พันธสัญญาเดิม 2022
29 สิงหาคม–4 กันยายน สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12: “ความยำเกรงพระยาห์เวห์เป็น​ที่​เริ่ม‍ต้น​ของ​ปัญญา”


“29 สิงหาคม–4 กันยายน สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12: ‘ความยำเกรงพระยาห์เวห์เป็น​ที่​เริ่ม‍ต้น​ของ​ปัญญา,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“29 สิงหาคม–4 กันยายน สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
ผู้ชายศึกษาพระคัมภีร์

29 สิงหาคม–4 กันยายน

สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12

“ความยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์เป็น​ที่​เริ่ม‍ต้น​ของ​ปัญญา”

ข่าวสารในสุภาษิตและปัญญาจารย์อาจเป็นพรแก่ชีวิตของคนที่ท่านสอนอย่างไร? ทำตามการกระตุ้นเตือนและความประทับใจที่ท่านได้รับขณะศึกษาและเตรียมสอน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

มีข่าวสารที่งดงามและทรงพลังมากมายในสุภาษิตและปัญญาจารย์ ก่อนการสนทนาข้อความใดโดยเฉพาะ ตามตัวอย่างที่แนะนำไว้ด้านล่าง เชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อความที่ตนโปรดปรานบางข้อจากการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวหรือกับครอบครัวในสัปดาห์นี้

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

สุภาษิต 1–4; 15–16; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12

“จงเงี่ยหูของเจ้าฟังปัญญา”

  • หนังสือสุภาษิตกล่าวย้ำคำเชิญให้แสวงหาปัญญาและความเข้าใจอยู่ตลอด ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับปัญญาระหว่างศึกษาได้อย่างไร? วิธีหนึ่งที่น่าจะใช้ได้คือเขียนคำว่า ปัญญา บนกระดานแล้วเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้เติมเลขข้อหรือวลีต่างๆ จากสุภาษิตหรือปัญญาจารย์ที่รู้สึกว่าให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัญญา (ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ ท่านอาจแนะนำให้สมาชิกชั้นเรียนค้นคว้า สุภาษิต 1–4; 15–16; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12) เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับปัญญาจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้? เราได้รับพรอย่างไรเมื่อเราแสวงหาปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า?

สุภาษิต 1:7; 2:5; 3:7; 8:13; 15:33; 16:6; 31:30; ปัญญาจารย์ 12:13

“อย่าคิดว่าตนมีปัญญา จงยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์”

  • สาระสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบตลอดหนังสือสุภาษิตและปัญญาจารย์คือ “ความยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์” (สุภาษิต 1:7; ดู สุภาษิต 2:5; 3:7; 8:13; 15:33; 16:6; 31:30; ปัญญาจารย์ 12:13 ด้วย) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่านข้อเหล่านี้บางข้อแล้วแบ่งปันความหมายของความยำเกรงพระเจ้าตามความรู้สึกของตน ความยำ‌เกรงพระ‍เจ้าต่างกับความยำเกรงประเภทอื่นๆ อย่างไร? ท่านอาจแบ่งปันข้อคิดจากคำอธิบายของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ที่พบใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพ
สตรีกับดอกไม้

เรียนรู้การวางใจพระเจ้า, โดย แคธลีน ปีเตอร์สัน

สุภาษิต 3:5–7

“จงวางใจในพระยาห์เวห์ด้วยสุดใจของเจ้า”

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจมีความสุขกับบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์ซึ่งช่วยให้เข้าใจความหมายของการ “วางใจในพระยาห์เวห์” และ “อย่าพึ่งพาความรอบรู้ของตนเอง” (สุภาษิต 3:5) ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนยืนพิงบางอย่างที่มั่นคงแข็งแรงเช่น ผนัง จากนั้นอาจให้คนเดิมลองพิงบางอย่างที่ไม่มั่นคงเช่น ไม้กวาด การสาธิตนี้ช่วยให้เราเข้าใจ สุภาษิต 3:5 อย่างไร? สุภาษิต 3:5–7 สอนอะไรเกี่ยวกับความหมายของการวางใจในพระเจ้า? เหตุใดการพึ่งพาความรอบรู้ของตนเองจึงถือว่าไม่ฉลาด? เรารู้สึกได้อย่างไรว่าพระเจ้าทรงทำให้วิถีของเราราบรื่นเมื่อเราวางใจพระองค์?

สุภาษิต 15:1–2, 4, 18,28; 16:24–32

“คำตอบนุ่มนวลช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป”

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาว่าจะเพิ่มสันติและลดความขัดแย้งในชีวิตได้อย่างไร ท่านอาจเชิญให้พวกเขาอ่าน สุภาษิต 15:1–2,18; 16:32 จากนั้นพวกเขาอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยมีซึ่งแสดงให้เห็นความจริงในข้อเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น พวกเขาใช้ “คำตอบนุ่มนวล” มาช่วย “ละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป” เมื่อใด? (สุภาษิต 15:1) หรือพวกเขาอาจนึกถึงช่วงเวลาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างของเรื่องที่สอนอยู่ในข้อเหล่านี้ (ดู ยอห์น 8:1–11; 18:1–11) เราจะทำตามแบบอย่างของพระองค์ได้อย่างไรขณะที่เราปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น?

  • แม้ผู้ประพันธ์หนังสือสุภาษิตไม่รู้เกี่ยวกับการสื่อสารมากมายหลายช่องทางที่มีอยู่ในยุคของเรา แต่คำแนะนำใน สุภาษิต 15 และ16 ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการสื่อสารทุกรูปแบบ เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจเรื่องนี้ ท่านอาจเชิญให้แต่ละคนเลือกอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้หนึ่งข้อ: สุภาษิต 15:1–2, 4, 18,28; 16:24, 27–30 จากนั้น สมาชิกชั้นเรียนอาจพูดถึงสุภาษิตข้อที่อ่านไปอีกครั้งในรูปแบบของคำแนะนำเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านสื่อสังคม ผ่านการส่งข้อความหรือทางออนไลน์ พวกเขาสามารถหาคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เพิ่มได้ใน “ภาษา” ใน เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน (2011), 20–21

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

“ความยำเกรงพระเจ้าคือรักและวางใจพระองค์”

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์อธิบายว่า:

“ความยำเกรงพระเจ้าจึงเติบโตจากความเข้าใจที่ถูกต้องของพระลักษณะแห่งสวรรค์และพระพันธกิจของพระเจ้าพระเยซูคริสต์ ความเต็มใจที่เรายินยอมต่อพระประสงค์ของพระองค์ และความรู้ที่ว่าชายหญิงทุกคนจะรับผิดชอบต่อบาปของตนเองในวันแห่งการพิพากษา …

“ความยำเกรงพระเจ้าคือรักและวางใจพระองค์ เมื่อเรายำเกรงพระผู้เป็นเจ้าอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น เรารักพระองค์อย่างบริบูรณ์ยิ่งขึ้น และ ‘ความรักที่บริบูรณ์ย่อมขับความกลัวออกไปสิ้น’ (โมโรไน 8:16) ข้าพเจ้าสัญญาว่าแสงสว่างอันเจิดจ้าแห่งความยำเกรงพระเจ้าจะขับไล่เงามืดแห่งความกลัวแบบมรรตัยออกไป (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 50:25) เมื่อเราพึ่งพาพระผู้ช่วยให้รอดสร้างรากฐานของเราบนพระองค์ และมุ่งหน้าบนเส้นทางแห่งพันธสัญญาของพระองค์ด้วยคำมั่นสัญญาที่อุทิศถวาย” (“ฉะนั้นพวกเขาจึงข่มความกลัว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 49)

ปรับปรุงการสอนของเรา

มุ่งไปที่พระเยซูคริสต์ ไม่มีวิธีใดเพิ่มพูนศรัทธาของคนที่ท่านสอนได้ดีกว่าการให้บทเรียนของท่านมีศูนย์กลางอยู่ที่พระผู้ช่วยให้รอด ผ่านการสอนของท่าน เชิญให้สมาชิกชั้นเรียนสร้าง “บนศิลาของพระผู้ไถ่ของเรา, ผู้ทรงเป็นพระคริสต์, พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า” (ฮีลามัน 5:12)

พิมพ์