ทักษะการพัฒนาครู
มุ่งเน้นความจริงที่นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์


“มุ่งเน้นความจริงที่นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์” ทักษะการพัฒนาครู: สอนหลักคำสอน (2023)

“มุ่งเน้นความจริงที่นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์” ทักษะการพัฒนาครู: สอนหลักคำสอน

หลักธรรมของการสอนเหมือนพระคริสต์: สอนหลักคําสอน

มุ่งเน้นความจริงที่นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์

ทักษะ

ถามคำถามที่ช่วยให้นักเรียนระบุและอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส

นิยาม

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดกล่าวว่า “หลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสคือหลักธรรมที่นำไปสู่การเชื่อฟังพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า” (“Converting Principles” [คำกล่าวในยามค่ำกับเอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์, 2 ก.พ. 1996], 1) วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนระบุและอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสคือการถามคำถามชวนค้นหาที่กระตุ้นให้พวกเขามองหาวลีที่ช่วยให้เราเพิ่มพูนศรัทธาและการเชื่อฟังพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้พวกเขาระบุและอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสคือการถามคำถามติดตามผลหลังจากนักเรียนแบ่งปันเรื่องราว ประสบการณ์ หรือคำอธิบาย คำถามติดตามผลเชื้อเชิญให้นักเรียนกล่าวย้ำความคิดเห็นของตนด้วยวิธีง่ายๆ ที่สร้างศรัทธาในพระคริสต์และความเต็มใจเชื่อฟังพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

ตัวอย่างและการฝึกด้านล่างเป็นตัวอย่างทั่วไป การอบรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเชื่อมโยงตัวอย่างและโอกาสในการฝึกกับบทเรียนถัดไปที่จะครอบคลุมในหลักสูตร

ตัวอย่าง

คำถามชวนค้นหา:

  1. เมื่อคุณค้นคว้า หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:41–46 คุณเห็นวลีใดบ้างที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คุณเชื่อฟังและมีศรัทธาในพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า?

  2. เมื่อคุณอ่าน โยชูวา 1:5–9 คุณเห็นอะไรที่ช่วยให้คุณอยากทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า?

  3. ความจริงอะไรใน มัทธิว 7:7–12 ที่คุณพบว่าจะช่วยสร้างศรัทธาของคุณในพระเยซูคริสต์และติดตามพระองค์?

ท่านสามารถเปลี่ยนคำถามเดียวกันนี้ได้เล็กน้อยเพื่อตั้งคำถามติดตามผลที่จะช่วยให้นักเรียนอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส

  • ประสบการณ์ของนักเรียน: มาเรียแบ่งปันประสบการณ์ว่าการถามคำถามในการสวดอ้อนวอนทำให้ได้คำตอบที่เธอไม่ต้องการ

  • คำถามของครู: “ให้ตอบหนึ่งวลีว่าคุณเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์นั้นที่จะช่วยให้คนอื่นมีศรัทธาในพระเยซูคริสต์และทำตามการนำทางจากพระองค์?”

  • คำอธิบายของนักเรียน: ไคล์เพิ่งให้คำอธิบายที่ยอดเยี่ยมแต่ยืดยาวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเรียนรู้ในการศึกษาพระคัมภีร์เมื่อคืน

  • คำถามของครู: “ให้ตอบเป็นประโยคง่ายๆ ว่าคุณเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้คุณเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น?”

  • เรื่องราวของนักเรียน: คาตานะแบ่งปันเรื่องราวว่าเธอเชื่อฟังกฎส่วนสิบแม้จะทำได้ยาก

  • คำถามของครู: “ให้ตอบหนึ่งประโยคเกี่ยวกับประสบการณ์นั้นว่าอะไรจะช่วยให้คุณมีศรัทธาในพระคริสต์ต่อไปทั้งที่ยากจะติดตามพระองค์?”

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอของตัวอย่างนี้

2:10

สอนหลักคําสอน—ช่วยนักเรียนระบุหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส

ฝึก

เขียนคำถามชวนค้นหาสำหรับข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้:

เขียนคำถามติดตามผลสำหรับแต่ละสถานการณ์เพื่อช่วยนักเรียนอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส:

  • เอเลนาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่ดีมากเรื่องการทำตามการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณ

  • คริสอธิบายได้ดีมากเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเรียนรู้จากเรื่องดาวิดกับโกลิอัท

  • เมเลเล่าเรื่องส่วนตัวเกี่ยวกับการหันมาหาพระเยซูคริสต์เมื่อสมาชิกในครอบครัวสิ้นชีวิต

สนทนาหรือไตร่ตรอง

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการช่วยให้นักเรียนมุ่งเน้นหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส?

  • การฝึกนี้จะช่วยให้นักเรียนสอนหลักคำสอนตามที่พบในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร?

นำมาใช้

  • ในการอบรมนี้ท่านได้ฝึกทักษะสองอย่างที่ช่วยให้ผู้เรียนระบุและอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสได้อย่างชัดเจน คือ คำถามชวนค้นหาและคำถามติดตามผล ขณะนึกถึงนักเรียน ให้เลือกหนึ่งทักษะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพวกเขา สัปดาห์นี้ ขณะเตรียมข้อพระคัมภีร์แต่ละข้อ ให้ถามตัวท่านเองตลอดว่า “ฉันจะช่วยให้ผู้เรียนระบุและอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสได้อย่างไร?” ท่านอาจจดคำถามนั้นเก็บไว้เตือนใจท่านขณะเตรียม

  • หลังจากเขียนคำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนระบุหรืออธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสแล้ว ให้ลองจินตนาการว่านักเรียนจะตอบคำถามนั้นอย่างไร หากท่านจินตนาการว่าพวกเขาจะอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส ให้เก็บคำถามนั้นไว้ใช้ หากท่านจินตนาการว่านักเรียนจะอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสไม่ได้ ให้ปรับเปลี่ยนคำถามเพื่อจะช่วยให้บรรลุผลตามที่ตั้งใจไว้

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

ทักษะ

ตอบคําถามในวิธีที่หลีกเลี่ยงการคาดเดาและแนวคิดส่วนตัวที่ไม่ใช่หลักคําสอน

ผู้หญิงสอนนักเรียนในห้องเรียน

นิยาม

เมื่อนักเรียนถามคําถามที่อาจก่อให้เกิดการคาดเดาและความคิดส่วนตัวที่ไม่ใช่หลักคําสอน สิ่งสําคัญคือต้องรับมือกับสถานการณ์ในวิธีที่สร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์และหลีกเลี่ยงการแบ่งปันข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ครูควรพยายามช่วยนักเรียนหาคําตอบให้กับคําถามของพวกเขาเสมอ อย่างไรก็ดี ถ้าครูรู้สึกว่าคําถามอาจทําให้เกิดการคาดเดา เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์สันให้คําแนะนําที่ดีว่าจะตอบอย่างไร ท่านกล่าวว่า “ขอให้เราเต็มใจพูดว่า ‘ฉันไม่รู้เรื่องนั้นหรอก แต่นี่คือสิ่งที่ฉันรู้’” การทําเช่นนี้สามารถช่วยให้เรา “เปลี่ยนคําถามที่ดีแต่เป็นคําถามที่กระตุ้นให้เกิดการคาดเดาให้เป็นคําตอบที่สร้างศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์ของเรา” (“The Power of Jesus Christ and Pure Doctrine” [คำปราศรัยกับนักการศึกษาศาสนาของระบบการศึกษาของศาสนจักร, 11 มิถุนายน 2023], คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

ตัวอย่าง

  • บราเดอร์มอตเซเปกําลังสอนเรื่องการสร้าง นักเรียนคนหนึ่งถามว่า “อะไรคือความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีบิ๊กแบงกับอาดัมและเอวา?” บราเดอร์มอตเซเปตอบว่า “ผมไม่รู้คําตอบของคําถามนั้น แต่ผมรู้ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงสร้างอาดัมกับเอวา”

  • ซิสเตอร์เฉินกําลังสอนเรื่อง “สาระสําคัญเยาวชนหญิง” และนักเรียนหญิงคนหนึ่งถามว่า “ทําไมเราไม่ค่อยรู้เรื่องพระมารดาในสวรรค์ของเรามากกว่านี้?” ซิสเตอร์เฉินตอบว่า “ฉันไม่รู้คำตอบของคำถามนี้ แต่ฉันรู้ว่าคุณเป็น ‘ธิดาที่รักของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์ คุณมีธรรมชาติแห่งสวรรค์และจุดหมายนิรันดร์”

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอของตัวอย่างนี้

ฝึก

ตามรูปแบบข้างต้น ท่านจะตอบสนองต่อสิ่งต่อไปนี้อย่างไร?

  • “บราเดอร์บราวน์ ทําไมเราไม่สวดอ้อนวอนถึงพระมารดาบนสวรรค์ล่ะ?”

  • “ซิสเตอร์พาร์คิน ทําไมโจเซฟ สมิธต้องมองเข้าไปในหมวกเพื่อแปลพระคัมภีร์มอรมอน?”

สนทนาและไตร่ตรอง

  • ท่านเรียนรู้อะไรขณะฝึกทักษะนี้?

  • ท่านค้นพบวิธีใดอีกบ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการคาดเดาและการแบ่งปันแนวคิดส่วนตัวที่ไม่ใช่หลักคําสอน?

นำมาใช้

  • ขณะพิจารณาบทเรียนถัดไป ให้ไตร่ตรองว่านักเรียนอาจถามคําถามใดที่อาจนําไปสู่การคาดเดาหรือแบ่งปันแนวคิดส่วนตัวที่ไม่ใช่หลักคําสอน เขียนวิธีที่ท่านสามารถตอบคําถามเหล่านี้เริ่มต้นด้วย “ฉันไม่รู้ … แต่นี่คือสิ่งที่ฉันรู้ …”

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

  • นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “The Power of Jesus Christ and Pure Doctrine” [คําปราศรัยต่อนักการศึกษาศาสนาระบบการศึกษาของศาสนจักร, 11 มิถุนายน 2023], คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ