จงตามเรามา
ภาคผนวก ค: สำหรับปฐมวัย—คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลงและการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็ก


“ภาคผนวก ค: สำหรับปฐมวัย—คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลงและการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็ก” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“ภาคผนวก ค” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

เด็กกำลังร้องเพลง

ภาคผนวก ค

สำหรับปฐมวัย—คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลงและการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็ก

เพลงศักดิ์สิทธิ์เป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับแผนแห่งความสุขของพระบิดาบนสวรรค์และความจริงอันเป็นรากฐานแห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ขณะเด็กร้องเพลงเกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณ พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงเป็นพยานถึงความจริงเหล่านั้น เนื้อร้องและทำนองจะอยู่ในความคิดและจิตใจเด็กไปตลอดชีวิต

แสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณขณะท่านเตรียมสอนพระกิตติคุณผ่านเพลง แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความจริงที่ท่านขับร้อง ช่วยให้เด็กเห็นว่าเพลงเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้และประสบที่บ้านและในชั้นเรียนปฐมวัยอย่างไร

แนวทางสำหรับการนำเสนอการประชุมศีลระลึก

เนื่องด้วยการกำกับดูแลของอธิการ โดยปกติการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็กจะจัดในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี ฝ่ายประธานปฐมวัยและผู้นำดนตรีทำงานร่วมกับที่ปรึกษาในฝ่ายอธิการผู้ควบคุมดูแลปฐมวัยเพื่อวางแผนเรื่องการนำเสนอ

การนำเสนอควรเปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอสิ่งที่พวกเขาและครอบครัวได้เรียนรู้จากหลักคำสอนและพันธสัญญาที่บ้านและในปฐมวัย รวมทั้งเพลงปฐมวัยที่ร้องระหว่างปีด้วย เมื่อท่านวางแผนการนำเสนอ ให้คิดวิธีที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมจดจ่ออยู่กับพระผู้ช่วยให้รอดและคำสอนของพระองค์

หน่วยที่มีเด็กไม่มากอาจคิดหาวิธีให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมกับเด็กๆ สมาชิกท่านหนึ่งในฝ่ายอธิการจะจบการประชุมด้วยคำพูดสั้นๆ

ขณะท่านเตรียมการนำเสนอ พึงจดจำแนวทางต่อไปนี้:

  • การฝึกซ้อมไม่ควรใช้เวลาชั้นเรียนปฐมวัยหรือเวลาของครอบครัวโดยไม่จำเป็น

  • รูปภาพ ชุดแสดง และการนำเสนอด้วยสื่อไม่เหมาะสำหรับการประชุมศีลระลึก

ดู คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย, 12.2.1.2, คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

เด็กกำลังร้องเพลง

คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลง

5 นาที (ฝ่ายประธานปฐมวัย): การสวดอ้อนวอนเปิด ข้อพระคัมภีร์หรือหลักแห่งความเชื่อ และผู้พูดหนึ่งคน

20 นาที (ผู้นำดนตรี): ช่วงเวลาร้องเพลง

ฝ่ายประธานปฐมวัยและผู้นำดนตรีคัดเลือกเพลงสำหรับแต่ละเดือนเพื่อช่วยเสริมหลักธรรมที่เด็กกำลังเรียนรู้ในชั้นเรียนและที่บ้าน รายชื่อเพลงที่ช่วยเสริมหลักธรรมเหล่านี้มีอยู่ในคู่มือเล่มนี้

ขณะสอนเพลงให้เด็ก ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วเกี่ยวกับเรื่องราวและหลักธรรมคำสอนที่เพลงสอน เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับความจริงที่พบในเพลงเหล่านั้น

หนังสือเพลงสำหรับเด็ก เป็นแหล่งช่วยพื้นฐานสำหรับเพลงในปฐมวัย เพลงสวดจากหนังสือเพลงสวดและเพลงจาก เพื่อนเด็ก เป็นเพลงที่เหมาะสมเช่นกัน การใช้เพลงอื่นในปฐมวัยทุกเพลงต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายอธิการ (ดู คู่มือทั่วไป, 12.3.4)

เพลงสำหรับช่วงเวลาร้องเพลง

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

การใช้เพลงสอนหลักคำสอน

ช่วงเวลาร้องเพลงมีไว้ช่วยให้เด็กเรียนรู้ความจริงของพระกิตติคุณ แนวคิดต่อไปนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้ท่านขณะวางแผนวิธีสอนหลักธรรมพระกิตติคุณที่พบในเพลงสวดและเพลงปฐมวัย

อ่านพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง หลายเพลงใน หนังสือเพลงสำหรับเด็ก และหนังสือเพลงสวดจะระบุพระคัมภีร์อ้างอิงที่เกี่ยวข้อง จงช่วยเด็กอ่านพระคัมภีร์เหล่านี้บางข้อ และพูดคุยกันว่าพระคัมภีร์ข้อนั้นเกี่ยวข้องกับเพลงอย่างไร ท่านอาจจะเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงสองสามข้อไว้บนกระดานด้วยก็ได้และให้เด็กจับคู่แต่ละข้อกับเพลงหรือข้อจากเพลง

เติมคำในช่องว่าง เขียนเนื้อเพลงข้อหนึ่งบนกระดานโดยเว้นว่างตรงคำสำคัญหลายๆ คำ จากนั้นให้เด็กร้องเพลงและฟังคำที่จะเติมในช่องว่างเหล่านั้น เมื่อพวกเขาเติมคำในช่องว่างแต่ละช่อง ให้สนทนาว่าท่านเรียนรู้หลักธรรมพระกิตติคุณข้อใดจากคำที่หายไป

เด็กกำลังร้องเพลง

เป็นพยาน แสดงประจักษ์พยานให้เด็กฟังสั้นๆ เกี่ยวกับความจริงพระกิตติคุณที่พบในเพลงปฐมวัย ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าการร้องเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่พวกเขาสามารถแสดงประจักษ์พยานและรู้สึกถึงพระวิญญาณได้

ยืนเป็นพยาน ให้เด็กผลัดกันยืนแบ่งปันว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเพลงที่กำลังร้องหรือรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความจริงที่เพลงนั้นสอน ถามเด็กว่ารู้สึกอย่างไรขณะร้องเพลง และช่วยพวกเขาแยกแยะอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์

ใช้ภาพ ขอให้เด็กช่วยท่านหาหรือทำภาพประกอบคำหรือวลีสำคัญๆ ในเพลง ให้พวกเขาแบ่งปันว่าภาพนั้นเกี่ยวข้องกับเพลงอย่างไรและเพลงนั้นสอนอะไร ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านกำลังสอนเพลง “คราพระเสด็จมา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 46–47) ท่านอาจติดภาพไว้ทั่วห้องที่แสดงให้เห็นคำสำคัญๆ จากเพลง (เช่น เทวา หิมะ และ ดาว) ขอให้เด็กเก็บภาพมาเรียงลำดับให้ถูกต้องขณะท่านร้องเพลงด้วยกัน

แบ่งปันบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริง ท่านจะใช้อุปกรณ์จริงสร้างแรงบันดาลใจให้สนทนาเกี่ยวกับเพลง ตัวอย่างเช่น เมื่อร้องเพลง “ลำธารเล็กๆ พูดว่า ‘จงให้’” (หนังสือเพลงสําหรับเด็ก, 116) ท่านอาจให้เด็กดูภาพสิ่งต่างๆ เช่น ลําธาร หญ้า ฝน และดอกไม้ นี่จะนําไปสู่การสนทนาว่าการรับใช้แม้เพียงเล็กน้อยจะเป็นพรแก่ผู้อื่นในวิธีสําคัญได้อย่างไร

เชื้อเชิญให้แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว ช่วยเด็กเชื่อมโยงหลักธรรมที่สอนในเพลงกับประสบการณ์ที่พวกเขาเคยมีกับหลักธรรมเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ก่อนร้องเพลง “ฉันชอบมองดูพระวิหาร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 99) ท่านอาจขอให้เด็กที่เคยเห็นพระวิหารยกมือขึ้น ให้พวกเขาคิดขณะร้องเพลงว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นพระวิหาร

ถามคำถาม มีคำถามมากมายที่ท่านถามได้ขณะร้องเพลง ตัวอย่างเช่น ท่านถามเด็กได้ว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเพลงแต่ละข้อ ท่านสามารถขอให้พวกเขาคิดคำถามที่เพลงตอบได้ด้วย นี่จะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับความจริงที่สอนไว้ในเพลง

ใช้ท่ามือง่ายๆ ให้เด็กคิดท่ามือง่ายๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาจำเนื้อร้องและข่าวสารของเพลงได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อท่านร้องเพลง “ค้นหาไตร่ตรองเเละสวด” (หนังสือเพลงสําหรับเด็ก, 66) ท่านอาจเชื้อเชิญให้เด็กชี้ที่ดวงตาของพวกเขาขณะพวกเขาร้องเพลงเกี่ยวกับการค้นคว้าพระคัมภีร์ ชี้ไปที่ศีรษะขณะพวกเขาร้องเพลงเกี่ยวกับการไตร่ตรอง และกอดอกขณะพวกเขาร้องเพลงเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน