท้ายของโมเสสกับลูกหลานอิสราเอล ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาพบในเฉลยธรรมบัญญัติที่พวกเขาต้องการรวมไว้ในคำพูดสุดท้ายของพวกเขากับลูกหรือหลานของพวกเขา ขณะแบ่งปัน ขอให้พวกเขาอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกคำเหล่านั้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4–7, 20–25; 8:2–5, 11–17; 29:18–20; 30:6–10, 15–20

พระเจ้าทรงต้องการให้เรารักพระองค์ด้วยสุดใจของเรา

  • ทั่วเฉลยธรรมบัญญัติมีข้อที่สามารถกระตุ้นให้เรานึกถึงสภาพทางวิญญาณของใจเรา เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับข้อเหล่านี้ ท่านอาจวาดรูปหัวใจไว้บนกระดาน แล้วแบ่งข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ในหมู่สมาชิกชั้นเรียน: เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4–7, 20–25; 8:2–5, 11–17; 29:18–20; 30:6–10, 15–20 เชิญสมาชิกชั้นเรียนเขียนข้ออ้างอิงไว้ในรูปหัวใจถ้าข้อนั้นสอนเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรมีในใจเราหรือเขียนข้ออ้างอิงไว้นอกรูปหัวใจถ้าข้อนั้นสอนเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรหลีกเลี่ยง การอุทิศทั้งใจเราแด่พระบิดาบนสวรรค์หมายความว่าอย่างไร?

  • เราจะอธิบายให้ครอบครัวเราและคนอื่นๆ ฟังอย่างไรว่าเหตุใดเราจึงเชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า? หลังจากไตร่ตรองคำถามนี้ สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4–7, 20–25 หรือข้อความใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และแบ่งปันความคิดของพวกเขา ข้อคิดเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่เรารู้สึกเกี่ยวกับพระบัญญัติหรือพันธสัญญา?

เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4–9, 20–25

“จงสอน [พระวจนะของพระเจ้าอย่างขยันหมั่นเพียร] แก่บุตรหลานของท่าน”

  • บางครั้งจะช่วยถ้าฟังแนวคิดเกี่ยวกับวิธีที่คนอื่นกำลังสอนและเรียนรู้พระกิตติคุณในบ้านของพวกเขา การสนทนาว่าสมาชิกชั้นเรียนกำลังทำตามคำแนะนำใน เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4–9, 20–25 อย่างไรจะช่วยเปิดโอกาสให้ชั้นเรียนของท่านได้เรียนรู้จากกัน เราทำอะไรเพื่อสอนและ “พูดถึง” (ข้อ 7) พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าที่ตามข้อเหล่านี้อธิบาย? เราจะแบ่งปันประสบการณ์อะไรได้บ้างซึ่งในประสบการณ์นั้นพระเจ้าทรงนำทางเราในความพยายามของเรา?

เฉลยธรรมบัญญัติ 15:1–15

การช่วยเหลือคนขัดสนเกี่ยวข้องกับมือที่โอบอ้อมอารีและหัวใจที่เต็มใจ

  • เรายังไม่ถึงวันที่ “ไม่มีคนยากจนท่ามกลางท่าน” (เฉลยธรรมบัญญัติ 15:4) ด้วยเหตุนี้หลักธรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนยากจนใน เฉลยธรรมบัญญัติ 15 จึงยังมีค่าแม้การปฏิบัติบางอย่างเกี่ยวกับหนี้สินและคนรับใช้เปลี่ยนไปก็ตาม ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวน ข้อ 1–15 และหาหลักธรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนยากจนและคนขัดสนที่พวกเขาต้องการสนทนา คำถามทำนองนี้อาจช่วยการสนทนา: “ยื่นมือให้ [คนขัดสน] อย่างใจกว้าง” หมายความว่าอย่างไร? (ข้อ 8, 11) ใจเรามีบทบาทอะไรในการช่วยเหลือผู้อื่น? (ดู ข้อ 7, 9–10) เราสามารถเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของพระเจ้าเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนขัดสน? (ดู ข้อ 15)

เฉลยธรรมบัญญัติ 29:9; 30:15–20

พระเจ้าทรงเชื้อเชิญให้เราเลือกระหว่าง “ชีวิตและสิ่งดี ความตายและสิ่ง‍ร้าย”

  • ท่านอาจจะสนใจเปรียบเทียบถ้อยคำของโมเสสในเฉลยธรรมบัญญัติกับคำสอนสุดท้ายของลีไฮกับครอบครัวของเขาใน 2 นีไฟ 1–4 สมาชิกชั้นเรียนอาจจะหาความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างข้อเหล่านี้: เฉลยธรรมบัญญัติ 29:9 กับ 2 นีไฟ 4:4; เฉลยธรรมบัญญัติ 30:15–20 กับ 2 นีไฟ 2:26–29 ลีไฮขยายความสิ่งที่โมเสสสอนว่าอย่างไร? เหตุใดคำอย่างเช่น ชีวิต และ ความตาย จึงเป็นวิธีที่ดีในการพูดถึงการเลือก “รักษา” หรือ “หันเหไป” จากพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า? (เฉลยธรรมบัญญัติ 30:16–17) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาพบในข้อเหล่านี้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขา “เลือกเอาข้างชีวิต” (เฉลยธรรมบัญญัติ 30:19)

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

เรารักษาพันธสัญญาของเราเพราะเรารักพระผู้เป็นเจ้า

ประธานลินดา เค. เบอร์ตันสอนว่า

“จากเหตุผลทั้งปวงที่เราควรจะพากเพียรยิ่งขึ้นในการรักษาพันธสัญญาของเรา เหตุผลข้อนี้มีความน่าสนใจมากกว่าทุกข้อ—ความรัก …

“‘ถ้าเราสำนึกในพระกรุณาธิคุณต่อพรอันมากมายของเราอย่างเต็มที่ซึ่งเป็นของเราผ่านการไถ่ที่ทำเพื่อเรา ไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าจะทรงขอจากเราแล้วเราจะไม่กระตือรือร้นและเต็มใจทำ’ [โจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ, “Importance of the Sacrament Meeting,” Relief Society Magazine, Oct. 1943, 592] ตามคำพูดนี้ของประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ การรักษาพันธสัญญาเป็นวิธีหนึ่งที่จะแสดงความรักของเราต่อการชดใช้อันไม่มีขอบเขตและไม่อาจเข้าใจได้ของพระผู้ช่วยให้รอดและพระผู้ไถ่และความรักอันดีพร้อมของพระบิดาในสวรรค์ของเรา” (“พลังอำนาจ ปีติ และความรักจากการรักษาพันธสัญญา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 114)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ฟัง “การฟังเป็นการแสดงออกของความรัก… ขอให้พระบิดาบนสวรรค์ทรงช่วยให้ท่านเข้าใจสิ่งที่สมาชิกชั้นเรียนของท่านพูด เมื่อท่านตั้งใจฟังข่าวสารที่พูดออกมาและไม่ได้พูดออกมา ท่านจะเข้าใจความต้องการ ข้อกังวล และความปรารถนาของพวกเขามากยิ่งขึ้น” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 34)

พิมพ์