จงตามเรามา
6–12 มกราคม 1 นีไฟ 1–7: “ข้าพเจ้าจะไปและทำ”


“6–12 มกราคม 1 นีไฟ 1–7: ‘ข้าพเจ้าจะไปและทำ’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“6–12 มกราคม 1 นีไฟ 1–7” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2020

ครอบครัวของลีไฮเดินทางในทะเลทราย

ลีไฮเดินทางใกล้ทะเลแดง โดย แกรีย์ สมิธ

6–12 มกราคม

1 นีไฟ 1–7

“ข้าพเจ้าจะไปและทำ”

ขณะที่ท่านอ่าน 1 นีไฟ 1–7 ให้นึกถึงข้อพระคัมภีร์ ประสบการณ์ คำถาม และแหล่งข้อมูลอื่นที่ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ใช้สอนเด็ก ท่านสามารถปรับกิจกรรมในโครงร่างนี้ให้เหมาะกับเด็กโตหรือเด็กเล็ก

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เด็กบางคนในชั้นเรียนอาจเคยได้ยินหรืออ่านประสบการณ์ครอบครัวของนีไฟใน 1 นีไฟ 1–7 มาแล้ว เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่รู้ ถ้าเด็กรู้ไม่มากเกี่ยวกับประสบการณ์ของนีไฟ จงเปิดโอกาสให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เมื่อจบบทเรียน

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

1 นีไฟ 2:16

ฉันต้องมีประจักษ์พยานของฉันเอง

นีไฟเชื่อคำพูดของบิดาเพราะเขาปรารถนาจะรู้ด้วยตนเองและเขาสวดอ้อนวอนพระเจ้า ช่วยให้เด็กเรียนรู้จากแบบอย่างของนีไฟ

กิจกรรมที่ทำได้

  • นำกล่องที่มีภาพพระผู้ช่วยให้รอดอยู่ข้างในมาชั้นเรียน ปิดกล่องไว้ และให้เด็กแต่ละคนผลัดกันหาความจริงด้วยตนเองว่าอะไรอยู่ในกล่อง บอกเด็กว่านีไฟต้องการมีประจักษ์พยานว่าพระเจ้าทรงบัญชาให้ครอบครัวเขาออกจากเยรูซาเล็ม ขอให้เด็กฟังสิ่งที่นีไฟทำเพื่อให้เขามีประจักษ์พยานขณะที่ท่านอ่าน 1 นีไฟ 2:16 เป็นพยานว่าเราแต่ละคนต้องเปิดกล่องจึงจะทราบว่าอะไรอยู่ข้างในฉันใด เราทุกคนต้องทูลขอพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้มีประจักษ์พยานของเราเองฉันนั้น

  • นำภาพหรือสิ่งของแทนสิ่งที่เด็กจะใช้แสวงหาประจักษ์พยาน เช่น ภาพพระเยซูคริสต์ พระคัมภีร์มอรมอน หรือภาพศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิต เชื้อเชิญให้เด็กเลือกภาพหรือสิ่งของหนึ่งชิ้นและแบ่งปันประจักษ์พยานถึงสิ่งนั้นกับชั้นเรียน

1 นีไฟ 2:2–4; 3–4

พระผู้เป็นเจ้าจะทรงช่วยให้ฉันรักษาพระบัญญัติของพระองค์

ท่านจะใช้เรื่องราวเหล่านี้ช่วยให้เด็กเข้าใจได้อย่างไรว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยให้เรารักษาพระบัญญัติ แม้ดูเหมือนยากจะเชื่อฟัง

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน 1 นีไฟ 2:2–4 ให้เด็กฟัง และติดภาพสองสามภาพของสิ่งที่ครอบครัวของลีไฮน่าจะนำไปในแดนทุรกันดารกับพวกเขา เช่น กระโจม ผ้าห่ม คันธนูกับลูกธนู ขอให้พวกเขาจินตนาการว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าต้องออกจากบ้านไปในแดนทุรกันดาร พระเจ้าทรงขอให้เราทำอะไรเพื่อเชื่อฟังพระองค์วันนี้

  • ช่วยเด็กระบายสีและตัดกระดาษรูปคนในหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ จากนั้นขอให้พวกเขาใช้รูปคนสรุปเรื่องนีไฟกับพี่ๆ ไปเอาแผ่นจารึกทองเหลือง (ดู 1 นีไฟ 3–4) เพลง “ความกล้าหาญของนีไฟ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 64–65) และ “บทที่ 4: แผ่นจารึกทองเหลือง” (เรื่องราวจากพระคัมภีร์มอรมอน, 8–12; ดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ChurchofJesusChrist.orgด้วย) จะช่วยท่านเล่าเรื่องนี้

  • ใช้ ภาพที่ 103–115 ใน หนังสือภาพพระกิตติคุณ ช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงบัญชาให้เราทำ เราได้รับพรอย่างไรเมื่อเราเชื่อฟังพระองค์ ช่วยพวกเขาตกแต่งป้ายชื่อที่เขียนว่า ข้าพเจ้าจะไปและทำสิ่งที่พระเจ้าทรงบัญชา (1 นีไฟ 3:7) พูดวลีนี้พร้อมกันหลายๆ ครั้ง

1 นีไฟ 3:19–21; 5:19–22

พระคัมภีร์เป็นสมบัติล้ำค่า

ท่านจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเห็นคุณค่าพระคัมภีร์หรือพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูของบางอย่างที่มีค่าต่อท่านมาก (หรือภาพของสิ่งนั้น) พูดคุยกันว่าท่านปฏิบัติต่อสิ่งนั้นและดูแลอย่างไร อธิบายว่าสำหรับครอบครัวของลีไฮ พระคัมภีร์มีค่ามากเหมือนสมบัติล้ำค่า

  • เชื้อเชิญให้เด็กช่วยท่านเล่าหรือทำท่าประกอบสิ่งที่นีไฟกับพี่ๆ ทำเพื่อให้ได้แผ่นจารึกทองเหลือง: พวกเขาเดินทางไกล สละทองและเงิน ซ่อนตัวอยู่ในถ้ำเพื่อให้ชีวิตรอด อ่าน 1 นีไฟ 5:21 เหตุใดพระคัมภีร์จึงมีค่าต่อครอบครัวของลีไฮมาก เราจะปฏิบัติต่อพระคัมภีร์เหมือนสมบัติล้ำค่าได้อย่างไร

ลีไฮศึกษาแผ่นจารึกทองเหลือง

ลีไฮได้รับแผ่นจารึกทองเหลือง โดย คลาร์ก เคลลีย์ ไพรซ์

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

1 นีไฟ 2:16, 19–20

ฉันสามารถมีประจักษ์พยานของฉันเอง

ท่านเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของนีไฟเกี่ยวกับการมีประจักษ์พยานของท่านเอง ท่านจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากแบบอย่างของนีไฟได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กค้นคว้า 1 นีไฟ 2:16, 19 เพื่อดูว่านีไฟมีประจักษ์พยานในคำพูดของบิดาอย่างไร เชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนการกระทำของนีไฟบนไม้บล็อกหรือวัตถุอื่นแล้วใช้สิ่งเหล่านั้นสร้างบางอย่างเพื่อสื่อความหมายว่าสิ่งเหล่านั้นช่วยเราสร้างประจักษ์พยานอย่างไร

  • เล่าให้เด็กฟังว่าท่านมีประจักษ์พยานในพระกิตติคุณได้อย่างไร ให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์คล้ายกัน และกระตุ้นให้พวกเขาทำตามแบบอย่างของนีไฟในการสร้างประจักษ์พยานอยู่เสมอ การมีประจักษ์พยานของเราเองจะช่วยเราได้อย่างไร

1 นีไฟ 3:1–8

ฉันสามารถตอบรับพระบัญชาจากพระเจ้าด้วยศรัทธา

การทำให้มีเจตคติเหมือนนีไฟจะช่วยเด็กเมื่อพระเจ้าทรงขอให้พวกเขาทำสิ่งที่ดูเหมือนจะทำได้ยาก

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่ม เชื้อเชิญให้กลุ่มหนึ่งอ่านปฏิกิริยาของเลมันกับเลมิวเอลต่อลีไฮ (ดู 1 นีไฟ 3:2–5) และอีกกลุ่มอ่านปฏิกิริยาของนีไฟ (ดู 1 นีไฟ 3:2–7, 7) เชื้อเชิญให้เด็กคนหนึ่งแสดงเป็นลีไฮและขอให้เด็กอีกคนแสร้งทำเป็นว่ากลับไปเยรูซาเล็มเพื่อเอาแผ่นจารึกทองเหลือง เชื้อเชิญให้แต่ละกลุ่มตอบรับด้วยคำพูดของพวกเขาเองประหนึ่งพวกเขาเป็นคนในเรื่องราวที่พวกเขาอ่าน พระบิดาบนสวรรค์ทรงบัญชาให้เราทำสิ่งใดบ้าง เราจะเป็นเหมือนนีไฟได้อย่างไร

  • ร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับการเชื่อฟัง เช่น “ความกล้าหาญของนีไฟ” หรือ “รักษาพระบัญญัติ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 64–65, 68–69) และขอให้เด็กฟังวลีที่สอนว่าเราควรตอบรับพระเจ้าอย่างไร

1 นีไฟ 3–4

พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงนำฉันเมื่อฉันหมายมั่นทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า

นีไฟทำตามพระวิญญาณ “โดยหารู้ล่วงหน้าไม่ถึงสิ่งที่ [เขา] ควรทำ” (1 นีไฟ 4:6) ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กทำท่าประกอบเรื่องราวของนีไฟกับพี่ชายที่พยายามไปเอาแผ่นจารึกทองเหลือง (ดู 1 นีไฟ 3–4) เชื้อเชิญให้เด็กคนหนึ่งอ่าน 1 นีไฟ 4:6 และขอให้ชั้นเรียนฟังว่านีไฟทำอะไรที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ

  • ยกตัวอย่างบางเรื่องที่พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาทำ เช่น ผูกมิตรกับคนที่ดูเหมือนไม่มีเพื่อนที่โรงเรียน ให้อภัยพี่น้อง หรือพูดความจริงหลังจากทำผิด ขอให้เด็กแบ่งปันว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยพวกเขาในสถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างไร เราจะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้ช่วยเราเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์กับครอบครัวเมื่อพวกเขาได้รับพรเพราะรักษาพระบัญญัติ กระตุ้นให้พวกเขาขอให้สมาชิกครอบครัวแบ่งปันประสบการณ์คล้ายกัน

ปรับปรุงการสอนของเรา

ช่วยเด็กเล็กเรียนรู้จากพระคัมภีร์ เพื่อช่วยให้เด็กเล็กเรียนรู้จากพระคัมภีร์ท่านจะเน้นพระคัมภีร์ข้อเดียวหรือแค่วลีสำคัญวลีเดียว ท่านอาจจะให้เด็กลุกขึ้นยืนหรือยกมือเมื่อพวกเขาได้ยินคำหรือวลีนั้น (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 21ด้วย)