เซมินารี
มัทธิว 5:17–47


มัทธิว 5:17–47

กฎที่สูงกว่า

Jesus Christ in Sermon on the Mount

ขณะพระเยซูคริสต์ยังทรงเทศนาบนภูเขา พระองค์ทรงสอนว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อทำให้กฎของโมเสสเกิดสัมฤทธิผลอย่างไร และพระองค์ทรงแนะนำกฎที่สูงกว่าของพระกิตติคุณ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านดำเนินชีวิตตามกฎที่สูงกว่าของพระคริสต์ได้เพื่อจะเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้น

พระเยซูทรงสอนกฎที่สูงกว่าของพระกิตติคุณ

  • เมื่อใดที่ท่านอยู่ในพื้นที่สูงกว่าจะช่วยให้การมองของท่านดีขึ้น?

  • ท่านสามารถเห็นอะไรในเวลานั้นที่ท่านไม่เห็นมาก่อน?

ทัศนวิสัยจากพื้นที่สูงกว่าสามารถให้มุมมองที่กว้างขึ้นแก่เราฉันใด พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนกฎที่สูงกว่าแก่สานุศิษย์ของพระองค์เพื่อให้พวกเขามีมุมมองที่กว้างขึ้นฉันนั้น มุมมองที่กว้างขึ้นนี้สามารถช่วยให้เราเป็นเหมือนพระองค์และพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้นใน มัทธิว 5:17–20 พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อทำให้กฎของโมเสสเกิดสัมฤทธิผล—ไม่ใช่เพื่อขจัดความจริงนิรันดร์ข้อใดในกฎนั้น พระเยซูคริสต์ทรงฟื้นฟูความสมบูรณ์แห่งพระกิตติคุณที่สูญหายไปเนื่องจากความชั่วร้ายและการละทิ้งความเชื่อ พระองค์ทรงแก้ไขคำสอนเท็จและทำให้คำพยากรณ์ของศาสดาพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมเกิดสัมฤทธิผล มัทธิว 5:21–47 มีคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับกฎและประเพณีต่างๆ ที่ชาวยิวพัฒนาภายใต้กฎของโมเสส ในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ พระเยซูคริสต์ทรงอธิบายความหมายที่แท้จริงของกฎของโมเสสและทรงสอนวิถีแห่งความชอบธรรมที่สูงกว่า

อ่าน มัทธิว 5:38–42 โดยมองหาตัวอย่างหนึ่งของพระบัญญัติจากกฎของโมเสสและกฎที่สูงกว่าที่พระเยซูทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ซึ่งมาแทนที่พระบัญญัตินั้น

  • อะไรคือหนึ่งอย่างที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎของโมเสสหรือประเพณีอื่นๆ ที่ผู้คนสถาปนาไว้?

  • กฎที่สูงกว่าข้อใดที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานให้มาแทนที่?

  • การดำเนินชีวิตตามกฎที่สูงกว่านี้จะช่วยบุคคลเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์มากกว่ากฎเดิมอย่างไร?

Writing on a piece of paper with a pen or pencil. 1. พิจารณาสภาวการณ์ส่วนตัวของท่านและเลือกทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน

กิจกรรม ก: ฉันจะควบคุมความโกรธได้อย่างไร?

ใคร่ครวญถึงครั้งสุดท้ายที่ท่านโกรธ

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการควบคุมความโกรธจึงสำคัญ?

อ่าน มัทธิว 5:21–24 โดยมองหากฎที่สูงกว่าที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเกี่ยวกับความโกรธ

  • ท่านจะพิจารณาทำเครื่องหมายอะไรในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้หรือไม่? หากใช่ เพราะเหตุใด?

 

Former Official Portrait of Elder Lynn G. Robbins. Photographed March 2017. Replaced October 2019 (with Telescope ID: 2298123)

ประธานโธมัส เอส. มอนสัน (1927–2018) ชี้แจงบทบาทในการควบคุมความโกรธของเรา

Official portrait of President Thomas S. Monson, 2008.

ความโกรธคือการยอมต่ออิทธิพลของซาตาน ไม่มีใครจะ ทำให้ เราโกรธได้ นี่คือการเลือกของเรา หากเราอยากมีวิญญาณที่ถูกต้องอยู่กับเราตลอดเวลา เราต้องเลือกระงับความโกรธ ข้าพเจ้าเป็นพยานว่านั่นอยู่ในวิสัยที่ทำได้

(โธมัส เอส. มอนสัน, “จงฝึกความรู้สึกท่าน โอ พี่น้องข้าพเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 78)

หากท่านเลือกกิจกรรม ก ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างของการดำเนินพระชนม์ชีพตามกฎที่สูงกว่านี้ในวิธีใดบ้าง?

  • ท่านสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อใช้พลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดมาช่วยท่านดำเนินชีวิตตามกฎที่สูงกว่านี้?

กิจกรรม ข: เหตุใดฉันจึงควรขจัดความคิดที่มีตัณหาราคะออกไป?

A dandelion weed.
  • จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ถอนวัชพืชออกจากสวน?

  • ความคิดที่ไม่เหมาะสมในใจเราอาจเหมือนวัชพืชในสวนอย่างไร?

อ่าน มัทธิว 5:27–28 โดยมองหาบาปที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนเรา

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสนทนาถึงความร้ายแรงของบาปอันเกิดจากตัณหาราคะดังนี้

Official Portrait of Elder Jeffrey R. Holland. Photographed January 2018.

เหตุใดตัณหาราคะจึงเป็นบาปหนัก นอกเหนือจากผลกระทบร้ายแรงต่อจิตวิญญาณเราในการขับไล่พระวิญญาณออกไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นบาปเพราะสิ่งนี้แปดเปื้อนสัมพันธภาพสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้เราในความเป็นมรรตัย นั่นคือ ความรักที่ชายและหญิงมีให้กันและความปรารถนาที่คู่สามีภรรยานั้นจะนำลูกๆ มาสู่ครอบครัวที่เจตนาให้เป็นนิรันดร์ … ความรักทำให้เราเอื้อมไปหาพระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่นโดยสัญชาตญาณ ตัณหาไม่ได้เป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้าแต่กลับเชิดชูการหมกมุ่นกับตนเอง ความรักทำให้เราเปิดใจและอ้าแขนรับผู้คน แต่ตัณหาราคะทำให้เรามีแต่ความหิวกระหาย

(เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “ไม่มีที่แก่ศัตรูของจิตวิญญาณข้าพเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 55)

เราสามารถกำจัดวัชพืชออกจากสวนฉันใด เราก็สามารถขจัดความคิดที่ไม่บริสุทธิ์ออกจากจิตใจเราได้ฉันนั้น อ่าน มัทธิว 5:29–30   งานแปลของโจเซฟ สมิธ สำหรับ มัทธิว 5:33–34 อธิบายว่าพระเยซูประทานพระคัมภีร์ข้อนี้ในคำอุปมาเกี่ยวกับบาปของเราและว่าเราควรขับบาปของเราออกไปจากตัวเรา เพื่อเราจะได้ไม่ถูกโค่นและโยนเข้าไปในไฟ ท่านอาจทำเครื่องหมายสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอน

  • ท่านอ่านอะไรที่โดดเด่นสำหรับท่าน? ท่านมีคำถามอะไรเกี่ยวกับข้อพระคัมภีร์เหล่านี้?

2:3

จงระวังย่างก้าวของท่าน

ดูว่าการตัดสินใจชั่ววูบสามารถมีผลกระทบยาวนานอย่างไร—ทั้งดีหรือไม่ดี

หากท่านเลือกกิจกรรม ข ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • การขจัดบาปออกจากชีวิตเราอาจเหมือนการควักดวงตาหรือการตัดมืออย่างไร?

  • เราอาจพบปัญหาใดบ้างหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระผู้ช่วยให้รอดในการขจัดบาปออกจากชีวิตเรา?

  • ท่านสามารถทำอะไรได้บ้างในการดึงพลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อช่วยท่านขจัดความคิดที่มีตัณหาราคะหรือไม่เหมาะสม?

กิจกรรม ค: ฉันควรปฏิบัติต่อคนที่เราเข้ากันไม่ได้อย่างไร?

นึกถึงบุคคลที่ท่านเข้ากันไม่ค่อยได้

  • ท่านคิดว่าการมีความรู้สึกที่ไร้เมตตากับบุคคลนี้มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์อย่างไร?

อ่าน มัทธิว 5:43–47 โดยมองหากฎที่สูงกว่าซึ่งพระเยซูทรงสอนที่อาจช่วยท่านได้

  • ถ้อยคำหรือวลีใดสะดุดใจท่าน? ท่านคิดว่าเหตุใดถ้อยคำหรือวลีเหล่านี้จึงสำคัญ?

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟอธิบายว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านอาจต้องการดูวีดิทัศน์ “ผู้มีใจกรุณาย่อมได้รับพระกรุณา” จากช่วงเวลา 10:46 ถึง 11:57 มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org หรืออ่านข้อความด้านล่าง

16:47

The Merciful Obtain Mercy

When our hearts are filled with the love of God, we become “kind one to another, tenderhearted, forgiving.”

Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

ดังที่เป็นมาเสมอ พระคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างให้เรา ในคำสอนและพระชนม์ชีพของพระองค์ พระองค์ทรงแสดงทางนั้นให้เราเห็น พระองค์ทรงให้อภัยคนชั่วร้าย คนหยาบคาย คนที่หมายมั่นจะทำร้ายและทำอันตรายพระองค์

พระเยซูตรัสว่าเป็นการง่ายที่จะรักคนที่รักเรา แม้คนชั่วก็ยังทำ ได้ แต่พระเยซูคริสต์ทรงสอนกฎที่สูงกว่า พระวจนะของพระองค์ก้องกังวานตลอดมาหลายศตวรรษและยังมีความสำคัญสำหรับเราจนทุกวันนี้ พระวจนะของพระองค์มีความสำคัญต่อทุกคนที่ปรารถนาจะเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ พระวจนะของพระองค์มีความสำคัญสำหรับท่านและข้าพเจ้า “จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน” [มัทธิว 5:44; ดู ข้อ 45–47 ด้วย]

เมื่อใจของเราเปี่ยมด้วยความรักของพระผู้เป็นเจ้า เรามี “เมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรด [อภัยโทษให้เรา] ในพระคริสต์” [เอเฟซัส 4:32]

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ผู้มีใจกรุณาย่อมได้รับพระกรุณา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 76)

หากท่านเลือกกิจกรรม ค ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงรู้สึกอย่างไรกับผู้ที่ปฏิบัติต่อพระองค์อย่างไร้เมตตา?

  • ท่านมีประสบการณ์อะไรบ้างในการพยายามรักศัตรูของท่านหรือสวดอ้อนวอนให้แก่ผู้ที่ไร้เมตตาต่อท่าน?

  • ท่านคิดว่าท่านสามารถทำอะไรได้บ้างในการดึงพลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อช่วยให้ท่านรักศัตรูของท่าน

ดำเนินชีวิตตามกฎที่สูงกว่า

ไตร่ตรองว่าองค์ประกอบอะไรของกฎที่สูงกว่าที่ท่านรู้สึกว่าต้องมุ่งเน้นในการดำเนินชีวิต ท่านอาจทูลขอการให้อภัยและความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ขณะท่านพยายามกลับใจและดำเนินชีวิตตามกฎนี้ ขอการนำทางจากพระวิญญาณเพื่อรู้ว่าต้องทำอะไร ท่านอาจต้องการพูดคุยกับพ่อแม่ของท่าน อธิการ หรือผู้นำศาสนจักรคนอื่นเพื่อพวกเขาจะช่วยเหลือท่านดำเนินชีวิตตามกฎนี้ได้

ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?

มัทธิว 5:18. อักษรและขีดคืออะไร?

อักษรคือพยัญชนะที่เล็กที่สุดในอักษรฮีบรู ขีดคือเครื่องหมายเล็กๆ ที่แสดงถึงการออกเสียงที่แตกต่างกันของคำในภาษาเขียน พระผู้ช่วยให้รอดทรงอ้างถึงองค์ประกอบการเขียนเหล่านี้เพื่อแสดงว่าพระองค์จะทรงทำให้กฎของโมเสสทุกส่วนจนถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุดเกิดสัมฤทธิผล

มัทธิว 5:22. null

null

มัทธิว 5:27–28. การล่วงประเวณีคืออะไร?

การล่วงประเวณีคือเมื่อคนสองคนมีความสัมพันธ์ทางเพศขณะที่คนหนึ่งหรือทั้งสองคนแต่งงานกับคนอื่น (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ล่วงประเวณี (การ),” scriptures.ChurchofJesusChrist.org.)

มัทธิว 5:43. คำกล่าวที่ว่า “จงรักเพื่อนบ้านของท่านและเกลียดชังศัตรูของท่าน” มาจากไหน?

พระบัญญัติให้ “รักเพื่อนบ้านของท่าน” มีอยู่ใน เลวีนิติ 19:18 แต่ไม่มีพระคัมภีร์ในพันธสัญญาเดิมที่บัญชาให้เราเกลียดศัตรูของเรา ดูเหมือนว่าพระผู้ช่วยให้รอดรับสั่งถึงคำกล่าวโดยทั่วไปในยุคสมัยของพระองค์