พันธสัญญาเดิม 2022
9 ตุลาคม เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงควรเป็นศูนย์กลางในชีวิตฉัน? อิสยาห์ 58–66


“9 ตุลาคม เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงควรเป็นศูนย์กลางในชีวิตฉัน? อิสยาห์ 58–66,” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022 (2021)

“9 ตุลาคม เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงควรเป็นศูนย์กลางในชีวิตฉัน?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022

ภาพ
พระเยซูคริสต์

9 ตุลาคม

เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงควรเป็นศูนย์กลางในชีวิตฉัน?

อิสยาห์ 58-66

ภาพ
ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

ในช่วงต้นของการประชุม ให้ท่อง สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน หรือ สาระสำคัญเยาวชนหญิง พร้อมกัน จากนั้น นอกจากจะหารือเกี่ยวกับกิจธุระเฉพาะของโควรัมหรือชั้นเรียนแล้ว ท่านอาจต้องการพูดถึงความประทับใจและสาระสำคัญจากการประชุมใหญ่สามัญด้วย คำถามต่อไปนี้อาจช่วยได้

  • สาระสำคัญหรือข่าวสารใดสะดุดใจเรา? อะไรเสริมสร้างศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์?

  • อะไรเสริมสร้างประจักษ์พยานของเราเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่? เรารู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้ทำอะไรเพราะสิ่งที่เราเรียนรู้หรือรู้สึก?

  • โควรัมหรือชั้นเรียนของเราจำเป็นต้องจดจำและทำอะไรตามคำแนะนำที่เราได้ยินในการประชุมใหญ่สามัญ?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ภาพ
teach the doctrine icon

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

“ข้าพเจ้าจะเปรมปรีดิ์อย่างยิ่งในพระยาห์เวห์ ใจของข้าพเจ้าจะลิงโลดในพระเจ้าของข้าพเจ้า,” อิสยาห์กล่าว, “เพราะพระองค์ทรงสวมเสื้อผ้าแห่งความรอดให้ข้าพเจ้า พระองค์ทรงคลุมข้าพเจ้าด้วยเสื้อคลุมแห่งความชอบธรรม” (อิสยาห์ 61:10) เหตุใดท่านจึง “เปรมปรีดิ์ในพระยาห์เวห์”? เช่นเดียวกับอิสยาห์ ขณะเรารับรู้สิ่งที่พระเจ้าทรงทำเพื่อเรา เราเปรมปรีดิ์ และเราพูดบ่อยๆ ถึง“ความรักมั่นคงของพระยาห์เวห์ และกิจการอันน่าสรรเสริญของพระยาห์เวห์” (อิสยาห์ 63:7)

คนที่ท่านสอนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด? มีสิ่งใดบ้างที่อาจช่วยให้พวกเขารู้สึกรักและเคารพพระองค์มากขึ้น? มีอะไรบ้างที่อาจช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงความรักของพระองค์? ขณะท่านไตร่ตรองคำถามเหล่านี้และอ่าน อิสยาห์ 58–66, ท่านอาจทบทวนข่าวสารของเอ็ลเดอร์แมทธิว เอส. ฮอลแลนด์ “ของประทานอันเป็นที่สุดแห่งพระบุุตร” (เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 45–47) และข่าวสารของซิสเตอร์คริสตินา บี. ฟรังโค “พลังเยียวยาของพระเยซูคริสต์” (เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 60–62) ไปด้วย

ภาพ
เยาวชนหญิงศึกษาพระคัมภีร์

เมื่อเราเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น เราได้รับแรงบันดาลใจที่จะทำให้พระองค์ทรงเป็นศูนย์กลางของชีวิตเรา

เรียนรู้ด้วยกัน

เมื่อสมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมเรียนรู้เกี่ยวกับพระพันธกิจที่พระเยซูคริสต์ทรงถูกส่งมาเพื่อทำให้สำเร็จ พวกเขาจะได้รับแรงบันดาลใจมากขึ้นที่จะทำให้พระผู้ช่วยให้รอดเป็นศูนย์กลางของชีวิตพวกเขา พวกเขาอาจค้นคว้าใน อิสยาห์ 61:1–3 แล้วทำรายการบนกระดานถึงสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงได้รับการเจิมให้มาทำ (ดู ลูกา 4:16–20) พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเรื่องเหล่านี้ในพระพันธกิจของพระองค์ให้เกิดสัมฤทธิผลได้อย่างไร? ขณะนี้พระองค์ทรงทำให้พระพันธกิจเหล่านั้นเกิดสัมฤทธิผลในชีวิตเราอย่างไร? แนวคิดต่อไปนี้สามารถช่วยให้ชั้นเรียนหรือโควรัมของท่านสนทนาต่อไปเกี่ยวกับเหตุผลที่พระเยซูคริสต์ควรเป็นศูนย์กลางของชีวิตเรา

  • การประชุมใหญ่สามัญมีข่าวสารที่เป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์อยู่เสมอ ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหลายคนแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดในช่วงการประชุมใหญ่สามัญ กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดอันเนื่องมาจากสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้

  • พระคัมภีร์สามารถช่วยให้เยาวชนเข้าใจดีขึ้นว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดจึงควรเป็นศูนย์กลางของชีวิตพวกเขา ท่านอาจเขียนบนกระดานว่า เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงควรเป็นศูนย์กลางในชีวิตฉัน? ขอให้เยาวชนแบ่งปันความคิดของตน จากนั้นท่านอาจขอให้พวกเขา (เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม) ค้นคว้าพระคัมภีร์ใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” เพื่อค้นหาคำตอบเพิ่มเติม เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และเหตุผลที่สิ่งนั้นมีความหมายต่อพวกเขา

  • ท่านอาจขอให้คนที่ท่านสอนบรรยายเกี่ยวกับวันที่สำคัญที่สุดในชีวิตพวกเขา วันใดอาจเป็นวันที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์? เชื้อเชิญให้พวกเขาค้นหาสิ่งที่เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟกล่าวว่าเป็นวันสำคัญที่สุดโดยทบทวนข่าวสารของท่าน “มองดูชายคนนี้!” (เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 107–110) กระตุ้นให้เยาวชนค้นหาพรที่เอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟสัญญาต่อผู้ที่ “มองดู” พระเยซูคริสต์ นอกจากนี้พวกเขาอาจแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังทำเพื่อให้พระผู้ช่วยให้รอดเป็นศูนย์กลางในชีวิตประจำวันของพวกเขา ท่านอาจกระตุ้นให้พวกเขาพิจารณาสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อใกล้ชิดพระเยซูคริสต์มากขึ้นแล้วตั้งเป้าหมายที่จะทำสิ่งนั้น

  • ถ้ามีคนถามเราว่าทำไมเราเชื่อในพระเยซูคริสต์ เราจะพูดว่าอย่างไร? กระตุ้นให้เยาวชนแบ่งปันความคิดของตนแล้วเขียนไว้บนกระดาน นอกจากนี้ท่านอาจเชิญให้พวกเขาทบทวน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” (ChurchofJesusChrist.org) หรือ “พระพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสต์” ในบทที่ 3 ของ สั่งสอนกิตติคุณของเรา ([2019], 60–61) กระตุ้นให้พวกเขามองหาความจริงที่เรียบง่ายที่จะแบ่งปันเพื่ออธิบายเหตุผลที่พระผู้ช่วยให้รอดสำคัญต่อพวกเขา พวกเขาอาจเพิ่มความจริงที่พบเข้ากับรายการบนกระดานแล้วสนทนาว่าพวกเขาจะแบ่งปันความจริงเหล่านี้แก่คนรู้จักได้อย่างไร

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตน ถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขานึกถึงวิธีที่การลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

“แต่ละคนในชั้นเรียนของท่านเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยประจักษ์พยาน ข้อคิด และประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันและยกจิตใจกัน” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 5)

พิมพ์