พันธสัญญาเดิม 2022
23 ตุลาคม พระกิตติคุณจารึกในใจฉันหรือไม่? เยเรมีย์ 30–33; 36; เพลงคร่ำครวญ 1; 3


“23 ตุลาคม พระกิตติคุณจารึกในใจฉันหรือไม่? เยเรมีย์ 30–33; 36; เพลงคร่ำครวญ 1; 3,” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022 (2021)

“23 ตุลาคม พระกิตติคุณจารึกในใจฉันหรือไม่?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022

ภาพ
การศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัว

23 ตุลาคม

พระกิตติคุณจารึกในใจฉันหรือไม่?

เยเรมีย์ 30–33; 36; เพลงคร่ำครวญ 13

ภาพ
ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

ในช่วงต้นของการประชุม ให้ท่อง สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน หรือ สาระสำคัญเยาวชนหญิง พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่าหรือคำถามของตนเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2, ChurchofJesusChrist.org) วางแผนหาวิธีปฏิบัติตามสิ่งที่สนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ครั้งที่แล้วเราสนทนาเรื่องอะไร และมีการเชื้อเชิญหรือการมอบหมายอะไรบ้าง? เราทำอะไรกับการเชื้อเชิญหรือการมอบหมายเหล่านั้นบ้าง?

  • ดูแลคนขัดสน เราสามารถทำหรือพูดอะไรเพื่อยื่นมือช่วยเหลือคนที่อาจรู้สึกเดียวดายหรือเหินห่างจากพระบิดาบนสวรรค์?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถช่วยให้คนอื่นๆ รู้สึกถึงความรักของพระเยซูคริสต์?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ เราจะแบ่งปันแนวคิดใดให้กันได้บ้างเพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวของเรา?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

พระเจ้าตรัสบอกศาสดาพยากรณ์เยเรมีย์ว่าในวันเวลาที่จะมาถึง พระองค์จะทรงรวบรวมอิสราเอลและทำ “พันธสัญญาใหม่” กับผู้คนของพระองค์ พระองค์ทรงประกาศว่า “เราจะบรรจุธรรมบัญญัติไว้ในเขาทั้งหลาย และเราจะจารึกมันไว้บนดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา” (ดู เยเรมีย์ 31:31–34) วันเวลาเหล่านั้นคือปัจจุบัน และเราคือผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า คำสอนเหล่านี้อาจกระตุ้นเตือนท่าน—และคนที่ท่านสอน—ให้ถามว่า การมีพระกิตติคุณจารึกในใจฉันหมายความว่าอย่างไร? พระกิตติคุณจารึกในใจฉันหรือไม่? ถ้าไม่ ฉันจะทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้บ้าง?

ให้พิจารณาวิธีที่ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมของท่านไตร่ตรองคำถามเหล่านี้ด้วยตนเอง เพื่อเตรียมสอน ท่านอาจค้นหาข่าวสารที่จะแบ่งปันได้จาก เยเรมีย์ 30–33; 36; จากข่าวสารของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน “ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัย” (เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 92–95); และจากข่าวสารของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน “เมื่อท่านได้หันกลับแล้ว” (Liahona, May 2004, 12–15)

ภาพ
เยาวชนหญิงศึกษาพระคัมภีร์

เมื่อเรารักพระเจ้าและพยายามเรียนรู้จากพระองค์ พระกิตติคุณจะจารึกในใจเรา

เรียนรู้ด้วยกัน

กระตุ้นให้เยาวชนสนทนา เยเรมีย์ 31:31–34 เพื่อทำสิ่งนี้ ท่านอาจให้หัวใจกระดาษแก่พวกเขา บนนั้นเขียนคำถามหลายข้อเกี่ยวกับความหมายของการมีพระกิตติคุณในใจเรา ดังที่พบใน “เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ” โดยการทำงานเป็นรายบุคคล เป็นคู่ หรือกลุ่มย่อย เยาวชนอาจอ่านข้อเหล่านี้จากเยเรมีย์แล้วไตร่ตรองวิธีที่พวกเขาจะตอบคำถามเหล่านั้น ให้พวกเขาแบ่งปันคำถามคำตอบที่พวกเขาคิดได้ ต่อไปนี้คือแนวคิดเพิ่มเติมที่สามารถช่วยให้ท่านสอนเยาวชนเกี่ยวกับวิธีที่พระกิตติคุณจะจารึกในใจพวกเขา

  • ในปัจฉิมโอวาทที่โมเสสมอบให้ชาวอิสราเอลบางข้อ ท่านกระตุ้นให้พวกเขารับพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าไว้ในใจตน ท่านสอนให้พวกเขารู้วิธีบางอย่างที่จะทำสิ่งนี้ได้ด้วย ดังที่พบใน เฉลยธรรมบัญญัติ 6:3–9 ให้ทั้งชั้นเรียนหรือทั้งโควรัมอ่านข้อเหล่านี้ด้วยกันแล้วสนทนาวิธีที่เราสามารถทำสิ่้งที่โมเสสแนะนำ สำหรับแนวคิดบางอย่าง ชั้นเรียนหรือโควรัมของท่านอาจรับชมวีดิทัศน์ “Come, Follow Me: These Words” (ChurchofJesusChrist.org) นอกจากนี้พวกเขาอาจศึกษา แอลมา 5:14, 26–35 เพื่อค้นหาสิ่งที่แอลมาสอนเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถรักษาพระกิตติคุณที่จารึกไว้ในใจเรา

  • ในข่าวสารของท่าน “เมื่อท่านได้หันกลับแล้ว,” เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน อธิบายสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อให้พระกิตติคุณจารึกในใจเรา จากสี่ย่อหน้าแรกเราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความหมายของการมีพระกิตติคุณจารึกในใจเรา? ท่านอาจเชิญเยาวชนแต่ละคนให้อ่านย่อหน้าที่เหลืออีกหนึ่งย่อหน้าหรือมากกว่าเพื่อหาสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำเพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้น บทบาทของพระผู้ช่วยให้รอดคืออะไร? บทบาทของเราคืออะไร? กระตุ้นให้เยาวชนแบ่งปันคำตอบของตน พร้อมด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งอื่นๆ ที่พวกเขาพบ มีประสบการณ์ใดบ้างที่ช่วยให้เรามีพระกิตติคุณจารึกในใจเรา? ในกระบวนการนี้การรักษาพันธสัญญาของเรามีบทบาทใดบ้าง?

  • ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายว่าคำว่า อิสราเอล “หมายถึงคนที่ เต็มใจ ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัยในชีวิตตน” (“ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัย,” 92) ท่านอาจเชื้อเชิญให้เยาวชนค้นคว้าจากหกย่อหน้าแรกในข่าวสารของประธานเนลสันและส่วนสุดท้ายของข่าวสารที่เริ่มต้นด้วย “คำถามสำหรับเราแต่ละคน” ขอให้พวกเขาค้นหาสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจความหมายของ “ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัย” ในชีวิตตน เรารู้สึกและกระทำอย่างไรเมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัยในชีวิตเรา? ประธานเนลสันสอนอะไรเกี่ยวกับวิธีที่การมีพระกิตติคุณจารึกในใจเราส่งผลต่อความพยายามของเราในการรวบรวมอิสราเอล?

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตน ถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขานึกถึงวิธีที่การลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

“หลักคำสอนที่พบในพระคัมภีร์และในถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายมีพลังอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงจิตใจและเพิ่มพูนศรัทธา เมื่อท่านและคนที่ท่านสอน ‘ลองอานุภาพแห่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า’ ท่านจะพบว่าพระวจนะนั้น ‘มีแนวโน้มอย่างยิ่งที่จะนำผู้คนให้ทำสิ่ง [ซึ่ง] เที่ยงธรรม’ (แอลมา 31:5))” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 5)

พิมพ์