เซมินารี
ลูกา 3:7–14


ลูกา 3:7–14

ปีติของการกลับใจ

ภาพ
Woman pondering with a view.

วิธีหนึ่งที่ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาช่วยผู้คนเตรียมรับพระเยซูคริสต์คือเชื้อเชิญให้พวกเขากลับใจ บทเรียนนี้มีเจตนาช่วยให้ท่านเข้าใจการกลับใจและปีติที่เกิดจากการกลับใจเป็นประจำได้ดียิ่งขึ้น

อะไรนำปีติมาสู่ท่าน?

ตรึกตรองถึงสิ่งที่นำปีติมาสู่ท่าน ท่านอาจทำรายการตัวอย่างมากที่สุดเท่าที่ท่านทำได้ใน 30 วินาที

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนดังต่อไปนี้ว่าเราจะได้รับปีติในชีวิตของเราได้อย่างไร:

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

เมื่อเราเลือกกลับใจ เราเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง! เรายอมให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปลี่ยนเราเป็นตัวเราเองในแบบที่ดีที่สุด เราเลือกเติบโตทางวิญญาณและรับปีติ—ปีติแห่งการไถ่ในพระองค์

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 67)

การกลับใจคือการเปลี่ยนแปลงโดยหันไปจากบาปและเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นโดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “กลับใจ (การ),” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

  • ท่านใส่การกลับใจไว้ในรายการสิ่งที่นำปีติมาสู่ท่านหรือไม่? ใส่เพราะเหตุใดหรือไม่ใส่เพราะเหตุใด?

  • ถ้าท่านไม่ได้นึกถึงการกลับใจว่าเป็นสิ่งที่นำปีติมาสู่ท่าน ความรู้สึกหรืออารมณ์ใดที่เกิดขึ้นเมื่อท่านนึกถึงการกลับใจ? เพราะเหตุใด?

  • เหตุใดคนบางคนอาจไม่รู้สึกปีติในทันทีเสมอไปขณะกลับใจ?

ไตร่ตรองคำถามที่ท่านอาจมีเกี่ยวกับการกลับใจ ในช่วงหลังของบทเรียนท่านจะมีโอกาสค้นหาคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้

“จงกลับใจใหม่ … จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า”

เพื่อช่วยเตรียมผู้คนให้รับพระเยซูคริสต์ ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาจึงเชื้อเชิญให้พวกเขากลับใจ (ดู มัทธิว 3:1–3)

ในบทเรียนก่อนหน้านี้ ท่านศึกษาว่ามาระโกและมัทธิวบันทึกเรื่องใดเกี่ยวกับยอห์นผู้ถวายบัพติศมา ลูการวมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยอห์น อ่าน ลูกา 3:10–14 โดยค้นหาว่ายอห์นช่วยให้ผู้คนกลับใจอย่างไร

  • ยอห์นเชื้อเชิญให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงอะไร?

  • การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้คนหันจากบาปอีกทั้งเตรียมยอมรับและติดตามพระเยซูคริสต์อย่างไร?

ศึกษาข้อความต่อไปนี้ของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ขณะทำเช่นนั้น ให้ใส่ใจกับสิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์กำลังสอนท่านเกี่ยวกับการกลับใจและพระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

มีคนมากมายถือว่าการกลับใจเป็นการลงโทษ—เป็นบางสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงยกเว้นในสภาวการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด แต่ความรู้สึกว่าต้องได้รับโทษนั้นมาจากซาตาน เขาพยายามบังเราไม่ให้มองไปที่พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงยืนกางพระพาหุ ทรงหวังและเต็มพระทัยเยียวยา ให้อภัย ชำระล้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง ทำให้บริสุทธิ์ และชำระเราให้บริสุทธิ์

คำว่า การกลับใจ ในพันธสัญญาใหม่ภาษากรีกคือ metanoeo คำนำหน้า meta หมายถึง “เปลี่ยนแปลง” คำเสริมท้าย -noeo เกี่ยวข้องกับคำภาษากรีกที่หมายถึง “ความนึกคิด” “ความรู้” “วิญญาณ” และ “ลมหายใจ”

ดังนั้นเมื่อพระเยซูทรงขอให้ท่านกับข้าพเจ้า “กลับใจ” [ลูกา 13:3, 5] พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้เราเปลี่ยนความนึกคิด ความรู้ วิญญาณ—แม้แต่วิธีที่เราหายใจ พระองค์ทรงขอให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีที่เรารัก คิด รับใช้ ใช้เวลา ปฏิบัติต่อภรรยา สอนลูกๆ และแม้แต่วิธีที่เราดูแลร่างกายของเรา

ไม่มีสิ่งใดเป็นอิสระ มีเกียรติ หรือสำคัญต่อความก้าวหน้าของเรามากไปกว่าการมุ่งเน้นที่การกลับใจทุกวันอย่างสม่ำเสมอ การกลับใจไม่ใช่เหตุการณ์ แต่เป็นกระบวนการ เป็นกุญแจสู่ความสุขและจิตใจที่สงบ เมื่อร่วมกับศรัทธา การกลับใจเปิดประตูสู่พลังแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ไม่ว่าท่านกำลังเคลื่อนไปตามทางแห่งพันธสัญญาอย่างขยันหมั่นเพียร ลื่นถลำหรือก้าวออกนอกทาง หรือเวลานี้ท่านอยู่ในจุดที่มองไม่เห็นทาง ข้าพเจ้าวิงวอนให้ท่านกลับใจ ประสบพลังเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกลับใจทุกวัน—ทำดีและเป็นคนดีขึ้นทีละน้อยในแต่ละวัน

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 67)

  • ท่านเห็นอะไรที่เด่นชัดจากคำสอนของประธานเนลสันเกี่ยวกับการกลับใจและพระเยซูคริสต์?

  • ท่านเห็นพรของการกลับใจในตัวท่านหรือผู้อื่นเมื่อใด?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงมีความหวังมากว่าเราจะกลับใจและเต็มพระทัยมากที่จะให้อภัยเรา?

ในอีกหลายนาทีต่อจากนี้ ท่านจะเลือกและศึกษาลักษณะเฉพาะด้านหนึ่งของการกลับใจซึ่งจะช่วยให้ท่านเข้าใกล้และเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น เข้าถึงพลังอำนาจและสันติสุขของพระองค์มากขึ้น และรู้สึกถึงปีติมากขึ้น ต่อไปนี้เป็นลักษณะเฉพาะของการกลับใจที่ท่านอาจต้องการศึกษา เลือกหนึ่งลักษณะในนี้เพื่อศึกษาหรือศึกษาคำถามของท่านเองเกี่ยวกับหัวข้อการกลับใจ

  • ฉันจะกลับใจได้อย่างไร?

  • ฉันจะหาปีติเพิ่มเติมในการกลับใจได้อย่างไร?

  • ฉันสามารถเอาชนะความกลัวการกลับใจได้อย่างไร?

  • การมุ่งเน้นการกลับใจเป็นประจำทุกวันอาจต้องทำอย่างไร หรือจะทำให้ชีวิตฉันเป็นอย่างไร?

ข้อมูลต่อไปนี้เป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะบางประการที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจการกลับใจได้ลึกซึ้งขึ้น มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org หรือในแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ แหล่งข้อมูลเหล่านี้และแหล่งข้อมูลอื่นๆ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาลักษณะของการกลับใจที่ท่านเลือกไว้ ท่านอาจจดบันทึกและระบายสีเน้นรายละเอียดที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุด

  • เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน [จุลสาร, 2011], “การกลับใจ,” 28–29

  • หัวข้อพระกิตติคุณ, “Repentance,” “Forgiveness,” topics.ChurchofJesusChrist.org

  • &#160

  • คู่มือพระคัมภีร์, “กลับใจ (การ),” scriptures.ChurchofJesusChrist.org

  • คำปราศรัยการประชุมใหญ่สามัญ เช่น รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 67–69

  • เดล จี. เรนลันด์, “การกลับใจ: การเลือกอันน่าปีติยินดี,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 121–124

1.

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากการศึกษาของท่าน?

  • ท่านจะให้คำแนะนำอะไรกับคนที่พยายามเข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องกลับใจ? ท่านอยากให้พวกเขารู้และเข้าใจเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์อย่างไร?

  • สิ่งใดที่ช่วยให้ท่านพัฒนาหรือเพิ่มความเข้มแข็งให้ประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับปีติของการกลับใจผ่านพระเยซูคริสต์?

ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?

ลูกา 3:7. เหตุใดยอห์นจึงเรียกผู้คนว่า “พวกชาติงูร้าย”?

งูพิษปาเลสไตน์คืองูพิษที่พบได้บ่อยที่สุดในอิสราเอล งูพิษเป็นสัตว์ที่ตื่นตอนกลางคืนและโดยปกติจะหากินโดยซ่อนตัวและจากนั้นแอบเข้าไปจับเหยื่อ เมื่อพวกมันรู้สึกว่าถูกคุกคาม งูพิษจะขดตัว ขู่ฟ่อ และฉกศัตรูของมัน ในทำนองเดียวกัน พวกฟาริสีและสะดูสีรู้สึกว่าพวกเขาถูกยอห์นคุกคามเพราะเขาดึงผู้คนจำนวนมากไปจากคำสอนเท็จของพวกเขา

ลูกา 3:8. “การกลับใจด้วยผลที่เกิดขึ้น” คืออะไร?

ในพระคัมภีร์ บางครั้งประเภทของผู้คนมีสัญลักษณ์เป็นต้นไม้ที่ให้ผลดีหรือผลไม่ดี การ “พิสูจน์การกลับใจด้วยผลที่เกิดขึ้น” หมายถึงการเปลี่ยนความปรารถนาและการกระทำของเราเพื่อปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า

ลูกา 3:12. คนเก็บภาษีคือใคร?

ในกรุงโรมสมัยโบราณมีคนเก็บภาษีให้แก่รัฐบาลโรมัน โดยทั่วไปคนเก็บภาษีถูกชาวยิวเกลียดชังเพราะผู้คนมองพวกเขาว่าเป็นคนทรยศต่อประชาชาติตนเองและเพราะคนเก็บภาษีมักจะเก็บเงินภาษีมากกว่าที่จำเป็น (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ลูกา 3:19–20 [ในภาคผนวกของพระคัมภีร์ไบเบิล]; ลูกา 3:12–13) คนเก็บภาษีบางคนยอมรับพระกิตติคุณด้วยความเต็มใจ (ดู มัทธิว 9:9–10; ลูกา 19:1–10; คู่มือพระคัมภีร์, “คนเก็บภาษี,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

การกลับใจช่วยเราให้รอดหรือไม่?

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

การกลับใจอย่างเดียวไม่ได้ช่วยมนุษย์ให้รอด พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ที่ช่วยเราให้รอด ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่จริงใจและซื่อสัตย์อย่างเดียวที่ช่วยเรารอดแต่ “โดยพระคุณนั่นเองที่เราได้รับการช่วยให้รอด, หลังจากเราทำทุกสิ่งจนสุดความสามารถแล้ว” (2 นีไฟ 25:23) อย่างไรก็ตาม การกลับใจอย่างแท้จริงเป็นเงื่อนไขจำเป็นเพื่อการให้อภัยของพระผู้เป็นเจ้าจะเข้ามาในชีวิตเราได้ การกลับใจอย่างแท้จริงทำให้เกิด “วันสว่างสดใสออกจากคืนที่มืดมิด” (Spencer W. Kimball, The Miracle of Forgiveness [1969], 362)

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “จุดกลับที่ปลอดภัย,” เลียโฮนา พ.ค. 2007,125)