ดนตรี
การใช้หนังสือเพลง


การใช้หนังสือเพลง

จุดประสงค์ของหนังสือเพลงเล่มนี้เพื่อช่วยสอนพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์แก่เด็กๆ

วิธีสอนเพลงให้แก่เด็กๆ

เด็กๆเรียนรู้ที่จะร้องเพลงโดยการฟังเพลงนั้นหลายๆครั้ง ควรเริ่มการสอนเพลงโดยการร้องเพลงนั้นให้เด็กๆ ฟังให้เด็กมีส่วนร่วมโดยการถามคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อเพลงซึ่งจะท้าทายให้พวกเขาใช้ความคิด

  1. รู้จักเพลง ทำความคุ้นเคยกับเนื้อร้อง และทำนองโดยการเล่นเปียโน การฟังจากเทปหรือให้ใครสักคนร้องหรือเล่นเปียโนให้ท่านฟัง

    พิจารณาว่าเนื้อร้องได้ถ่ายทอดข่าวสารอะไร ถามตัวท่านเองว่าท่านจะใช้ข้ออ้างอิงใดจากพระคัมภีร์ซึ่งบอกไว้ที่ตอนล่างของเพลงได้อย่างไรในการเตรียมหรือในการสอนเพลง ค้นหากุญแจคำและคำที่คล้องจองกัน พร้อมทั้งคำที่เด็กๆ อาจจะไม่เข้าใจหรืออาจจะไม่รู้วิธีออกเสียง สังเกตจากทำนองและรูปแบบการคล้องจองซึ่งจะช่วยทำให้เพลงนั้นง่ายแก่การเรียนรู้มากขึ้น ฝึกหัดเพลงนั้นหลายครั้งจนกว่าท่านจะรู้จักเป็นอย่างดี

  2. วางแผน

    1. ดึงความสนใจของเด็กๆได้โดยการใช้วัตถุสิ่งของรูปภาพ พระคัมภีร์ ประสบการณ์ หรือการบอกเป็นนัยอย่างง่ายๆ

    2. การะตุ้นให้เด็กๆฟังเพลง ถามคำถามที่จะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจข่าวสารพระกิตติคุณ และอธิบายคำถามในวิธีที่เด็กๆสามารถค้นพบคำตอบขณะที่ท่านร้องเพลง

    3. ชักชวนให้เด็กๆ ร้องข้อความที่จะตอบคำถามนั้น เปลี่ยนแปลงระดับความดังและความเร็วเพื่อเน้นเป้าหมาย ขอให้เด็กๆฟังเพลงนั้นโดยไม่ต้องคลอเสียงร้องตามดูว่าเด็กๆนั่งตัวตรง และฟังท่านร้องเพลงอย่างตั้งใจ

    4. แบ่งปันประจักษ์พยานส่วนตัวของท่าน หรืออ่านประจักษ์พยานที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์

วิธีเพิ่มความหลากหลายในพระคัมภีร์

  1. เปลี่ยนแปลงเนื้อร้อง ซึ่งจะทำให้เพลงนั้นเหมาะสมกับโอกาสต่างๆ

  2. สอนเพลงตามท่าที่แนะนำไว้ หรือให้เด็กๆช่วยคิดท่าตามที่บอกไว้

  3. มอบหมายกลุ่มเล็กๆ ร้องเพลงเป็นท่อนๆ หรือเป็นข้อๆสลับกัน

  4. ใช้เพลงที่มีสองท่อนซึ่งร้องพร้อมกันได้

  5. จัดให้มีการผสมเพลงสองเพลงหรือมากกว่านั้น ซึ่งมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันหรือบอกถึงเรื่องเดียวกัน

  6. อาจให้เด็กคนหนึ่งร้องเดี่ยวหรือให้เด็กๆกลุ่มหนึ่งร้องประสานเสียง

  7. ให้เด็กๆเปล่งทำนองหรือร้องเพลงสองสามเพลงเป็นเพลงโหมโรง

วิธีนำเพลง

ความกระตือรือร้น การเตรียมพร้อม และประจักษ์พยานของท่านจะช่วยทำให้ประจักษ์พยานแห่งพระกิตติคุณของเด็กๆเข้มแข็งขึ้น

ขณะที่เด็กๆ เริ่มเรียนรู้ร้องเพลง ควรช่วยพวกเขาร้องตามทำนองโดยการนำเพลงตามระดับเสียงสูงต่ำ โดยการย้ายมือขึ้นลงตามระดับเสียงในเมโลดี้ ท่านอาจเคลื่อนมือขึ้นลงเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของโน้ต ในทำนองเดียวกัน การนำเพลงตามระดับเสียงสูงต่ำ จะบอกถึงจังหวะของเมโลดี้ด้วย

เมื่อเด็กๆ รู้จักเพลงแล้ว ท่านอาจะต้องการใช้รูปแบบจังหวะมาตรฐานที่อยู่ในหน้าถัดไปนี้ หรือการผสมผสานของการนำเพลงตามระดับเสียงสูงต่ำกับรูปแบบจังหวะ

วิธีเล่นเปียโนหรือเล่นเพลงประกอบ

วิธีเล่นเปียโน มีอิทธิพลต่อวิธีการของเด็กๆ จะร้องเพลงนั้นๆ ท่านควรช่วยเสริมการร้อง

เพลงหลายๆเพลงในหนังสือนี้ เช่นเพลงเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนเป็นเพลงที่เหมาะสมสำหรับเป็นเพลงโหมโรงที่เด็กๆจะต้องฝึกร้องสามารถช่วยพวกเขาให้คุ้นเคยกับทำนองได้

การทำสำเนาเพลง

บางเพลงจะมี (ปี) ศยส. ที่ตอนท่อนล่างของเพลง บางเพลงก็ไม่มีลิขสิทธิ์ คำอธิบายทั้งหมดพร้อมทั้งเนื้อหาทั่วไป อาจจะทำสำเนาสำหรับการใช้ที่ศาสนจักรฯหรือบ้าน โดยไม่หวังผลเชิงพาณิชย์ บางเพลงอาจแสดงลิขสิทธิ์นอกเหนือจาก (ปี) ศยส. และพิมพ์ข้อความว่า “อาจจะทำสำเนาเพลงนี้เพื่อใช้ที่ศาสนจักรหรือที่บ้าน โดยไม้หวังผลในเชิงพาณิชย์” ถ้าหากปรากฎมีการแจ้งลิขสิทธิ์ในเพลงใด การแจ้งนั้นจะต้องเขียนบอกไว้ในแต่ละเพลงนั้น

เพลงในหน้า 24 และ 113 อยู่ภายไต้การจำกัดลิขสิทธิ์และจะต้องไม่ทำสำเนาสำหรับการใช้

ลักษณะพิเศษของหนังสือเพลง

เครื่องหมายอัตราเร็ว

เครื่องหมายบอกจังหวะที่ให้ไว้บนมุมซ้ายของแต่ละเพลงเป็นแนวทางสำหรับอัตราเร็ว ยกตัวอย่าง

= 56–72 เครื่องหมายข้างล่างนี้จะบอกท่านว่าเพลงนี้เหมาะที่จะร้องในอัตราเร็วระหว่าง 56 ถึง 72 จังหวะต่อนาที (โน้ตหนึ่งส่วนสี่เท่ากับหนึ่งจังหวะ) ใช้นาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาจับเวลาที่มีเข็มวินาที เข็มนาทีจะวัด 60 จังหวะ หรือ 60 วินาทีต่อหนึ่งนาทีเครื่องหมายวงเล็บการขึ้นต้นทำนอง

Introduction Brackets
ภาพ
Beginning introduction
ภาพ
Introduction ending

ในแต่ละเพลงจะมีเครื่องหมายวงเล็บสำหรับการขึ้นต้นทำนองไว้ด้านบนของบันไดเสียง ไม่ได้เขียนคำว่าการขึ้นต้นทำนองไว้

เครื่องหมายวิธีใช้นิ้วดีด

โดยทั่วไปหมายเลขการใช้นิ้วจะอยู่ด้านซ้ายหรือด้านล่างของตัวโน้ต เครื่องหมายวิธีใช้นิ้วดีดจะบอกตำแหน่งนิ้วมือที่จะเริ่มเล่น บอกเมื่อจะเปลี่ยนตำแหน่ง และยังแนะนำวิธีที่จะเล่นประโยคยากๆ

ภาพ
Fingering markings

คำอธิบายถึงเครื่องหมายและตัวย่อ

ภาพ
Bass clef

บันไดเสียงพร้อมกับเครื่องหมายต่ำ bass clef โดยทั่วไปหมายถึงการบรรเลงด้วยมือซ้าย เป็นโน้ตดนตรีที่อยู่ต่ำกว่า C กลาง

ภาพ
Treble clef

บันไดเสียงพร้อมกับ เครื่องหมายเสียงสูง treble clef โดยทั่วไปหมายถึงทำนองเพลงและการบรรเลงด้วยมือขวาเป็นโน้ตดนตรีที่อยู่สูงกว่า C กลาง

ภาพ
Time signature

มีเครื่องหมายนับจังหวะ บอกไว้ที่ตอนต้นของแต่ละเพลง เลขตัวบนบอกถึงจำนวนของจังหวะในการนับแต่ละครั้ง เลขตัวล่างจะบอกว่าโน้ตใด เท่ากับหนึ่งจังหวะ

ภาพ
Natural sign

เครื่องหมายตำแหน่งเดิม ยกเลิกชาร์ป หรือแฟลท

ภาพ
Triplet

สำหรับ โน้ตสามตัวที่เชื่อมต่อกันและเล่นโน้ตสามตัวให้เท่ากับหนึ่งจังหวะ (ดู”ส่องไป” หน้า 96)

8va

8va ที่อยู่เหนือเส้นบันไดเสียง หมายความว่าให้ท่านเล่นโน้ตระดับ 8 เสียงที่สูงกว่า

ภาพ
Fermata

fermata เฟอร์มาท่า คือหยุดชั่วขณะหรือลากเสียงมักจะลากเสียงอย่างน้อยที่สุด หรืออีกครึ่งจังหวะของตัวโน้ตนั้น

ภาพ
Accents

Accents แสดงว่าโน้ตหรือคอร์ด นั้นควรได้รับการเน้น

ภาพ
Staccato

staccato เครื่องหมายขาดตอน จะอยู่บนหรือล่างของตัวโน้ต บ่งบอกว่าผู้เล่นเปียโนจะเล่น โน้ตตัวนั้นอย่างกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา

ภาพ
Slur

slur เส้นที่ต่อเชื่อมตัวโน้ต เมื่อมีลำดับเสียงสองเสียงที่ต้องใช้ กับหนึ่งพยางค์หรือเมื่อเชื่อมต่อโน้ตในการเล่นเปียโน

ภาพ
Repeat bars

ทำนองเพลงที่อยู่ในช่วงเส้นแบ่งตอนซ้ำ จะเล่นสองครั้ง ถ้าหากมีเพียงอันเดียว ให้ซ้ำตั้งแต่ตอนเริ่มต้นของเพลง

ภาพ
Tie

tie เครื่องหมายเชื่อม (ระหว่างโน้ตสองตัวที่มีระดับเสียงเดียวกัน) ขอให้ท่านทราบว่าควารเล่นเปียโน หรือโน้ตนั้นเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งลากเสียงให้ยาวเท่ากับสองจังหวะ บางครั้งอาจจะมีการเชื่อมตัวโน้ตเพียงท่อนเดียวของเพลงนั้น สวนท่อนอื่นๆไม่ต้องเชื่อม

ภาพ
Crescendo

crescendo หมายความว่า เพลงจะค่อยๆดังมากขึ้น

ภาพ
Decrescendo

decrescendo หมายความว่าเพลงจะค่อยๆเบาลง

ภาพ
More than one ending

บางเพลงอาจมีเครื่องหมายจบมากกว่าหนึ่งครั้ง แรกเล่นตลอดเพลงและจบด้วยเครื่องหมายจบอันแรก หากมีท่อนต่อไปก็เล่นเหมือนเดิม จนท่อนสุดท้ายจึงใช้เครื่องหมายจบอันที่สอง

fine

เครื่องหมายนี้หมายถึง “จบ” (finale)

D.C. al fine

Da capo al fine หมายถึงให้กลับไปยังเครื่องหมายและเล่นจนมาถึง fine.

D.S. al fine

Dal segno al fineหมายถึงให้กลับไปยังเครื่องหมาย

และเล่นจนมาถึง fine.

rit.

Ritardando หมายถึงทำให้เพลงช้าลงตามลำดับ (ดู พระองค์ทรงส่งพระบุตร หน้า 20)

a tempo

คำนี้บ่งบอกว่าให้กลับไปเล่นในอัตราเร็วเดิม

descant

descant เป็นท่อนแยกเสียงที่มีเนื้อร้องด้วย เป็นไปได้ที่จะเล่นท่อนนี้ประกอบไปด้วย

obbligato

obbligato เป็นท่อนทำนองที่แยกออกมาอยู่ด้านบนของเมโลดี้ บางครั้งท่อนที่อยู่ในชุดนั้นอาจเหมาะสำหรับเสียงที่ใช้เนื้อร้องของเมโลดี้

ostinato

ostinato เป็นรูปแบบทำนองที่ซ้ำกัน (มักจะเป็นระดับเสียงสองเสียง ร้องร่วมกับเพลง (ดู “ฉันเชื่อฟังเร็วพลัน” หน้า 109)

round

round กลุ่มที่หนึ่งเริ่มร้องนับตามลำดับ-กลุ่มอื่นก็เริ่มร้องตามการกลมกลืนของเสียงก็เป็นเหมือนการประสานเสียง

ภาพ
Phrase mark

The phrase mark เครื่องหมายตอนสั้นๆ บอกท่านว่าโน๊ตเหล่านี้ควรเชื่อมต่อกันหรือเล่นโดยไม่ยกมือ

ภาพ
Rolled effect

For a rolled or harplike effect, เครื่องหมายรัว เล่นโน๊ตจากล่างขึ้นบนในหนึ่งครั้งแทนที่จะเล่นพร้อมกันครั้งเดียว

มาตราฐานแบบอย่างของการนำเพลง

ภาพ
Two-beat pattern

แบบสองจังหวะ ใช้กับเพลงที่แจ้งไว้ 2/2, 2/4, or 6/8.

ภาพ
Three-beat pattern

แบบสามจังหวะ ใช้กับเพลงที่แจ้งไว้ 3/4 or 9/8.

ภาพ
Four-beat pattern

แบบสี่จังหวะ ใช้กับเพลงที่แจ้งไว้ 4/4 or 12/8

ภาพ
Six-beat pattern

แบบหกจังหวะ ใช้กับเพลงที่แจ้งไว้ 6/8.

ตารางคอร์ด

หากไม่มีคีย์บอร์ด อาจใช้กีตาร์หรือเครื่องดนตรีอื่นแทนใช้คอร์ดที่แสดงไว้เหนือบรรทัดเมโลดี้

ภาพ
Chord Chart

พิมพ์