หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
25–31 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–9: “นี่คือวิญญาณแห่งการเปิดเผย”


“25–31 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–9: ‘นี่คือวิญญาณแห่งการเปิดเผย’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“25–31 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–9” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021

ผู้จดเขียนบนกระดาษ

25–31 มกราคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–9

“นี่คือวิญญาณแห่งการเปิดเผย”

พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงต่อเราในความนึกคิดและใจเรา (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 8:2–3) ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–9 ให้บันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับ

บันทึกความประทับใจของท่าน

ในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1828 ครูวัยหนุ่มชื่อออลิเวอร์ คาวเดอรีรับงานสอนในเมืองแมนเชสเตอร์ นิวยอร์ก และพักอยู่กับครอบครัวของลูซีกับโจเซฟ สมิธ ซีเนียร์ ออลิเวอร์ทราบว่าโจเซฟบุตรชายของพวกเขาอยู่ในเมืองฮาร์โมนีย์ รัฐเพนน์ซิลเวเนีย และออลิเวอร์ผู้ถือว่าตนเป็นผู้แสวงหาความจริงต้องการรู้ความจริงมากขึ้น ครอบครัวสมิธเล่าเรื่องการเยือนจากเทพ บันทึกโบราณ และของประทานในการแปลโดยเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ออลิเวอร์สนใจและชื่นชอบมาก นั่นจริงหรือ? ลูซีกับโจเซฟ ซีเนียร์ให้คำแนะนำแก่เขาซึ่งประยุกต์ใช้ได้กับใครก็ตามที่แสวงหาความจริง นั่นคือ สวดอ้อนวอนและทูลถามพระเจ้า

ออลิเวอร์ทำตาม และพระเจ้าทรงตอบ โดยตรัสให้ความสงบและความมั่นใจแก่จิตใจของออลิเวอร์ ออลิเวอร์ค้นพบว่าการเปิดเผยเป็นเรื่องส่วนตัว—สิ่งที่เขาจะเรียนรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในเดือนต่อๆ มา การเปิดเผยไม่ใช่สำหรับศาสดาพยากรณ์เท่านั้น แต่สำหรับใครก็ตามที่ปรารถนาและแสวงหา ออลิเวอร์ยังไม่รู้ทุกอย่าง แต่เขารู้มากพอจะก้าวต่อไป พระเจ้าทรงทำสิ่งสำคัญบางอย่างผ่านโจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ต้องการเป็นส่วนหนึ่ง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติเบื้องหลัง หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–9 ได้จาก วิสุทธิชน, 1:58–64; “Days of Harmony” (วีดิทัศน์, ChurchofJesusChrist.org)

23:14
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6; 8–9

พระบิดาบนสวรรค์ตรัสกับฉันผ่าน “พระวิญญาณแห่งความจริง”

ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1829 ออลิเวอร์ คาวเดอรีเดินทางไปฮาร์โมนีย์และอาสาเป็นผู้จดให้โจเซฟ สมิธขณะท่านแปลพระคัมภีร์มอรมอน ตอนนี้ออลิเวอร์เห็นขั้นตอนการแปลที่เปิดเผยใกล้ๆ ประสบการณ์นั้นทำให้เขาตื่นเต้นอย่างยิ่ง และสงสัยว่าเขาจะได้รับพรให้มีของประทานในการแปลด้วยหรือไม่ พระเจ้าทรงยอมให้เขาพยายามแปล แต่การได้รับการเปิดเผยเป็นเรื่องใหม่สำหรับออลิเวอร์ และความพยายามของเขาไม่สำเร็จ เขายังมีมากมายให้เรียนรู้ และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 6, 8 และ 9 แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าเต็มพระทัยสอนเขา

ขณะที่ท่านอ่านภาคเหล่านี้ ให้สังเกตว่าพระเจ้าทรงสอนอะไรเกี่ยวกับการเปิดเผยส่วนตัว พระดำรัสของพระองค์เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ท่านเคยมี—หรือต้องการมีอย่างไร?

ตัวอย่างเช่น หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:5–7; 8:1; 9:7–8 บอกอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้าทรงเรียกร้องจากท่านก่อนจะทรงเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์?

ท่านเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:14–17, 22–24; 8:2–3; 9:7–9 เกี่ยวกับวิธีต่างๆ ที่การเปิดเผยจะมา?

ท่านเรียนรู้เรื่องใดอีกหรือไม่เกี่ยวกับการเปิดเผยจากภาคเหล่านี้?

เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดเผย ให้ดู รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน “การเปิดเผยสำหรับศาสนจักร การเปิดเผยสำหรับชีวิตเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 93–96; จูลี บี. เบค, “ในกาลครั้งนั้น เราจะเทพระวิญญาณของเรามาเหนือกระทั่งคนใช้ชายหญิง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 12–15 ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ของประทานแห่งอาโรน” ที่บรรยายไว้ใน ภาค 8 ได้จาก “Oliver Cowdery’s Gift,” Revelations in Context, 15–19

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:18–21, 29–37

จงดูที่พระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง

ถึงแม้โจเซฟเคยประสบ “สถานการณ์ยุ่งยาก” มาแล้วขณะทำงานของพระเจ้า (หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:18) แต่ท่านกับออลิเวอร์ไม่ทราบว่าสถานการณ์เหล่านั้นจะยากเพียงใดในช่วงหลายปีต่อมา แต่พระเจ้าทรงทราบ และพระองค์ทรงทราบว่าท่านจะมีการทดลองอะไรในอนาคตด้วย พระดำรัสแนะนำโจเซฟกับออลิเวอร์ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:18–21, 29–37 สามารถช่วยท่านได้เช่นกัน โจเซฟกับออลิเวอร์น่าจะรู้สึกอย่างไรหลังจากได้ยินพระดำรัสเหล่านี้? ท่านพบอะไรในข้อเหล่านี้ที่ช่วยให้ท่านวางใจพระเจ้า? ท่านจะดูที่พระคริสต์ในชีวิตท่านมากขึ้นได้อย่างไร?

ออลิเวอร์ คาวเดอรี

ออลิเวอร์ คาวเดอรี โดย ลูอิส เอ. แรมซีย์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6–7; 9:3, 7–14

“แม้เจ้าปรารถนาจากเราฉันใด มันจะเป็นกับเจ้าฉันนั้น”

สังเกตคำว่า “ปรารถนา” ปรากฏกี่ครั้งใน ภาค 6 และ 7 ท่านเรียนรู้อะไรจากภาคเหล่านี้เกี่ยวกับความสำคัญที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่ความปรารถนาของท่าน ถามคำถามของพระเจ้าใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 7:1 กับตัวท่านเอง: “เจ้าปรารถนาสิ่งใดหรือ?”

ความปรารถนาอันชอบธรรมประการหนึ่งของออลิเวอร์ คาวเดอรีไม่บรรลุผลสำเร็จ—นั่นคือแปลเหมือนโจเซฟ สมิธ ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 9:3, 7–14 ท่านได้รับความประทับใจอะไรบ้างที่จะช่วยท่านได้เมื่อความปรารถนาอันชอบธรรมของท่านไม่บรรลุผลสำเร็จ?

ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 11:8; ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “ความปรารถนา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 53–57 ด้วย

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:7, 13ท่านจะช่วยให้ครอบครัวท่านเข้าใจได้อย่างไรว่า “ความมั่งคั่ง” ที่แท้จริง พบในชีวิตนิรันดร์? (ข้อ 7 ท่านจะเชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวทำเงินกระดาษและเขียนหรือวาดพรมากมายที่ครอบครัวท่านได้รับเพราะพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูไว้บนนั้น

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:15, 22–23; 8:2–3; 9:7–9การอ่านข้อเหล่านี้เกี่ยวกับวิธีที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับบุตรธิดาของพระองค์อาจเป็นโอกาสดีเยี่ยมให้แบ่งปันกับครอบครัวท่านว่าพระองค์ตรัสกับท่านอย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:33–37สมาชิกครอบครัวจะบอกวิธีที่พวกเขาสามารถ “ทำดี” ทั้งที่พวกเขารู้สึกกลัว จะช่วยได้เช่นกันถ้าดูข่าวสารทั้งหมดหรือบางส่วนของเอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์เรื่อง “อย่ากังวลใจเลย” ( เลียโฮนา พ.ย. 2018, 18–21) “ดูที่ [พระคริสต์] ในความนึกคิดทุกอย่าง” หมายความว่าอย่างไร? (ข้อ 36) มีตัวอย่างอะไรอีกบ้างของคนที่หันไปหาพระเจ้าเพื่อเอาชนะความสงสัยและความกลัว? (ดูตัวอย่างใน เอสเธอร์ 4; แอลมา 26:23–31)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 8:10อาจเป็นโอกาสดีเยี่ยมให้แบ่งปันว่าศรัทธาในพระเยซูคริสต์ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ท่านและครอบครัวอย่างไร เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะ “ขอด้วยศรัทธา”? ท่านเคยเห็นพรอะไรบ้างจากการแสวงหาคำตอบหรือความช่วยเหลือด้วยศรัทธา?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “กล้าทำสิ่งที่ถูกหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 80

ไอคอนเสียงของการฟื้นฟู

เสียงของการฟื้นฟู

การแปลพระคัมภีร์มอรมอน

ในเดือนเมษายน ปี 1829 เดือนที่ได้รับหลักคำสอนและพันธสัญญา ภาค 6–9 งานหลักของโจเซฟ สมิธคือการแปลพระคัมภีร์มอรมอน ต่อมาเมื่อขอให้เล่าวิธีแปลบันทึกนี้ โจเซฟกล่าวว่า “พระเจ้าไม่ประสงค์ให้บอกรายละเอียดทั้งหมดกับชาวโลก”1 ท่านกล่าวอย่างเรียบง่ายบ่อยครั้งว่าท่านแปล “โดยของประทานและเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า”2

เรารู้รายละเอียดไม่มากนักเกี่ยวกับขั้นตอนการแปลอันน่าอัศจรรย์ แต่เรารู้ว่าโจเซฟ สมิธเป็นผู้หยั่งรู้ มีเครื่องมือช่วยแปลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเตรียมไว้ อาทิ ศิลาโปร่งใสสองก้อนเรียกว่าอูริมและทูมมิม และศิลาอีกก้อนเรียกว่าศิลาผู้หยั่งรู้3

คำกล่าวต่อไปนี้จากพยานที่เห็นขั้นตอนการแปลล้วนสนับสนุนคำพยานของโจเซฟ

กล่องไม้ของไฮรัม สมิธที่เก็บแผ่นจารึกทองคำ

เชื่อกันว่ากล่องนี้ซึ่งเป็นของไฮรัม สมิธ ใช้ซ่อนแผ่นจารึกทองคำไว้ชั่วคราว

เอ็มมา สมิธ

เอ็มมา สมิธ

“เมื่อสามีดิฉันแปลพระคัมภีร์มอรมอน ดิฉันเขียนคำแปลบางส่วนขณะที่เขาบอกให้เขียนแต่ละประโยค คำต่อคำ และเมื่อมาถึงชื่อเฉพาะที่เขาออกเสียงไม่ถูก หรือคำยาวๆ เขาสะกดคำเหล่านั้น และขณะที่ดิฉันเขียนคำดังกล่าวถ้าดิฉันสะกดผิดเขาจะให้ดิฉันหยุดและแก้ตัวสะกดถึงแม้เขาจะไม่เห็นว่าดิฉันเขียนอย่างไรในตอนนั้น กระทั่งคำว่า ซาราห์ เขาก็ยังออกเสียงไม่ถูกในตอนแรก แต่ต้องสะกดคำนี้ และดิฉันออกเสียงให้เขา”4

“แผ่นจารึกมักจะวางอยู่บนโต๊ะโดยไม่พยายามปกปิด ห่อไว้ในผ้าปูโต๊ะลินินผืนเล็กซึ่งดิฉันให้เขาไว้ห่อแผ่นจารึก ดิฉันเคยสัมผัสแผ่นจารึกขณะที่วางอยู่บนโต๊ะ พลางไล่นิ้วไปตามขอบและรูปทรงของแผ่นจารึก คล้ายกับกระดาษหนาที่ม้วนได้ และมีเสียงดังกรอบแกรบคล้ายโลหะเมื่อใช้นิ้วโป้งคลี่ขอบแผ่น เหมือนเวลาใช้นิ้วโป้งคลี่ขอบหนังสือ …

“ความเชื่อของดิฉันคือพระคัมภีร์มอรมอนเป็นของแท้—ดิฉันไม่มีความสงสัยแม้แต่น้อยในเรื่องนี้ ดิฉันเชื่อว่าไม่มีใครบอกให้เขียนต้นฉบับได้เว้นแต่เขาจะได้รับการดลใจ เพราะเมื่อดิฉันกำลังทำหน้าที่ผู้จด โจเซฟจะบอกให้ดิฉันจดชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า และเมื่อกลับจากรับประทานอาหาร หรือหลังจากถูกขัดจังหวะ เขาจะเริ่มตรงที่แปลค้างไว้ทันทีโดยไม่ต้องดูต้นฉบับหรืออ่านส่วนใดส่วนหนึ่งให้เขาฟัง นี่เป็นเรื่องปกติที่เขาทำ ผู้รอบรู้ไม่น่าจะทำสิ่งนี้ได้ และสำหรับคนไม่ได้ร่ำเรียนมาและขาดความรู้แบบเขา นั่นเป็นไปไม่ได้เลย”5

เอ็มมา สมิธช่วยงานแปล

ภาพประกอบของเอ็มมากับโจเซฟ สมิธโดย ไมเคิล ที.มาล์ม

ออลิเวอร์ คาวเดอรี

ออลิเวอร์ คาวเดอรี

“ข้าพเจ้าเขียนพระคัมภีร์มอรมอนทั้งเล่ม (ยกเว้นไม่กี่หน้า) ด้วยปากกาของข้าพเจ้าเองตามที่มาจากปากของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธขณะท่านแปลโดยของประทานและเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า โดยใช้อูริมและทูมมิมหรือที่พระคัมภีร์เรียกว่าเครื่องแปลความหมายอันศักดิ์สิทธิ์ ข้าพเจ้าเห็นด้วยตาตนเองและจับแผ่นจารึกทองคำซึ่งโจเซฟแปลด้วยมือข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าเห็นเครื่องแปลความหมายด้วย”6

อ้างอิง

  1. Minutes, 25–26 October 1831,” Minute Book 2, 13, josephsmithpapers.org.

  2. ใน “Church History,” Times and Seasons, Mar. 1, 1842, 707; ดู Teachings of Presidents of the Church: Joseph Smith (2007), 441 ด้วย.

  3. ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก “Book of Mormon Translation,” Gospel Topics, topics.ChurchofJesusChrist.org; Richard E. Turley Jr., Robin S. Jensen, and Mark Ashurst-McGee, “Joseph the Seer,” Ensign, Oct. 2015, 48–55.

  4. ใน Edmund C. Briggs, “A Visit to Nauvoo in 1856,” Journal of History, vol. 9, no. 4 (Oct. 1916), 454; อ้างใน รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “A Treasured Testament,” Ensign, July 1993, 62.

  5. ใน “Last Testimony of Sister Emma,” Saints’ Herald, Oct. 1, 1879, 290; ปรับตัวสะกดให้ทันสมัย.

  6. ใน Reuben Miller journal, Oct. 21, 1848, Church History Library, Salt Lake City; ปรับตัวสะกดและเครื่องหมายวรรคตอนให้ทันสมัย.

โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีกำลังแปลแผ่นจารึกทองคำ

โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีเรียนรู้มากมายผ่านขั้นตอนการแปลแผ่นจารึกทองคำ