คลังค้นคว้า
แหล่งช่วย


แหล่งช่วย

ความช่วยเหลือจากพนักงานศาสนจักรและอาสาสมัคร

ศาสนจักรจ้างงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละภาคเพื่อช่วยงานของโครงการพึ่งพาตนเอง บุคคลเหล่านี้ได้แก่ผู้จัดการศูนย์พัฒนาการพึ่งพาตนเองและเจ้าหน้าที่อื่นๆ พนักงานเหล่านี้ ตลอดจนผู้สอนศาสนาอาวุโสเต็มเวลาสามารถช่วยอบรมคณะกรรมการดูแลการพึ่งพาตนเองสเตคในการจัดการให้ข้อคิดทางวิญญาณและกลุ่มการพึ่งพาตนเอง พวกเขายังสามารถช่วยคณะกรรมการระบุและแบ่งปันแหล่งช่วยของชุมชนในท้องที่และศาสนจักร

ภาพ
ประธานมาเรียน จี. รอมนีย์

“หากไม่พึ่งพาตนเองเราจะใช้ความปรารถนาจะรับใช้ที่อยู่ในตัวเราไม่ได้ เราจะให้ได้อย่างไรถ้าไม่มีให้ อาหารสำหรับคนหิวโหยจะมาจากชั้นวางของที่ว่างเปล่าไม่ได้ เงินช่วยเหลือคนขัดสนจะมาจากกระเป๋าที่ว่างเปล่าไม่ได้ การสนับสนุนและความเข้าใจจะมาจากคนที่หิวโหยทางอารมณ์ไม่ได้ การสอนจะมาจากผู้ไม่รู้อะไรเลยไม่ได้ และสำคัญที่สุดคือ การนำทางทางวิญญาณจะมาจากผู้อ่อนแอทางวิญญาณไม่ได้”

แมเรียน จี. รอมนีย์, “คุณลักษณะอันสูงส่งของการพึ่งพาตนเอง,” เลียโฮนา, มี.ค. 2009, 19 

คู่มือ

คู่มือการพึ่งพาตนเองมีออนไลน์ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณและที่ srs.lds.org คู่มือที่จัดพิมพ์เป็นเล่มสามารถสั่งได้ที่ store.lds.org หรือที่ศูนย์หนังสือของศาสนจักร

คู่มือ

ใช้

รหัสสินค้า (สำหรับการสั่ง)

เส้นทางของฉันสู่การพึ่งพาตนเอง

การให้ข้อคิดทางวิญญาณเรื่องการพึ่งพาตนเอง

14068000

รากฐานของฉันสำหรับการพึ่งพาตนเอง

หลักธรรมทางวิญญาณและทักษะ

14067000

(หมายเหตุ: มีอยู่ในสมุดแบบฝึกหัดของแต่ละกลุ่มด้วย)

การเริ่มต้นและขยายธุรกิจของฉัน

สมุดแบบฝึกหัดกลุ่ม

14678000

หางานที่ดีกว่า

สมุดแบบฝึกหัดกลุ่ม

14072000

การศึกษาเพื่อได้งานดีกว่าเดิม

สมุดแบบฝึกหัดกลุ่ม

14066000

การเงินส่วนตัว

สมุดแบบฝึกหัดกลุ่ม

14863000

การเป็นวิทยากรกระบวนการกลุ่ม

การอบรมวิทยากรกระบวนการ

ออนไลน์เท่านั้น

การให้ข้อคิดทางวิญญาณเรื่องการพึ่งพาตนเอง

โดยปกติสมาชิกเริ่มต้นเส้นทางสู่การพึ่งพาตนเองโดยเข้าร่วมการให้ข้อคิดทางวิญญาณ (แต่ไม่จำเป็น) จุลสาร เส้นทางของฉันสู่การพึ่งพาตนเอง สามารถช่วยนำการสนทนาได้

วีดิทัศน์การอบรมและเรื่องราวความสำเร็จ

วีดิทัศน์เนื้อหาการอบรมและเรื่องราวความสำเร็จมีให้ชมทางออนไลน์ที่ srs.lds.org/videos

ศูนย์ข้อมูลการพึ่งพาตนเอง

สเตคอาจตัดสินใจจัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพึ่งพาตนเองเพื่อตอบรับความต้องการนอกเหนือจากกลุ่มการพึ่งพาตนเอง ตัวอย่างเช่น “ศูนย์” อาจเป็นอาคารสถานที่ซึ่งใช้ร่วมกับศูนย์ประวัติครอบครัวและอาจมีคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเหลือสมาชิก “ศูนย์” อาจเป็นหน่วยงานเชื่อมโยงสมาชิกกับโอกาสในท้องที่และแหล่งช่วยทางออนไลน์ ถ้าศูนย์เป็นอาคารสถานที่ สเตคแต่ละแห่งจะตัดสินใจว่าศูนย์จะเปิดทำการบ่อยเพียงใดและจัดเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างไร

คำถามให้คณะกรรมการพิจารณา

  • บุคคลและครอบครัวในพื้นที่ของเรามีความต้องการอะไรบ้างในด้านการพึ่งพาตนเอง

  • เราจะสนับสนุนอธิการ โควรัม และสมาคมสงเคราะห์ได้อย่างไรในบทบาทของการดูแลคนยากจนและคนขัดสน

  • เราจะช่วยอธิการและสภาวอร์ดได้ดีขึ้นอย่างไรในการระบุและเชื้อเชิญให้ผู้คนมีส่วนร่วมในความพยายามด้านการพึ่งพาตนเองของเรา

  • เราจะทำอะไรได้บ้างระหว่างและหลังสนทนาในกลุ่มการพึ่งพาตนเองเพื่อสนับสนุนผู้เข้าร่วมได้ดีขึ้น

  • เราจะให้ความช่วยเหลือได้ดีขึ้นอย่างไรแก่คนที่เข้าร่วมกลุ่มการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือเข้าร่วมไม่ได้จนจบ

  • เราจะใช้ประโยชน์จากพรสวรรค์ ทักษะ และความเชี่ยวชาญของสมาชิกในพื้นที่ของเราได้ดีขึ้นอย่างไร

  • แหล่งช่วยเหลือของศาสนจักรหรือชุมชนประเภทใดที่สมาชิกของเราต้องการ เราควรพัฒนาและแบ่งปันแหล่งช่วยเหลือเหล่านี้อย่างไร

  • เราจะใช้ความพยายามด้านการพึ่งพาตนเองของเราสนับสนุนลำดับความสำคัญของสเตคและวอร์ดได้อย่างไร (ตัวอย่างเช่น งานเผยแผ่ศาสนา การทำให้สมาชิกกลับมาแข็งขัน หนุ่มสาวโสด หรือเยาวชน)

  • หากมี เราจะช่วยผู้รับกองทุนต่อเนื่องเพื่อการศึกษาให้สำเร็จการศึกษาและชำระคืนเงินกู้ได้อย่างไร

พิมพ์