จงตามเรามา
19–25 ตุลาคม 3 นีไฟ 27–4 นีไฟ: “ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้”


“19–25 ตุลาคม 3 นีไฟ 27–4 นีไฟ: ‘ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“19–25 ตุลาคม 3 นีไฟ 27–4 นีไฟ” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2020

ภาพ
พระเยซูทรงสวดอ้อนวอนกับชาวนีไฟ

การสวดอ้อนวอนของพระคริสต์ โดย เดอเรค เฮ็กสเตด

19–25 ตุลาคม

3 นีไฟ 274 นีไฟ

“ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้”

ขณะที่ท่านอ่าน 3 นีไฟ 274 นีไฟ ให้พิจารณาประสบการณ์ ความคิด พระคัมภีร์ และเรื่องราวที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจแนวความคิดในบทเหล่านี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ตลอดสามสี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับสิ่งที่พระเยซูทรงสอนผู้คนในแผ่นดินอุดมมั่งคั่ง อธิบายว่าพระคัมภีร์มอรมอนบอกเราว่าผู้คนได้รับพรอย่างไรเมื่อพวกเขาเชื่อฟังสิ่งที่พระเยซูทรงสอน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

3 นีไฟ 27:1–22

ฉันเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์

พระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดต่อสานุศิษย์ของพระองค์จะช่วยให้เด็กเข้าใจความสำคัญของการเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กแต่ละคนบอกชื่อของเขา เหตุใดชื่อของเราจึงสำคัญ บอกพวกเขาว่าเหล่าสานุศิษย์ของพระเยซูต้องการรู้ว่าพวกเขาควรเรียกชื่อศาสนจักรของพระคริสต์ว่าอย่างไร อ่านพระดำรัสตอบของพระผู้ช่วยให้รอดใน 3 นีไฟ 27:7 ให้พวกเขาฟัง พระเยซูตรัสว่าศาสนจักรของพระองค์ควรมีชื่อตามใคร

  • ทำป้ายชื่อที่เขียนว่า “ฉันเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย” ให้เด็กแต่ละคนติดกลับบ้าน ให้เด็กระบายสีป้ายชื่อ ให้ชั้นเรียนร้องเพลง “ศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 48) บอกพวกเขาว่าเหตุใดท่านจึงรู้สึกขอบคุณที่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักร และถามพวกเขาว่าเหตุใดพวกเขาจึงรู้สึกขอบคุณศาสนจักร

  • ช่วยเด็กต่อภาพปริศนาในหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ อธิบายว่าพระเยซูทรงต้องการให้สร้างศาสนจักรของพระองค์บนพระกิตติคุณของพระองค์ และใช้หน้ากิจกรรมพูดคุยกับเด็กว่านั่นหมายความว่าอย่างไร

4 นีไฟ 1:2–3, 15–17

การดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณทำให้ฉันเกิดปีติ

ความสุขของผู้คนที่บรรยายไว้ใน 4 นีไฟ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับปีติที่มาจากการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กพูดถึงสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุข เพื่อบอกเด็กเกี่ยวกับความสุขของผู้คนใน 4 นีไฟ ให้อ่านวลีสำคัญๆ จาก ข้อ 2–3 และ 15–17 ท่านจะพูดถึง “บทที่ 48: สันติในอเมริกา” ได้เช่นกัน (เรื่องราวจากพระคัมภีร์มอรมอน, 136-137 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ChurchofJesusChrist.org) เน้นว่าผู้คนมีความสุขเพราะพวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้า พวกเขาดำเนินชีวิตตามพระบัญญัติและพวกเขารักกัน

  • ให้ดูภาพคนที่มีความสุข อธิบายว่าผู้คนใน 4 นีไฟ มีความสุขเกือบ 200 ปีเพราะพวกเขาทุกคนพยายามดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณอย่างสุดความสามารถ ช่วยให้เด็กนึกถึงพระบัญญัติบางข้อที่พวกเขาเชื่อฟังได้ ตัวอย่างเช่น ท่านจะอ่านจาก 4 นีไฟ 1:15 เพื่อสอนว่าผู้คนไม่ต่อสู้กันอีก เชื้อเชิญให้เด็กทำท่าประกอบการเชื่อฟังพระบัญญัติที่พวกเขานึกถึง ร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับปีติที่มาจากการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เช่น “เมื่อเราช่วยเหลือ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 108)

  • อ่านวลีต่างๆ จาก 4 นีไฟ 1:24–29, 34–35 และ 43 ซึ่งบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชาวนีไฟบางคนหยุดรักษาพระบัญญัติ ขณะอ่าน ให้เด็กทำหน้าเศร้าเมื่อพวกเขาได้ยินบางอย่างที่ฟังแล้วไม่มีความสุข เป็นพยานว่าการรักษาพระบัญญัตินำไปสู่ความสุข

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

3 นีไฟ 27:3–8

ฉันเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์

พิจารณาว่าท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนรับรู้พรอันยิ่งใหญ่ที่มาจากการเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยให้เด็กอ่าน 3 นีไฟ 27:3 โดยมองหาคำถามที่สานุศิษย์ของพระเยซูถามพระองค์ จากนั้นให้พวกเขาหาคำตอบใน 3 นีไฟ 27:5–8 ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ เหตุใดชื่อของศาสนจักรจึงสำคัญ

  • ช่วยให้เด็กนึกถึงกลุ่มต่างๆ ที่พวกเขาเป็นสมาชิก เช่น ครอบครัวหรือชั้นเรียนปฐมวัย ขอให้พวกเขาบอกท่านว่าพวกเขาชอบอะไรเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขอให้พวกเขาช่วยท่านเขียนชื่อศาสนจักรลงในกระดาษแผ่นละคำ จากนั้นให้คละกระดาษและให้เด็กเรียงคำเหล่านี้ให้ถูกต้อง เราได้รับพรอะไรบ้างเพราะเราเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

3 นีไฟ 27:13–22

ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์สร้างบนพระกิตติคุณของพระองค์

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสรุปพระกิตติคุณของพระองค์ไว้ใน 3 นีไฟ 27 พระดำรัสของพระองค์จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้อย่างไรว่าพระกิตติคุณคืออะไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • อธิบายให้เด็กฟังว่า พระกิตติคุณ หมายถึง “ข่าวประเสริฐ” (ดู Bible Dictionary, “Gospels”) ช่วยเด็กค้นคว้า 3 นีไฟ 27:13–15 เพื่อหาบางอย่างที่ฟังเหมือนเป็นข่าวประเสริญสำหรับพวกเขา เหตุใดเราจึงสำนึกคุณที่ได้รู้จักพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

  • เขียนหลักธรรมของพระกิตติคุณบนกระดาน เช่น ศรัทธา การกลับใจ บัพติศมา พระวิญญาณบริสุทธิ์ และ อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เชื้อเชิญให้เด็กค้นคว้า 3 นีไฟ 27:19–21 โดยมองหาคำเหล่านี้หรือคำคล้ายกันในพระดำรัสอธิบายของพระเยซูเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระองค์

  • ขอให้เด็กสมมติว่าเพื่อนคนหนึ่งถามพวกเขาว่าพวกเขาเชื่ออะไรในฐานะสมาชิกของศาสนจักร ช่วยพวกเขาหาความจริงใน 3 นีไฟ 27:13–21 ที่พวกเขาจะแบ่งปันได้เพื่อสรุปสิ่งที่พวกเขาเชื่อ

  • ขอให้เด็กเลือกความจริงพระกิตติคุณหนึ่งข้อที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนไว้ใน 3 นีไฟ 27:13–21 ซึ่งพวกเขาต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม ช่วยให้พวกเขาใช้เชิงอรรถและคู่มือพระคัมภีร์เพื่อหาพระคัมภีร์หนึ่งหรือสองข้อเกี่ยวกับความจริงนั้น เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อพระคัมภีร์ให้กันและบอกว่าพวกเขาเรียนรู้อะไร เหตุใดเราจึงสำนึกคุณที่ได้รู้จักพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

4 นีไฟ

การดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณทำให้ฉันเกิดปีติ

เพราะพวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณ ผู้คนที่บรรยายไว้ใน 4 นีไฟ จึงสามารถสถาปนาสังคมที่มีสันติสุขและความเป็นหนึ่งเดียวกัน เด็กสามารถเรียนรู้อะไรจากคนเหล่านี้

กิจกรรมที่ทำได้

  • เตรียมกระดาษแผ่นเล็กยาวที่เขียนวลีต่างๆ จาก 4 นีไฟ 1:2–3, 5 และ 15–17 ซึ่งพูดถึงพรที่ผู้คนได้รับ (เช่น “ไม่มีความขัดแย้งในแผ่นดิน”) ใส่กระดาษในภาชนะและให้เด็กเลือกคนละหนึ่งแผ่นแล้วอ่าน กระตุ้นให้เด็กหาวลีของพวกเขาในข้อเหล่านี้จาก 4 นีไฟ เราเรียนรู้อะไรจากวลีเหล่านี้ เราเห็นความคล้ายคลึงอะไรบ้างระหว่างข้อเหล่านี้กับนิยามของไซอันใน โมเสส 7:18

  • เพื่อช่วยให้เด็กปฏิบัติสิ่งที่สอนไว้ใน 4 นีไฟ 1:15–16 ท่านจะนำเสนอสถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้คนโกรธกัน ให้พวกเขาแสดงบทบาทสมมติว่าสถานการณ์นั้นน่าจะเป็นอย่างไรถ้าพวกเขาพยายามดำเนินชีวิตโดย “ไม่มีความขัดแย้ง” เหตุใดการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเมื่อเรามี “ความรักของพระผู้เป็นเจ้า” ในใจจึงง่ายกว่า

  • อ่านข้อต่อไปนี้กับเด็กและขอให้พวกเขาหาเหตุผลที่ชาวนีไฟกับชาวเลมันไม่มีสันติและความสุขอีกต่อไป: 4 นีไฟ 1:20, 24–29, 34–35 และ 43 เราจะหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านี้ได้อย่างไร ช่วยให้เด็กค้นพบวิธีที่เราสามารถหลีกเลี่ยงความจองหองโดยทบทวน คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน (2014), หน้า 229–239

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

กระตุ้นให้เด็กตัดสินใจเลือกสิ่งหนึ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อให้บ้านของพวกเขาเกิดสันติและความสุขมากขึ้นและบอกสิ่งนี้กับครอบครัว

ปรับปรุงการสอนของเรา

สนับสนุนบิดามารดาของเด็ก “บิดามารดาเป็นครูสอนพระกิตติคุณที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกๆ—พวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบหลักและพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการมีอิทธิพลต่อลูกๆ ของพวกเขา (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 6:6–7) เมื่อท่านสอนเด็กที่โบสถ์ ให้แสวงหาร่วมกับการสวดอ้อนวอนถึงวิธีสนับสนุนบิดามารดาของพวกเขาในบทบาทสำคัญ” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)

พิมพ์