การฆ่าตัวตาย
วิธีช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในภาวะวิกฤต


“วิธีช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในภาวะวิกฤต,” วิธีช่วย (2018)

“วิธีช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในภาวะวิกฤต,” วิธีช่วย

วิธีช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในภาวะวิกฤต

6:35

ให้ถือว่าสัญญาณเตือนการปลิดชีวิตตนเองและการขู่ว่าจะปลิดชีวิตตนเองทุกครั้งเป็นเรื่องจริงจังเสมอแม้ท่านจะคิดว่าบุคคลนั้นไม่ได้คิดจริงจังอะไรเกี่ยวกับการปลิดชีวิตตนเองหรือเป็นเพียงการเรียกร้องความสนใจ ทำตามขั้นตอนสามข้อต่อไปนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือ—ถามไถ่ ห่วงใย บอกกล่าว

ขั้นตอนที่ 1: ถามไถ่ ถามบุคคลนั้นตรงๆ ว่าคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ ท่านอาจถามว่า “กำลังคิดจะจบชีวิตตนเองหรือเปล่า?” ถ้าตอบว่ากำลังคิดอยู่ ให้ถามต่อไปว่า วางแผนไว้หรือไม่อย่างไร ท่านอาจถามว่า “มีแผนจะทำร้ายตนเองหรือเปล่า?” ถ้าตอบว่ามี ให้ช่วยพาเขาไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือโทรศัพท์ไปยังหน่วยบริการฉุกเฉินหรือสายด่วนให้คำปรึกษาในพื้นที่ของท่านทันที (ดู “สายด่วนให้คำปรึกษา” สําหรับลิงก์ไปยังสายด่วนให้คำปรึกษาทั่วโลก) ถ้าตอบว่าไม่มีแผน ให้ทำขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2: ห่วงใย แสดงความห่วงใยโดยสนใจฟังสิ่งที่เขาพูด ให้เวลาเขาอธิบายความรู้สึก แสดงการยอมรับความรู้สึกของเขาโดยพูดทำนองนี้ “ผมเห็นใจที่คุณต้องเจ็บปวดขนาดนี้” หรือ “ผมไม่เคยคิดว่าคุณต้องลำบากขนาดไหน” ท่านอาจเสนอการช่วยเหลือเขาให้สร้างแผนความปลอดภัยป้องกันการปลิดชีวิตตนเอง (ดู “วิธีสร้างแผนความปลอดภัยป้องกันการฆ่าตัวตาย,” ดัก โธมัส, เลียโฮนา, ก.ย. 2016, 33) แผนความปลอดภัยอาจช่วยให้ผู้คนค้นพบความเข้มแข็ง สัมพันธภาพที่ดี และทักษะในการรับมือกับสุขภาพของตนเอง สิ่งนี้ยังช่วยลดโอกาสที่พวกเขาจะเข้าถึงเครื่องมือทำร้ายตนเอง เช่น อาวุธหรือยาด้วย ถ้าเขาห้ามท่านบอกความรู้สึกของเขาแก่ใครๆ ให้อธิบายว่าท่านจะเคารพความเป็นส่วนตัวของเขาให้มากที่สุดแต่เขาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือมากกว่าสิ่งที่ท่านให้ได้ อย่าสัญญาว่าจะรักษาความลับเรื่องการคิดจะปลิดชีวิตตนเองของเขาเป็นอันขาด

ขั้นตอนที่ 3: บอกกล่าว สนับสนุนให้บุคคลนั้นบอกใครบางคนที่จะช่วยเขาได้มากขึ้น ให้ข้อมูลติดต่อแหล่งช่วยที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่ของท่าน แหล่งช่วยอาจได้แก่โรงพยาบาล คลินิกฉุกเฉิน หรือสายด่วนให้คำปรึกษาที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าเขาไม่ขอความช่วยเหลือ ท่านต้องบอกใครสักคนให้ช่วยเขา ท่านอาจต้องพูดทํานองนี้ เช่น “ฉันห่วงใยคุณและต้องการให้คุณปลอดภัย ฉันจะบอกใครสักคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือที่คุณต้องการได้” เคารพความเป็นส่วนตัวของเขาโดยบอกเฉพาะคนที่ท่านคิดว่าจะช่วยได้ เช่น สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิด อธิการของบุคคลนั้น ที่ปรึกษาที่โรงเรียน แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพคนอื่นๆ ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าจะบอกใคร ให้พูดคุยกับอธิการหรือโทรติดต่อสายด่วนให้คำปรึกษาที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในพื้นที่ของท่าน พึงจดจำว่า ไม่มีใครคาดหวังให้ท่านช่วยเหลือบุคคลนั้นตามลำพัง

หมายเหตุ: ถ้าท่านนำการสนทนา ท่านอาจขอให้ผู้มีส่วนร่วมฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ สมมติสถานการณ์ว่ามีใครสักคนเข้ามาหาพวกเขาและแสดงให้เห็นว่ากำลังคิดจะปลิดชีวิตตนเอง ขอให้พวกเขาฝึกปฏิบัติวิธีรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม