จงตามเรามา
8–14 กันยายน: “จงนิ่งเถิดและรู้ว่าเราคือพระผู้เป็นเจ้า” หลักคำสอนและพันธสัญญา 98–101


“8–14 กันยายน: ‘จงนิ่งเถิดและรู้ว่าเราคือพระผู้เป็นเจ้า’: หลักคำสอนและพันธสัญญา 98–101,” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“หลักคําสอนและพันธสัญญา 98–101” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

กลุ่มคนร้ายโจมตีวิสุทธิชนในมิสซูรี

ซี. ซี. เอ. คริสเต็นเซ็น (1831–1912), วิสุทธิชนถูกขับไล่ออกจากเทศมณฑลแจ๊คสัน มิสซูรี, ประมาณปี 1878, จิตรกรรมสีฝุ่นบนผ้าฝ้าย, 77 ¼ x 113 นิ้ว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ มหาวิทยาลัยบริคัมยังก์, ของขวัญลูกหลานของซี. ซี. เอ. คริสเต็นเซ็น ปี 1970

8–14 กันยายน: “จงนิ่งเถิดและรู้ว่าเราคือพระผู้เป็นเจ้า”

หลักคำสอนและพันธสัญญา 98–101

สำหรับวิสุทธิชนในทศวรรษ 1830 อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรีเป็นแผ่นดินที่สัญญาไว้จริงๆ ที่แห่งนี้เป็น “สถานที่ซึ่งเป็นศูนย์กลาง” ของไซอัน (หลักคําสอนและพันธสัญญา 57:3)—เมืองของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลก—และการรวมวิสุทธิชนที่นั่นเป็นการเริ่มต้นที่น่าตื่นเต้นของการเสด็จมาครั้งที่สอง แต่เพื่อนบ้านในละแวกนั้นกลับมองต่าง พวกเขาคัดค้านคำกล่าวอ้างที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานที่ดินให้วิสุทธิชน และพวกเขาไม่สบายใจกับผลทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของคนจำนวนมากที่พวกเขาไม่รู้จักผู้พากันย้ายเข้ามาอย่างรวดเร็ว ไม่นานนักความอึดอัดใจก็กลายเป็นการข่มเหงและความรุนแรง ในปี 1833 สํานักพิมพ์ของศาสนจักรถูกทําลาย และวิสุทธิชนถูกบีบบังคับให้ออกจากบ้านของพวกเขา

โจเซฟ สมิธอยู่ในเคิร์ทแลนด์ห่างออกไป 800 กว่าไมล์และหลายสัปดาห์กว่าข่าวนี้จะไปถึงท่าน แต่พระเจ้าทรงทราบว่าเกิดอะไรขึ้นและทรงเปิดเผยต่อท่านศาสดาพยากรณ์เกี่ยวกับหลักธรรมแห่งสันติภาพและกำลังใจที่จะปลอบโยนวิสุทธิชน—หลักธรรมที่จะช่วยเราได้เช่นกันเมื่อเราประสบการข่มเหง เมื่อความปรารถนาที่ชอบธรรมของเราไม่เกิดสัมฤทธิผล หรือเมื่อเราต้องมีสิ่งเตือนใจว่าความทุกข์แต่ละวันของเราสุดท้ายแล้วจะ “ร่วมกันส่งผลเพื่อความดี [ของเรา]” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:3)

ดู วิสุทธิชน, 1:171–193; “Waiting for the Word of the Lord,” ใน Revelations in Context, 196–201

ไอคอนการศึกษา

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:1–3, 11–14, 22; 101:1–16, 22–31, 36

ไอคอนเซมินารี
การทดสอบของฉันจะร่วมกันส่งผลเพื่อความดีของฉัน

ความท้าทายบางอย่างในชีวิตเราเกิดจากการเลือกของเราเอง ส่วนอีกหลายอย่างเกิดจากการเลือกของผู้อื่น และบางครั้งสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเพราะเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมรรตัย ไม่ว่าด้วยเหตุใด ความยากลําบากจะช่วยให้บรรลุจุดประสงค์อันสูงส่งเมื่อเราหันไปหาพระผู้เป็นเจ้า

ซึ่งเป็นความจริงสําหรับวิสุทธิชนในมิสซูรีในปี 1833 และเป็นความจริงสําหรับเราในปัจจุบัน ขณะที่ท่านอ่านสิ่งที่พระเจ้าตรัสกับวิสุทธิชนใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 98 และ 101 ให้ไตร่ตรองว่าข่าวสารของพระองค์ประยุกต์ใช้กับการทดลองและความยากลําบากต่างๆ ที่ท่านอาจมีได้อย่างไร ต่อไปนี้คือคำถามบางข้อและแหล่งช่วยที่จะช่วยท่านได้

หากการทดลองเป็นผลมาจาก:

  • การเลือกส่วนตัว: ท่านพบคําแนะนํา—และสัญญาอะไรบ้าง—ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 98:11–12; 101:1–9? ท่านเรียนรู้อะไรจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์? ท่านคิดว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงให้ท่านทำสิ่งใด?

  • การเลือกของผู้อื่น: ท่านพบการปลอบโยนอะไรใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 98:1–3, 22; 101:10–16, 22? พระเจ้าทรงประสงค์ให้เราตอบสนองต่อทารุณกรรม การข่มเหง หรือความรุนแรงอย่างไร? (ดู ความช่วยเหลือในชีวิต, “ทารุณกรรม,” คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) ข้อเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีที่เราจะวางใจพระเจ้า?

  • ความยากลําบากของความเป็นมรรตัย: ท่านได้รับมุมมองอะไรจาก หลักคําสอนและพันธสัญญา 98:1–3; 101:22–31, 36? ท่านเรียนรู้อะไรจากการทดลองของท่าน? ท่านกําลังทำอะไรเพื่อเชื้อเชิญให้พระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยเหลือท่าน? พระองค์ทรงช่วยเหลือท่านอย่างไร?

เพื่อเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสามารถทําให้ “สิ่งทั้งปวงซึ่งด้วยสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นที่เจ้าเป็นทุกข์ … ร่วมกันส่งผลเพื่อความดีของเจ้า” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 98:3) ท่านอาจศึกษาข่าวสารของเอ็ลเดอร์แอนโธนี ดี. เพอร์กินส์เรื่อง “ขอทรงนึกถึงวิสุทธิชนที่ทนทุกข์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า” (เลียโฮนา, พ.ย. 2021, 103–105) ท่านอาจมองหาข้อความในข่าวสารของเอ็ลเดอร์เพอร์กินส์ที่ช่วยให้ท่านเข้าใจว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื้อเชิญให้ท่านมองความท้าทายของท่านอย่างไร การทดลองของท่านร่วมกันส่งผลเพื่อความดีของท่านหรือทำให้จุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าบรรลุผลสำเร็จในทางใดบ้าง?

ดู โรม 8:28; 2 นีไฟ 2:2; หลักคําสอนและพันธสัญญา 90:24; ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “มาสู่ไซอัน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 46–50; “Trial of Adversity,” “รู้สึกถึงความรักและพระคุณความดีของพระเจ้าในการทดลอง,” “The Refiner’s Fire” (วีดิทัศน์), ChurchofJesusChrist.org ด้วย

2:3

Trial of Adversity

Katie, who was paralyzed in an auto accident, shares how she exercises her faith to embrace her new life.

4:17

Feeling the Lord's Love and Goodness in Trials

When Darlyn learned of her illness, she feared she would not see her children grow up. But through her trial, she felt the Lord’s love and immense goodness. How does He comfort you in times of trial?

4:58

The Refiner's Fire

The refiner’s fire is not a comfortable place to be. It involves intense heat and repeated hammering. But it is in the refiner’s fire we are purified and prepared to meet God.

หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:23–48

พระเจ้าทรงต้องการให้ฉันแสวงหาสันติภาพในวิธีของพระองค์

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า: “ผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ควรเป็นแบบอย่างให้ชาวโลกทำตาม ข้าพเจ้าขอร้องท่านให้ทําสุดความสามารถเพื่อยุติความขัดแย้งส่วนตัวที่กําลังลุกลามในใจและในชีวิตท่าน” (“พลังของแรงขับเคลื่อนทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2022, 97)

แม้ไม่ใช่ทุกอย่างใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:23–48 จะประยุกต์ใช้กับปฏิสัมพันธ์ส่วนตัวของท่านกับผู้อื่นได้ แต่ท่านพบหลักธรรมอะไรบ้างที่สามารถนำทางท่านให้ยุติความขัดแย้งส่วนตัวในชีวิต? ท่านอาจร้องเพลงเกี่ยวกับสันติภาพหรือการให้อภัย เช่น “ความจริงสะท้อนความรู้สึกเรา” (เพลงสวด บทเพลงที่ 137)

ภาพวาดพระเยซูคริสต์

ส่วนหนึ่งจากภาพ พระคริสต์กับเศรษฐีหนุ่ม โดย ไฮน์ริค ฮอฟแมนน์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 99–100

พระเจ้าทรงดูแลคนที่รับใช้พระองค์

การเปิดเผยใน ภาค 99 และ 100 ประทานแก่คนที่มีความรับผิดชอบสําคัญของศาสนจักรแต่กังวลเกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขาเช่นกัน ท่านพบอะไรในการเปิดเผยเหล่านี้ที่อาจช่วยพวกเขาได้? พระเจ้าทรงมีข่าวสารอะไรให้ท่านในการเปิดเผยเหล่านี้?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 101:43–65

การทำตามคำแนะนำของพระผู้เป็นเจ้าช่วยให้ฉันปลอดภัยเสมอ

อุปมาใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 101:43–62 อธิบายถึงสาเหตุที่พระเจ้าทรงยอมให้วิสุทธิชนถูกขับออกจากไซอัน ขณะที่ท่านอ่านข้อเหล่านี้ ท่านเห็นความคล้ายคลึงใดๆ หรือไม่ระหว่างตัวท่านกับคนใช้ในอุปมา? ท่านจะแสดงให้พระผู้เป็นเจ้าเห็นได้อย่างไรว่าท่าน “เต็มใจรับการนำทางในวิธีที่ถูกต้องและสมควรเพื่อความรอด [ของท่าน]”? (ดู ข้อ 63–65)

แสดงเรื่องราวหรืออุปมา บางครั้งการเรียนรู้และเชื่อมโยงกับเรื่องราวและอุปมาในพระคัมภีร์นั้นง่ายขึ้นเมื่อเราแทนตัวเราเป็นผู้คนที่พวกเขากล่าวถึง ถ้าท่านกําลังสอน หลักคําสอนและพันธสัญญา 101:43–62 ท่านอาจเชื้อเชิญให้ผู้เรียนแสดงอุปมาขณะที่บางคนอ่านออกเสียง ท่านได้ข้อคิดอะไรบ้างจากการแสดงท่าทางเข้ากับคําเหล่านั้น?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร เลียโฮนา และ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ฉบับเดือนนี้

ไอคอนหมวดเด็ก 03

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:1–3

พระเยซูคริสต์ทรงเปลี่ยนการทดลองของฉันให้เป็นพรได้

  • ท่านอาจเริ่มการสนทนาโดยถามเด็กเกี่ยวกับความท้าทายบางอย่างที่เด็กวัยพวกเขาเผชิญ จากนั้นท่านอาจอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 98:1–3 ด้วยกันและพูดคุยกันว่าพระเยซูคริสต์ทรงสามารถเปลี่ยนการทดลองเป็นพรได้อย่างไร ท่านอาจยกตัวอย่างให้เด็กฟังว่าพระองค์ทรงเปลี่ยนการทดลองของท่านเป็นพรอย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:39–40

พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยให้ฉันให้อภัย

หมายเหตุ: ขณะที่ท่านสอนให้เด็กๆ รู้ถึงความสำคัญของการให้อภัย พึงแน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจเช่นกันว่าถ้ามีคนทำร้ายพวกเขา พวกเขาควรบอกผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้เสมอ

  • บทที่ 34 และ 35 ใน เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา (128–134) จะช่วยท่านสอนว่าวิสุทธิชนได้รับการปฏิบัติอย่างไรในมิสซูรีในปี 1833 ท่านและเด็กอาจพูดคุยกันว่าวิสุทธิชนเหล่านี้อาจรู้สึกอย่างไร จากนั้นท่านอาจอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:23, 39–40 ด้วยกันเพื่อดูว่าพระเจ้าทรงต้องการให้วิสุทธิชนทำอะไร ท่านและเด็กอาจพูดถึงช่วงเวลาที่ท่านต้องให้อภัยใครบางคนและวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเหลือท่าน

  • ท่านอาจให้เด็กดูภาพหน้ายิ้มและหน้าเศร้าก็ได้ พูดถึงสถานการณ์ซึ่งมีคนที่ไม่มีใจกรุณา และเสนอแนะวิธีตอบสนอง ช่วยให้เด็กเลือกว่าการตอบสนองแต่ละอย่างจะทําให้พวกเขามีความสุขหรือเศร้าโดยชี้ไปที่ใบหน้าที่สอดคล้องกัน เหตุใดพระเจ้าทรงต้องการให้เราให้อภัยผู้อื่นทั้งที่คนเหล่านั้นทำไม่ดีต่อเรา?

2:42

Chapter 34: God Warns the People of Zion: July–August 1833

2:10

Chapter 35: The Saints Leave Jackson County, Missouri: September–December 1833

หลักคำสอนและพันธสัญญา 101:16, 23–32

พระเยซูคริสต์ทรงสามารถทำให้ฉันเกิดสันติ

  • หลังจากอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 101:16 แล้ว ช่วยให้เด็กรับรู้ความรู้สึกสงบที่เกิดขึ้นเมื่อเรานิ่งและคิดถึงพระเยซู—ตัวอย่างเช่น เมื่อเราสวดอ้อนวอนหรือรับศีลระลึก ท่านอาจร้องเพลงด้วยกันเกี่ยวกับความคารวะ เช่น “คารวะอย่างสงบ”(หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 11) เราจะรู้สึกถึงสันติสุขของพระองค์ในบ้านของเราได้อย่างไร?

  • เด็กอาจสนใจเรียนรู้ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จมาอีกครั้ง อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 101:23–32 ด้วยกัน และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาพบในข้อเหล่านี้ที่จะนําปีติมาสู่เราเมื่อพระองค์เสด็จมา เหตุใดการรู้เรื่องเหล่านี้เมื่อเรากำลังมีความยากลำบากจึงเป็นประโยชน์?

พระเยซูคริสต์ทรงกอดเด็ก

พระเยซูคริสต์จะทรงนําสันติสุขและปีติมาให้เมื่อพระองค์เสด็จมาอีกครั้ง

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

ภาพวาดของกลุ่มคนร้ายข่มเหงวิสุทธิชนยุคสุดท้ายในยุคแรก

มิสซูรีกําลังถูกเพลิงไหม้ โดย เกลน เอส. ฮ็อพคินสัน

หน้ากิจกรรมสําหรับเด็ก