โรม 1
“ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ”
ไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่ง เราทุกคนจะต้องยืนหยัดในสิ่งที่เราเชื่อ เปาโลประกาศต่อวิสุทธิชนที่อาศัยอยู่ในกรุงโรมว่าเขา “ไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ” ( โรม 1:16) ความกระตือรือร้นของเขาที่จะแบ่งปันข่าวสารของพระกิตติคุณนั้นเป็นหลักฐาน บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านไม่มีความละอายที่จะเป็นที่รู้จักในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์
ท่านทราบอะไรอยู่แล้วบ้าง?
ลองจินตนาการว่าท่านบอกเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวคริสต์ที่มีความเชื่ออื่นว่า ท่านกำลังศึกษาพันธสัญญาใหม่ในเซมินารี เธอบอกท่านว่า เธอชอบพันธสัญญาใหม่แต่บางครั้งก็ประสบปัญหาในการทำความเข้าใจสาส์นต่างๆ เธอถามท่านว่าท่านทราบอะไรบ้าง ตอบคำถามต่อไปนี้เพื่อดูว่าท่านสามารถตอบเธอได้ดีเพียงใด
ตอบคำถามในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน คำตอบที่ถูกต้องจะอยู่ตอนท้ายของบทเรียน
-
สาส์นคืออะไร?
-
ถ้อยคำจากศาสดาพยากรณ์ซึ่งเป็นข้อประกาศอย่างเป็นทางการของศาสนจักร
-
คำปราศรัยของผู้นำศาสนจักรที่เก็บรวบรวมไว้เป็นเวลาหลายปี
-
จดหมายหลายฉบับที่ผู้นำศาสนจักรเขียนถึงวิสุทธิชนทั้งหลาย
-
-
ใครเป็นผู้เขียนสาส์น 14 ฉบับจากทั้งหมด 21 ฉบับที่รวมอยู่ในพันธสัญญาใหม่?
-
เปโตร
-
เปาโล
-
ลูกา
-
-
สาส์น 13 ฉบับแรกมีการจัดระเบียบอย่างไร?
-
ตามลำดับเวลา (ณ เวลาที่เขียน)
-
ตามความสำคัญ
-
ตามความยาว
-
-
มีใครอีกบ้างที่เป็นผู้เขียนสาส์น?
-
ยากอบ เปโตร ยอห์น และยูดา
-
ยากอบ เปโตร ยอห์น และสเทเฟน
-
ยากอบ เปโตร ยอห์น และทิโมธี
-
สาส์นถึงชาวโรมัน
หนังสือโรมเป็นสาส์นที่เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนในกรุงโรมใกล้กับช่วงสิ้นสุดการเดินทางเผยแผ่ศาสนาของเขา กรุงโรม—เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน—เต็มไปด้วยปรัชญาทางโลกและเป็นสถานที่ซึ่งยากต่อการสั่งสอนและดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนชาวโรมันเพื่อเสริมสร้างศรัทธา เตรียมพวกเขาสำหรับการมาถึงของเขา เพื่อชี้แจงและปกป้องคำสอนของเขา และเพื่อส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชาวยิวกับสมาชิกคนต่างชาติของศาสนจักร
ขณะที่ท่านศึกษา โรม 1 ให้มองหาความจริงที่สามารถกระตุ้นท่านได้ขณะท่านมุ่งมั่นที่จะเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์
ข้าพเจ้าไม่มีความละอาย
. .
อ่าน โรม 1:15–17 โดยมองหาว่าเปาโลรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระคริสต์ ท่านอาจทำเครื่องหมายที่ถ้อยคำหรือวลีในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ที่ท่านพบว่าเปี่ยมไปด้วยความหมาย
ท่านอาจทำเครื่องหมายที่ถ้อยคำนี้ “ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ” ใน โรม 1:16
-
จากสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับเปาโลในหนังสือกิจการของอัครทูต เขาได้แสดงตนว่าเขาไม่มีความละอายกับการเป็นที่รู้จักในฐานะชาวคริสต์อย่างไร?
-
ในปัจจุบันนี้มีสถานการณ์ใดบ้างที่เยาวชนจะต้องเผชิญ ซึ่งพวกเขาจะต้องยืนหยัดและไม่มีความละอายต่อพระกิตติคุณของพระคริสต์?
เปาโลทราบว่าโรมเป็นสถานที่ยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตและสั่งสอนพระกิตติคุณ และเขายังต้องเผชิญกับการคัดค้านจากผู้ที่เข้าใจผิดหรือปฏิเสธคำสอนของเขาด้วย อย่างไรก็ตาม เปาโลกระตือรือร้นที่จะเดินทางไปยังโรมและสั่งสอนที่นั่นเพื่อนำผู้อื่นมาหาพระคริสต์ (ดู โรม 1:15)
ลองนึกถึงประสบการณ์ที่ท่านเคยมีโอกาสยืนหยัดหรือแบ่งปันศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์ เฉกเช่นเปาโล เขียนรายการสั้นๆ ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน เขียนความคิดและความรู้สึกของท่านว่า ท่านต้องการแบ่งปันศรัทธาในสถานการณ์เหล่านั้นมากเพียงใด
-
เหตุใดเยาวชนคนหนึ่งจึงอาจรู้สึกละอายกับการเป็นที่รู้จักในฐานะชาวคริสต์? พวกเขาจะทำอะไรได้บ้างหากมีความคิดหรือความรู้สึกเหล่านั้น?
ตัวอย่างจากพระคัมภีร์และตัวอย่างในยุคสมัยใหม่
ทบทวนตัวอย่างต่อไปนี้เกี่ยวกับผู้คนที่ไม่มีความละอายที่จะทำให้ศรัทธาของตนในพระผู้เป็นเจ้าเป็นที่รู้จัก นึกถึงสถานการณ์ที่ผู้คนเหล่านั้นประสบ และมองหาความคล้ายคลึงกันระหว่างชีวิตของผู้คนเหล่านั้นกับชีวิตท่านเอง
-
เมื่อผู้อื่นตัดสินท่าน: สตรีผู้ชำระล้างพระบาทของพระเยซูด้วยน้ำตาของเธอ ( ลูกา 7:36–50)
-
เมื่อท่านจำเป็นต้องยืนหยัดต่อสหายของท่าน: อบินาไดและแอลมา ( โมไซยาห์ 13:1–9 ; 17:1–4 ; 18:1–3)
-
.
-
ท่านประทับใจอะไรจากตัวอย่างเหล่านี้?
-
บุคคลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ละอายต่อพระกิตติคุณของพระคริสต์อย่างไร?
-
ผู้ใดในชีวิตของท่านเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่มีความละอายในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์? พวกเขาแสดงศรัทธาของตนอย่างไร?
โรม 1:15–17 บอกเราว่า ความกระตือรือร้นของเปาโลที่มีต่อพระกิตติคุณของพระคริสต์ส่วนหนึ่งมาจากความเข้าใจของเขาว่า “[พระกิตติคุณ] เป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด” สำหรับบุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะเปาโลทราบว่าไม่มีใครจะรอดได้หากปราศจากพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เขาจึงต้องการแบ่งปันกับทุกคน
1. ตอบคำถามต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:
-
การจดจำว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเคยทำอะไรให้ท่าน ช่วยให้ท่านไม่มีความละอายต่อพระองค์และพระกิตติคุณของพระองค์ได้อย่างไร?
-
แม้อาจมีบางครั้งที่เราได้รับเรียกให้ปกป้องศรัทธาของเราด้วยวิธีที่ยิ่งใหญ่หรือประจักษ์แจ้ง แต่โดยส่วนใหญ่ศรัทธาของเราจะแสดงได้ดีที่สุดด้วยวิธีที่เล็กน้อยและเรียบง่าย (ดู แอลมา 37:6–7) การ “ไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ” อาจเป็นอย่างไร ฟังดูอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไรในชีวิตประจำวันของท่าน?
-
จงเติมประโยคต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ เพราะว่า …
คำตอบของคำถาม:
(1) ค; (2) ข; (3) ค; (4)ก
ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?
ฉันจะแบ่งปันประจักษ์พยานของฉันในวิธีที่ปกติและเป็นธรรมชาติได้อย่างไร?
เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:
ข้าพเจ้าทราบดีว่าพวกเราบางคนชอบเข้าสังคมมากกว่าคนอื่น ไม่เป็นไร พระเจ้าทรงทำให้เป็นไปได้ที่เราแต่ละคนจะเชื้อเชิญให้ผู้อื่น มาดู และ มาช่วย ด้วยวิธีของเราเอง แล้วพระผู้เป็นเจ้าก็จะทรงปฏิบัติงานความรอดของพระองค์ แล้วพวกเขาก็จะ มาอยู่
ขอแนะนำห้าสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้เพื่อมีส่วนร่วมในภารกิจอันสำคัญยิ่งของพระผู้ช่วยให้รอดในการช่วยรวมอิสราเอล
1. เข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า …
2. เติมใจท่านด้วยความรักที่มีต่อผู้อื่น …
3. พยายามเดินบนเส้นทางแห่งการเป็นสานุศิษย์ …
4. แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน …
5. วางใจพระเจ้าในการทำปาฏิหาริย์ของพระองค์
(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “Sharing the Gospel in Normal and Natural Ways,” ChurchofJesusChrist.org)
.