จงตามเรามา
18–24 พฤศจิกายน: “เพื่อความชั่วอาจหมดไป” อีเธอร์ 6–11


“18–24 พฤศจิกายน: ‘เพื่อความชั่วอาจหมดไป’ อีเธอร์ 6–11” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: พระคัมภีร์มอรมอน 2024 (2023)

“18–24 พฤศจิกายน อีเธอร์ 6–11” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: 2024 (2023)

เรือชาวเจเร็ดในทะเล

เราจะนำเจ้าขึ้นมาอยู่บนผืนน้ำอีก โดย โจนาธาน อาเธอร์ คลาร์ก

18–24 พฤศจิกายน: “เพื่อความชั่วอาจหมดไป”

อีเธอร์ 6–11

หลายร้อยปีหลังจากชาวเจเร็ดถูกทำลาย ชาวนีไฟค้นพบซากอารยธรรมสมัยโบราณของพวกเขา ท่ามกลางซากปรักหักพังเหล่านี้มีบันทึกลึกลับ—แผ่นจารึก “ทองคำบริสุทธิ์” ที่ “เต็มไปด้วยอักขระ” และชาวนีไฟ “มีความปรารถนาสุดจะประมาณ” ที่จะอ่าน (โมไซยาห์ 8:9; 28:12) ปัจจุบันท่านมีความย่อของบันทึกนี้ และเรียกว่าหนังสือของอีเธอร์ เมื่อชาวนีไฟอ่าน “พวกเขาเต็มไปด้วยโทมนัส” เมื่อได้เรียนรู้เรื่องการตกอันน่าสลดใจของชาวเจเร็ด “กระนั้นก็ตามมันยังให้ความรู้พวกเขามาก, ซึ่งในสิ่งนี้พวกเขาชื่นชมยินดี” (โมไซยาห์ 28:12, 18) ท่านอาจพบช่วงเวลาโทมนัสในหนังสือเล่มนี้ด้วย แต่ท่านสามารถชื่นชมยินดีในของประทานแห่งความรู้นี้เช่นกัน ดังที่โมโรไนเขียน “เป็นปรีชาญาณในพระผู้เป็นเจ้าที่สิ่งเหล่านี้จะแสดงแก่ท่าน … เพื่อความชั่วอาจหมดไป, และเพื่อเวลาอาจมาถึงเมื่อซาตานจะไม่มีอำนาจในใจลูกหลานมนุษย์” (อีเธอร์ 8:26)

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

อีเธอร์ 6:1–12

พระเจ้าจะทรงนำทางฉันตลอดการเดินทางมรรตัยของฉัน

ท่านอาจพบข้อคิดทางวิญญาณถ้าท่านเปรียบการเดินทางข้ามมหาสมุทรของชาวเจเร็ดกับการเดินทางตลอดชีวิตของท่าน ตัวอย่างเช่น พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมอะไรที่ส่องทางให้ท่านเหมือนก้อนหินในเรือของชาวเจเร็ด? เรือหรือลมที่ “พัดไปยังแผ่นดินที่สัญญาไว้” จะหมายถึงอะไร? (อีเธอร์ 6:8) ท่านเรียนรู้อะไรจากการกระทำของชาวเจเร็ดก่อน ระหว่าง และหลังการเดินทาง? พระเจ้าทรงกำลังนำท่านไปยังแผ่นดินที่สัญญาไว้อย่างไร?

9:46

“ร้องสรรเสริญพระเจ้า” ชาวเจเร็ดแสดงความสำนึกคุณและความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าผ่านเพลงและการสรรเสริญ (ดู อีเธอร์ 6:9) ท่านอาจมองหาหรือสร้างโอกาสให้ใช้เพลงและประจักษ์พยานที่จริงใจเพื่อสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าที่บ้านและที่โบสถ์ .

ครอบครัวชาวเจเร็ดอยู่ในเรือ

Baby on Board [เด็กทารกบนเรือ] โดย เคนดัล เรย์ จอห์นสัน

อีเธอร์ 6:5–18, 30; 9:28–35; 10:1–2

“เดินอย่างถ่อมตนต่อพระพักตร์พระเจ้า”

ถึงแม้ความจองหองและความชั่วร้ายดูเหมือนจะมีตลอดประวัติศาสตร์ชาวเจเร็ด แต่มีตัวอย่างของความนอบน้อมถ่อมตนในบทเหล่านี้ด้วย—โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อีเธอร์ 6:5–18, 30; 9:28–35; และ 10:1–2 การไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเรียนรู้จากตัวอย่างเหล่านี้: เหตุใดชาวเจเร็ดเหล่านี้จึงนอบน้อมถ่อมตนในสถานการณ์เหล่านี้? พวกเขาแสดงความนอบน้อมถ่อมตนอย่างไร? พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรพวกเขาอย่างไร? พิจารณาว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเต็มใจ “เดินอย่างถ่อมตนต่อพระพักตร์พระเจ้า” (อีเธอร์ 6:17) แทนที่จะถูกบังคับให้นอบน้อมถ่อมตน (ดู โมไซยาห์ 4:11–12; แอลมา 32:14–18)

ดู เดล จี. เรนลันด์, “ทำความยุติธรรม รักความเมตตา และดำ‌เนิน​ชีวิต​ไป​กับ​พระ‍เจ้า​ของ​เจ้า​ด้วย​ความ​ถ่อม‍ใจ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 109–112 ด้วย

อีเธอร์ 7–11

ไอคอนเซมินารี
ฉันสามารถเป็นผู้นำเหมือนพระคริสต์

บทที่ 7–11 ของอีเธอร์ครอบคลุมอย่างน้อย 28 รุ่น แม้ว่าจะให้รายละเอียดได้เล็กน้อยในพื้นที่เล็กนิดเดียว แต่รูปแบบหนึ่งปรากฏอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับผลของการเป็นผู้นำที่ชอบธรรมและผู้นำที่ชั่วร้าย ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการเป็นผู้นำจากตัวอย่าง—ทั้งลบและบวก—ของกษัตริย์ที่มีชื่ออยู่ด้านล่าง?

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเป็นผู้นำไว้ในข่าวสารของท่านเรื่อง “คนที่เป็นใหญ่ในพวกท่าน” (เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 78–81) ท่านอาจจะศึกษาข่าวสารนี้—โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เอ็ลเดอร์อุคดอร์ฟเล่า—โดยมองหาหลักธรรมหรือรูปแบบการเป็นผู้นำเหมือนพระคริสต์ ท่านเคยเห็นหลักธรรมหรือรูปแบบเหล่านี้ในตัวผู้นำเมื่อใด?

ขณะไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้นึกถึงโอกาสที่ท่านต้องนำหรือเป็นอิทธิพลต่อผู้อื่นในบ้านของท่าน ชุมชน การเรียกในศาสนจักร เป็นต้น ท่านจะพัฒนาคุณสมบัติของการเป็นผู้นำเหมือนพระคริสต์ได้อย่างไรแม้ไม่มีงานมอบหมายเฉพาะเจาะจงให้ท่านนำ

ดู “หลักธรรมของการเป็นผู้นำในศาสนจักร,” คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย, 4.2 (ChurchofJesusChrist.org) ด้วย

อีเธอร์ 8:7–26

พระเจ้าไม่ทรงทำงานในความมืด

เมื่อผู้คนสมคบกันปกปิดการทำชั่วของตน แสดงว่าพวกเขาพัวพันกับการมั่วสุมลับ นอกจากการมั่วสุมลับที่บรรยายไว้ใน อีเธอร์ 8:7–18 แล้วยังมีตัวอย่างอื่นใน ฮีลามัน 1:9–12; 2:2–11; 6:16–30; โมเสส 5:29–33 ด้วย ท่านอาจจะเปรียบเทียบข้อเหล่านี้กับ 2 นีไฟ 26:22–24 ซึ่งนีไฟอธิบายว่าพระเจ้าทรงทำงานของพระองค์อย่างไร ท่านคิดว่าเหตุใดโมโรไนจึงได้รับบัญชาให้เขียนสิ่งที่เขาทำเกี่ยวกับการมั่วสุมลับ?

ท่านได้เรียนรู้อะไรจากหนังสือของอีเธอร์ที่สามารถช่วยให้ท่านได้รับพรที่บรรยายไว้ใน อีเธอร์ 8:26?

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

อีเธอร์ 6:1–12

ฉันวางใจได้ว่าพระบิดาบนสวรรค์จะทรงปลอบใจเมื่อฉันกลัว

  • ทุกคนมีวันที่ยาก—แม้แต่เด็กเล็กๆ ท่านอาจจะช่วยเด็กหาคำและวลีใน อีเธอร์ 6:1–12 ที่แสดงให้เห็นว่าชาวเจเร็ดวางใจพระผู้เป็นเจ้าในช่วงวันที่ยากและน่ากลัวจริงๆ อย่างไร ท่านอาจจะแบ่งปันประสบการณ์บางอย่างให้กันเมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยเหลือท่านในช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิต

อีเธอร์ 6:9, 12, 30; 7:27; 10:2

การจดจำสิ่งที่พระเจ้าทรงทำนำมาซึ่งความสำนึกคุณและสันติสุข

  • หลังจากมาถึงแผ่นดินที่สัญญาไว้อย่างปลอดภัย ชาวเจเร็ดรู้สึกขอบพระทัยอย่างยิ่งจนพวกเขา “หลั่งน้ำตาแห่งปีติ” (อีเธอร์ 6:12) ท่านอาจจะดลใจให้เด็กรู้สึกขอบพระทัยสำหรับพรของพระผู้เป็นเจ้าโดยช่วยพวกเขาหาวลีจาก อีเธอร์ 6:9, 12 ที่แสดงให้เห็นว่าชาวเจเร็ดแสดงความขอบพระทัยพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร เด็กอาจชอบร้องเพลงเหมือนชาวเจเร็ด เพลงที่แสดงความสำนึกคุณ เช่น “พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักฉัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 16–17) ขอให้เด็กบอกท่านบางอย่างที่พวกเขาขอบพระทัย

  • เด็กอาจจะอ่าน อีเธอร์ 6:30; 7:27; และ 10:2 และค้นหาว่ากษัตริย์ที่ชอบธรรมเหล่านี้ระลึกถึงอะไร นี่ส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่กษัตริย์เหล่านั้นนำผู้คนของตน? ท่านและเด็กจะพูดคุยถึงวิธีเตือนตนเองให้นึกถึงสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำเพื่อท่าน ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะเขียนหรือวาดภาพเกี่ยวกับสิ่งนั้น ท่านอาจจะเสนอแนะให้พวกเขาสร้างนิสัยของการจดบันทึกพรที่สังเกตเห็นจากพระผู้เป็นเจ้าเป็นประจำ (ดู “O Remember, Remember” [video], Gospel Library)

    2:3

    โอ้จงจำ จงจำไว้

    ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์กระตุ้นให้เรามองหาพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าและตระหนักถึงพรมากมายที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่เราทุกวัน

อีเธอร์ 7:24–27

ฉันได้รับพรเมื่อฉันทำตามศาสดาพยากรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

  • ท่านและเด็กอาจจะชอบทำท่าประกอบบางอย่างที่ศาสดาพยากรณ์สอนให้เราทำ ท่านจะเปลี่ยนเป็นเกมให้ท่านทายว่าท่านั้นหมายถึงอะไรก็ได้ นี่จะเตรียมเด็กให้พร้อมพูดคุยว่าเหตุใดการทำตามศาสดาพยากรณ์ของพระผู้เป็นเจ้าจึงสำคัญ จากนั้นท่านจะอ่าน อีเธอร์ 7:24–27 เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อผู้คนเชื่อฟังศาสดาพยากรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า เราได้รับพรจากการทำตามศาสดาพยากรณ์ในยุคสมัยปัจจุบันอย่างไร?

อีเธอร์ 9:28–35; 11:5–8

พระเจ้าทรงเมตตาเมื่อฉันกลับใจ

  • การมองหารูปแบบเป็นทักษะการศึกษาพระคัมภีร์ที่มีประโยชน์ หนังสือของอีเธอร์มีรูปแบบซ้ำๆ ที่เน้นพระเมตตาของพระเจ้า เพื่อช่วยให้เด็กพบรูปแบบนี้ ให้พวกเขาอ่าน อีเธอร์ 9:28–35 และ อีเธอร์ 11:5–8 โดยมองหาความคล้ายคลึงระหว่างสองเรื่องนี้ เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องราวเหล่านี้? พวกเขาอาจจะมองหาภาพคนอื่นๆ ในพระคัมภีร์ที่กลับใจและได้รับการให้อภัยใน หนังสือภาพพระกิตติคุณ

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

เรือชาวเจเร็ดในทะเล

เรือของชาวเจเร็ด โดย แกรีย์ เออร์เนสต์ สมิธ