จงตามเรามา
ภาคผนวก ข: สำหรับปฐมวัย—การเตรียมเด็กให้พร้อมอยู่บนเส้นทางพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าชั่วชีวิต


“ภาคผนวก ข: สำหรับปฐมวัย—การเตรียมเด็กให้พร้อมอยู่บนเส้นทางพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าชั่วชีวิต” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“ภาคผนวก ข” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

ภาคผนวก ข

สำหรับปฐมวัย: การเตรียมเด็กให้พร้อมอยู่บนเส้นทางพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าชั่วชีวิต

ในเดือนที่มีวันอาทิตย์ห้าวัน ขอให้ครูปฐมวัยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้หนึ่งกิจกรรมหรือมากกว่านั้นแทนโครงร่าง จงตามเรามา ที่กำหนดไว้สำหรับวันอาทิตย์ที่ห้า

หลักธรรมและศาสนพิธีของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

หลักคำสอนของพระคริสต์สอนเราให้รู้วิธีกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงปรากฏพระองค์ต่อผู้คนในอเมริกา พระองค์ทรงสอนหลักคำสอนแก่พวกเขา พระองค์ตรัสว่าเราจะเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าได้หากเรามีศรัทธา กลับใจ รับบัพติศมา รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ และอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ (ดู 3 นีไฟ 11:31–40; ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:29 ด้วย) กิจกรรมต่อไปนี้สามารถช่วยท่านสอนเด็กได้ว่าหลักธรรมและศาสนพิธีเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นตลอดชีวิตเรา

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักคำสอนของพระคริสต์ ให้ดู 2 นีไฟ 31

กิจกรรมที่ทำได้

  • แจกภาพแทนศรัทธาในพระเยซูคริสต์ การกลับใจ บัพติศมา และการยืนยันให้เด็กๆ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 1, 111, 103, และ 105) อ่านหรือท่อง หลักแห่งความเชื่อข้อสี่ กับเด็ก แล้วขอให้พวกเขาชูภาพของตนเมื่อพูดถึงหลักธรรมหรือศาสนพิธีนั้น ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าหลักธรรมและศาสนพิธีเหล่านี้แต่ละอย่างช่วยให้เราเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร

    Frontal head and shoulders portrait of Jesus Christ. Christ is depicted wearing a pale red robe with a white and blue shawl over one shoulder. Light emanates from the face.
  • ท่านจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้อย่างไรว่าศรัทธา การกลับใจ บัพติศมา และการยืนยันไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจบแต่มีอิทธิพลต่อการเติบโตทางวิญญาณของเราไปตลอดชีวิต? ตัวอย่างเช่น ท่านอาจให้ดูภาพเมล็ดพืชและต้นไม้ใหญ่ (หรือวาดภาพสิ่งเหล่านี้บนกระดาน) ช่วยให้พวกเขานึกถึงสิ่งที่ช่วยให้เมล็ดเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เช่น น้ำ ดิน และแสงแดด ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เหมือนสิ่งที่เราทำเพื่อเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์ การกลับใจในแต่ละวัน การดำเนินชีวิตตามพันธสัญญาบัพติศมาของเรา การรับศีลระลึก และการฟังพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • เล่าเรื่องประทัดจากข่าวสารของเอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์เรื่อง “การกลับใจจะช่วยให้ฉันรู้สึกมีความสุขได้อย่างไร?” (เพื่อนเด็ก, ธ.ค. 2017, 12–13 หรือ เลียโฮนา, ธ.ค. 2017, 70–71; ดูวีดิทัศน์ “การกลับใจ: การเลือกอันน่าปีติยินดี” [คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ] ด้วย) ให้เด็กคิดระหว่างเล่าเรื่องแต่ละช่วงว่าเอ็ลเดอร์เรนลันด์น่าจะรู้สึกอย่างไร ทำไมเรารู้สึกปีติยินดีเมื่อเรากลับใจ? บอกเด็กเรื่องปีติและความรักที่ท่านรู้สึกเมื่อท่านทูลขอให้พระบิดาบนสวรรค์ทรงให้อภัยท่าน

4:36

Repentance: A Joyful Choice

Elder Dale G. Renlund tells a childhood story of lighting a firecracker in the chapel right before church began. He relates his story to the joy of repentance.

บัพติศมา

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างสำหรับฉันเมื่อพระองค์ทรงรับบัพติศมา

แม้พระเยซูทรงปราศจากบาป แต่ทรงรับบัพติศมาเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมของการเชื่อฟังพระบิดาบนสวรรค์ (ดู 2 นีไฟ 31:6–10)

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบัพติศมา ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพบัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอดและบัพติศมาของอีกคน (หรือดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 35 และภาพที่ 103 หรือ 104) ขอให้เด็กแบ่งปันว่าภาพทั้งสองแตกต่างและเหมือนกันอย่างไร อ่าน มัทธิว 3:13–17 หรือ “บทที่ 10: พระเยซูทรงรับบัพติศมา” ด้วยกันใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 26–29 (หรือวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกันในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) ให้เด็กชี้สิ่งต่างๆ ในภาพที่ถูกพูดถึงในการอ่านหรือในวีดิทัศน์ บอกเด็กเกี่ยวกับความรักที่ท่านมีต่อพระผู้ช่วยให้รอดและความปรารถนาของท่านที่จะทำตามพระองค์

    1:51

    Chapter 10: Jesus Is Baptized

  • ฟังหรือร้องเพลงๆ หนึ่งเกี่ยวกับบัพติศมา เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับบัพติศมาจากเพลงนี้? อ่าน 2 นีไฟ 31:9–10 แล้วให้เด็กฟังว่าทำไมพระเยซูคริสต์ทรงรับบัพติศมา ให้พวกเขาวาดภาพตนเองในวันบัพติศมา

ฉันสามารถเลือกทำพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้าแล้วรับบัพติศมา

การเตรียมตัวให้พร้อมรับบัพติศมามีความหมายมากกว่าการเตรียมตัวเข้าร่วมเหตุการณ์หนึ่ง แต่หมายถึงการเตรียมทำพันธสัญญาแล้วรักษาพันธสัญญานั้นชั่วชีวิต ไตร่ตรองว่าท่านจะช่วยให้เด็กเข้าใจพันธสัญญาที่พวกเขาจะทำกับพระบิดาบนสวรรค์เมื่อรับบัพติศมาได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงสัญญาที่ทรงทำกับพวกเขาและสัญญาที่พวกเขาทำกับพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • อธิบายว่าพันธสัญญาคือสัญญาระหว่างคนหนึ่งกับพระบิดาบนสวรรค์ เมื่อเรามุ่งมั่นรักษาสัญญาที่ทำไว้กับพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงสัญญาว่าจะให้พรเรา เขียนบนกระดานว่า สัญญาที่ฉันทำกับพระผู้เป็นเจ้า และ สัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำกับฉัน อ่าน โมไซยาห์ 18:10, 13 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37 ด้วยกัน แล้วช่วยเด็กเขียนสัญญาที่พวกเขาพบไว้ใต้หัวข้อที่เหมาะสม (ดู ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “พันธสัญญาบัพติศมาของท่าน,” เพื่อนเด็ก, ก.พ. 2021, 2–3 ด้วย) แบ่งปันวิธีที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงอวยพรท่านขณะท่านมุ่งมั่นที่จะรักษาพันธสัญญาบัพติศมาของท่าน

  • ให้เด็กดูภาพสิ่งต่างๆ ที่พระเยซูทรงทำขณะทรงปฏิบัติศาสนกิจ (ตัวอย่างเช่น ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 33–49) ให้เด็กพูดคุยกันว่าพระเยซูทรงทำอะไรในแต่ละภาพ อ่าน โมไซยาห์ 18:8–10, 13 แล้วให้เด็กฟังสิ่งที่พวกเขาสัญญาว่าจะทำเมื่อได้รับบัพติศมา (ดู “พันธสัญญาบัพติศมา,” เพื่อนเด็ก, ก.พ. 2019, 7 หรือ เลียโฮนา, ก.พ. 2019, พ3 ด้วย) สัญญาเหล่านี้จะมีผลต่อการกระทำของเราทุกวันอย่างไร? ให้เด็กวาดภาพตนเองกำลังช่วยเหลือคนบางคนแบบที่พระเยซูจะทรงทำ

    Jesus Christ depicted as a child with his mother Mary. Christ is kneeling beside Mary and resting His clasped hands on Mary's lap. Mary has her head bowed as she and the young Christ pray. There is an oil lamp burning on a table next to the mother and son.
บัพติศมา

เมื่อเรารับบัพติศมาเราทำสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า และพระองค์ทรงทำสัญญากับเรา

การยืนยัน

เมื่อฉันรับการยืนยัน ฉันเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

การได้เป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายนำพรมากมายมาให้ รวมถึงโอกาสที่เด็กจะเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แข็งขันในงานของพระผู้เป็นเจ้า

หากต้องการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการยืนยันและของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดู แกรีย์ อี. สตีเวนสัน “พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยท่านอย่างไร?,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 117–120

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชิญคนที่เพิ่งรับบัพติศมาและการยืนยันมาชั้นเรียนและเล่าว่าการยืนยันเป็นอย่างไร ขอให้บุคคลนี้เล่าว่าการเป็นสมาชิกของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายมีความหมายต่อเขาอย่างไร ช่วยเด็กคิดวิธีที่พวกเขาจะรักษาพันธสัญญาบัพติศมาในฐานะสมาชิกของศาสนจักร (เช่น รับใช้ผู้อื่น เชิญชวนผู้อื่นให้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระเยซู เป็นผู้สวดอ้อนวอนในที่ประชุม และอื่นๆ) แบ่งปันว่าการทำสิ่งเหล่านี้ได้ช่วยให้ท่านรู้สึกถึงปีติของการเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์อย่างไร

  • ให้ดูภาพผู้คนที่ผืนน้ำแห่งมอรมอน (ดู หนังสือภาพพระกิตคุณ ภาพที่ 76) และขอให้เด็กบรรยายสิ่งที่พวกเขาเห็นในภาพ เล่าเรื่องแอลมากับผู้คนของเขารับบัพติศมาที่นั่น (ดู โมไซยาห์ 18:1–17; “บทที่ 15: แอลมาสอนและให้บัพติศมา” ใน เรื่องราวจากพระคัมภีร์มอรมอน, 43–44 หรือวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) ทบทวน โมไซยาห์ 18:8–9 แล้วเชื้อเชิญให้เด็กทำท่าประกอบเพื่อช่วยให้พวกเขาจดจำสิ่งต่างๆ ที่ผู้คนเต็มใจทำในฐานะสมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์ ตัวอย่างเช่น เราจะช่วยให้ผู้อื่น “ก้าวไปสู่การทําพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า” ได้อย่างไร? (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ความหวังอิสราเอล” [การให้ข้อคิดทางวิญญาณสำหรับเยาวชนทั่วโลก, 3 มิ.ย. 2018], คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) แบ่งปันประสบการณ์เมื่อท่านได้เห็นสมาชิกศาสนจักรรับใช้ในวิธีเหล่านี้

    The Book of Mormon prophet Alma baptizing Nephite converts in the Waters of Mormon. Other men and women are watching or waiting to be baptized. There are trees and mountains in the background. Scriptural reference: Mosiah 18:5-16
    2:9

    Chapter 15: Alma Teaches and Baptizes

เมื่อฉันได้รับการยืนยัน ฉันได้รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์

เมื่อเรารับบัพติศมาและการยืนยัน พระบิดาบนสวรรค์ทรงสัญญาว่าเรา “จะมีพระวิญญาณของพระองค์อยู่กับ [เรา] ตลอดเวลา” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:77) นี่คือของประทานอันประเสริฐจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเรียกว่าของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 33:15 แล้วขอให้เด็กฟังเรื่องของประทานพิเศษที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานแก่เราเมื่อเรารับบัพติศมาและการยืนยัน หากต้องการให้เด็กเรียนรู้มากขึ้นว่าของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์จะช่วยพวกเขาอย่างไร ให้ทบทวน ยอห์น 14:26; กาลาเทีย 5:22–23; 2 นีไฟ 32:5; 3 นีไฟ 27:20 ด้วยกัน ท่านอาจทบทวนบทความเรื่อง “พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็น …” (เพื่อนเด็ก, มิ.ย. 2019, 24–25 หรือ เลียโฮนา, มิ.ย. 2019, พ12–พ13) ด้วย

  • ก่อนเริ่มชั้นเรียน ขอให้พ่อแม่ของเด็กหนึ่งคนหรือมากกว่าแบ่งปันว่าพวกเขาได้รับพรอย่างไรเพราะมีของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์ทรงช่วยพวกเขาอย่างไร? พวกเขาได้ยินสุรเสียงของพระองค์อย่างไร?

  • ร้องเพลงเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ด้วยกัน เช่น เพลง “พระวิญญาณบริสุทธิ์” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 56) ช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เพลงสอนเราเกี่ยวกับวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสามารถช่วยเหลือเรา

พระวิญญาณบริสุทธิ์ตรัสกับฉันได้ในหลายวิธี

เด็กที่สามารถรับรู้สุรเสียงของพระวิญญาณจะพร้อมรับการเปิดเผยส่วนตัวเพื่อนำทางพวกเขาตลอดชีวิต ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่ามีหลายวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะตรัสกับเราได้

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยเด็กคิดวิธีต่างๆ ที่เราใช้คุยกับเพื่อนที่อยู่ไกล เช่น เขียนจดหมาย ส่งอีเมล หรือคุยทางโทรศัพท์ สอนพวกเขาว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงสามารถตรัสกับเราในวิธีต่างๆ ผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ ใช้ข่าวสารจากประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ “พระบิดาบนสวรรค์ตรัสกับเราอย่างไร?” เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีต่างๆ ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถตรัสในความคิดและใจเรา (เพื่อนเด็ก, มี.ค. 2020, 2–3 หรือ เลียโฮนา, มี.ค. 2020, พ2–พ3)

  • แบ่งปันประสบการณ์เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสื่อสารกับท่าน ไม่ว่าผ่านความคิดหรือผ่านความรู้สึกในใจท่าน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:22–23; 8:2–3; ดู เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “เปิดใจรับพระวิญญาณบริสุทธิ์,” เพื่อนเด็ก, ส.ค. 2019, 2–3 หรือ เลียโฮนา, ส.ค. 2019, พ2–พ3 ด้วย) เป็นพยานต่อเด็กว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยเหลือพวกเขาได้คล้ายๆ กัน

  • ช่วยให้เด็กรับรู้ถึงเวลาที่พวกเขารู้สึกถึงพระวิญญาณ—ตัวอย่างเช่น ตอนร้องเพลงเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดหรือแสดงน้ำใจต่อผู้อื่น ช่วยให้พวกเขารับรู้ความรู้สึกทางวิญญาณที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนํามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นเตือนของพระองค์ให้กระทำ ท่านคิดว่าเหตุใดพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงประทานความรู้สึกเหล่านี้แก่เรา? ช่วยให้เด็กคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เราจำเป็นต้องทำเพื่อได้ยินพระวิญญาณบริสุทธิ์ตรัสกับเรา คุยกันถึงสิ่งที่ท่านทำเพื่อให้ได้ยินพระวิญญาณชัดเจนขึ้น

ศีลระลึก

เมื่อรับศีลระลึก ฉันระลึกถึงการพลีพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดและต่อพันธสัญญาของฉัน

พระผู้ช่วยให้รอดประทานศีลระลึกแก่เราเพื่อช่วยให้เราระลึกถึงการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อเราและต่อพันธสัญญาของเรา

หากต้องการเรียนรู้มากขึ้น ดู มัทธิว 26:26–30; 3 นีไฟ 18:1–12; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:77, 79

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญเด็กๆ ระบายสีภาพ “พระเยซูทรงแนะนำศีลระลึกให้แก่ชาวนีไฟ” ใน สมุดภาพระบายสีเรื่องราวจากพระคัมภีร์: พระคัมภีร์มอรมอน (2019), 26 ขอให้เด็กชี้สิ่งที่คนในภาพกำลังนึกถึง อ่านข้อความบางส่วนต่อไปนี้ให้เด็กๆ ฟัง 3 นีไฟ 18:1–12 หรือ “บทที่ 45: พระเยซูคริสต์ทรงสอนเรื่องศีลระลึกและการสวดอ้อนวอน” ใน เรื่องราวจากพระคัมภีร์มอรมอน, 126–127 (หรือดูวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อระลึกถึงพระเยซูคริสต์ระหว่างศีลระลึก?

    1:50

    Chapter 45: Jesus Christ Teaches About The Sacrament And Prayer

  • ขอให้เด็กบอกท่านเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาควรจดจำและทำอยู่เสมอ เช่น การผูกเชือกรองเท้าหรือล้างมือก่อนรับประทานอาหาร เหตุใดการจดจำสิ่งเหล่านี้จึงสำคัญ? อ่าน โมโรไน 4:3 ให้เด็กฟัง แล้วเชื้อเชิญพวกเขาให้ตั้งใจฟังสิ่งที่เราสัญญาว่าจะระลึกถึงตลอดเวลาเมื่อรับศีลระลึก เหตุใดการระลึกถึงพระเยซูคริสต์จึงสำคัญ? ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าขนมปังและน้ำศีลระลึกช่วยให้เราระลึกถึงสิ่งที่พระเยซูทรงทำเพื่อเราอย่างไร (ดู โมโรไน 4:3; 5:2)

  • เขียนบนกระดานว่า “ฉันสัญญาว่าจะ …” อ่านคำสวดอ้อนวอนศีลระลึกให้เด็กฟัง (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:77, 79) เมื่อเด็กได้ยินสัญญาอย่างหนึ่งที่เราทำกับพระผู้เป็นเจ้า ให้หยุดแล้วช่วยพวกเขาเติมประโยคบนกระดานให้สมบูรณ์เกี่ยวกับสัญญาที่ได้ยิน ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเมื่อเรารับศีลระลึก เรากำลังทำสัญญาต่างๆ เหมือนกับที่เราทำตอนรับบัพติศมา

  • การรับพระนามของพระเยซูคริสต์ไว้กับเราหมายความว่าอย่างไร? หากต้องการช่วยให้เด็กๆ ตอบคำถามนี้ได้ แบ่งปันตัวอย่างบางสิ่งที่เราใส่ชื่อของเราลงไป เหตุใดเราจึงใส่ชื่อเราไว้บนสิ่งเหล่านี้? เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงทรงประสงค์จะให้พระนามของพระองค์อยู่กับเรา? ท่านอาจแบ่งปันคำอธิบายนี้จากประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน: “การรับพระนามของพระผู้ช่วยให้รอดหมายรวมถึงการประกาศและการเป็นพยานต่อผู้อื่น—ผ่านการกระทำและวาจาของเรา—ว่าพระเยซูคือพระคริสต์” (“ชื่อที่ถูกต้องของศาสนจักร,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 88)

พลังอำนาจ สิทธิอำนาจ และกุญแจฐานะปุโรหิต

พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรบุตรธิดาของพระองค์ผ่านพลังอำนาจฐานะปุโรหิต

บุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าทุกคน หญิงและชาย เยาว์วัยและสูงวัย ล้วนได้รับพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าเมื่อพวกเขารักษาพันธสัญญาที่ได้ทำไว้กับพระองค์ เราทำพันธสัญญาเหล่านี้เมื่อเราได้รับศาสนพิธีฐานะปุโรหิต เช่น บัพติศมา (ดู คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย, 3.5, 3.6, คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) หากต้องการเรียนรู้มากขึ้น ดู รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน “ทรัพย์สมบัติทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 76–79; “หลักธรรมฐานะปุโรหิตบทที่ 3 ใน คู่มือทั่วไป.

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยให้เด็กสังเกตพรที่พวกเขาได้รับจากฐานะปุโรหิต ให้พิจารณาการเขียนพรเหล่านี้เป็นข้อๆ ไว้บนกระดาน เหตุใดพรเหล่านี้จึงสำคัญต่อเรา? เป็นพยานว่าพรเหล่านี้มาถึงเราได้โดยพระเยซูคริสต์และพลังอำนาจฐานะปุโรหิตของพระองค์

    2:3

    พรของฐานะปุโรหิต

    ฐานะปุโรหิตเป็นพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมอบให้กับชายเพื่อกระทำในพระนามของพระองค์

  • ช่วยเด็กหาภาพที่แสดงให้เห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงใช้พลังอํานาจของพระองค์เป็นพรแก่เราอย่างไร ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจหาภาพโลกที่พระองค์ทรงสร้างให้เรา แบบอย่างของการรักษาคนป่วย และศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่พระองค์ทรงจัดเตรียมไว้ให้เรา (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 3, 46, 104, 105, 107, 120) แบ่งปันว่าเหตุใดท่านจึงสำนึกคุณต่อฐานะปุโรหิตและพรที่ได้รับ ช่วยให้เด็กนึกถึงประสบการณ์เมื่อพวกเขาได้รับพรจากอํานาจฐานะปุโรหิตของพระผู้เป็นเจ้า

    A girl with long brown hair, wearing a white jumpsuit, being baptized in a baptismal font by a man in a white shirt and tie.
  • หนึ่งในวิธีหลักๆ ที่เราได้รับพรแห่งเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตเราคือผ่านศาสนพิธีฐานะปุโรหิต (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:20) หากต้องการช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ความจริงข้อนี้ ท่านอาจเขียนรายการข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: 3 นีไฟ 11:21–26, 33 (บัพติศมา); โมโรไน 2 (การยืนยัน); โมโรไน 4–5 (ศีลระลึก) เด็กจะเลือกคนละหนึ่งข้อแล้วบอกชื่อศาสนพิธีที่ข้อนั้นพูดถึง เชื้อเชิญให้เด็กๆ แบ่งปันว่าพวกเขาเคยได้รับพรส่วนตัวอย่างไรบ้างจากการรับศาสนพิธีฐานะปุโรหิต

  • ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าพวกเขาจะได้รับพลังอำนาจจากพระผู้เป็นเจ้าเมื่อรับบัพติศมาและรักษาพันธสัญญาบัพติศมาของตน ถามเด็กว่าพลังอำนาจนี้จะช่วยพวกเขาได้อย่างไร

งานของพระผู้เป็นเจ้าได้รับการกำกับดูแลโดยกุญแจฐานะปุโรหิตและเกิดสัมฤทธิผลได้โดยสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิต

เมื่อใดก็ตามที่บุคคลหนึ่งได้รับการวางมือมอบหน้าที่สำหรับการเรียกหรือการมอบหมายให้ช่วยงานของพระผู้เป็นเจ้า เขาสามารถใช้สิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตที่มอบหมายให้ได้ นอกจากนี้ สมาชิกชายที่มีค่าควรของศาสนจักรจะได้รับการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งในฐานะปุโรหิต การใช้สิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตทั้งหมดในศาสนจักรได้รับการกำกับดูแลโดยผู้ถือกุญแจฐานะปุโรหิต เช่น ประธานสเตค อธิการ และประธานโควรัม กุญแจฐานะปุโรหิตคือสิทธิอำนาจในการกำกับดูแลการใช้ฐานะปุโรหิตทำงานของพระเจ้า

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน มาระโก 3:14–15 กับเด็ก และให้ดูภาพเหตุการณ์ที่อธิบายไว้ในข้อพระคัมภีร์นั้น (เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 38) ถามเด็กว่าพวกเขาเคยเห็นคนได้รับการวางมือมอบหน้าที่สู่การเรียกหรือการวางมือแต่งตั้งสู่ตำแหน่งฐานะปุโรหิตหรือไม่ (หรือเล่าประสบการณ์ของท่านให้พวกเขาฟัง) นั่นคล้ายกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำกับอัครสาวกของพระองค์อย่างไร? ช่วยเด็กเขียนชื่อการเรียกต่างๆ หรือตำแหน่งฐานะปุโรหิตที่สามารถให้กับสมาชิกศาสนจักรไว้บนกระดาน เช่น ครูหรือผู้นำในองค์การ ท่านอาจเขียนสิ่งที่ผู้มีการเรียกหรือตำแหน่งแต่ละอย่างมีสิทธิอำนาจที่จะทำ โดยเขียนต่อจากการเรียกหรือตำแหน่งนั้นๆ ที่เขียนไว้แล้วบนกระดาน บอกเด็กว่าการได้รับการวางมือมอบหน้าที่โดยใครบางคนด้วยการกำกับดูแลของกุญแจฐานะปุโรหิตช่วยท่านในการรับใช้อย่างไร

    Christ with the twelve men chosen by Him to be His Apostles. Christ has His hands upon the head of one of the men (who kneels before Him) as He ordains the man to be an Apostle. The other eleven Apostles are standing to the left and right of Christ.
  • เชื้อเชิญเด็กให้นึกถึงสิ่งที่จำเป็นต้องใช้กุญแจไข เช่น รถหรือประตู จะเกิดอะไรขึ้นถ้าท่านไม่มีกุญแจ? อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 65:2 ด้วยกัน แล้วแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกุญแจฐานะปุโรหิต ท่านอาจจะให้ดูวีดิทัศน์ “กุญแจอยู่ที่ไหน?” ด้วยก็ได้ (คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) และมองหาสิ่งที่เอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันสอนเกี่ยวกับกุญแจฐานะปุโรหิต

    2:51

    Where Are the Keys?

    Priesthood authority and keys start the engine, open the gates of heaven, facilitate heavenly power, and pave the covenant pathway back to our Heavenly Father.

พระวิหารและแผนแห่งความสุข

พระวิหารเป็นพระนิเวศน์ของพระเจ้า

พระวิหารเป็นส่วนหนึ่งในแผนของพระบิดาบนสวรรค์สำหรับบุตรธิดาของพระองค์ ในพระวิหารเราทำพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์กับพระองค์ รับเอ็นดาวเม้นท์ด้วยพลังอำนาจฐานะปุโรหิต รับการเปิดเผย ประกอบศาสนพิธีแทนบรรพชนของเราที่ถึงแก่กรรมแล้ว และรับการผนึกกับครอบครัวของเราเพื่อนิรันดร ทั้งหมดนี้เป็นไปได้เพราะพระเยซูคริสต์และการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระองค์

ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนรับรู้ความศักดิ์สิทธิ์ของพระนิเวศน์ของพระเจ้าและเตรียมตนเองให้มีค่าควรที่จะมีส่วนร่วมในศาสนพิธีพระวิหารได้อย่างไร? ท่านอาจทบทวนแหล่งช่วยต่อไปนี้: หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:15–17; รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “คำปราศรัยปิดการประชุม,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 120–122; temples.ChurchofJesusChrist.org

เยาวชนนอกพระวิหาร

พระวิหารเป็นส่วนหนึ่งในแผนของพระบิดาบนสวรรค์สำหรับบุตรธิดาของพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพพระวิหารหนึ่งภาพหรือมากกว่านั้น ถามเด็กว่าอะไรทำให้พระวิหารเป็นสถานที่พิเศษ ชี้ให้เห็นว่าพระวิหารแต่ละแห่งมีคำจารึกนี้อยู่: “ศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้า พระนิเวศน์ของพระเจ้า” ถามเด็กว่าพวกเขาคิดว่า “ศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้า” หมายความว่าอย่างไร เหตุใดจึงเรียกพระวิหารว่าพระนิเวศน์ของพระเจ้า? สิ่งนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับพระวิหาร? ถ้ามีเด็กคนไหนเคยไปพระวิหาร พวกเขาอาจแบ่งปันได้ด้วยว่ารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ที่นั่น ถ้าท่านเคยไปพระวิหาร แบ่งปันว่าท่านมีความรู้สึกอย่างไรถึงการประทับอยู่ที่นั่นของพระเจ้า และพูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับเหตุผลที่พระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับท่าน

  • อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:15–17 ด้วยกัน ขอให้เด็กมองหาสิ่งที่พระเจ้าทรงคาดหวังจากผู้ที่เข้าพระนิเวศน์ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ เหตุใดเราจำเป็นต้องมีค่าควรที่จะเข้าพระนิเวศน์ของพระองค์? เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้ ให้พูดคุยกับเด็กเรื่องใบรับรองพระวิหาร รวมถึงวิธีได้ใบรับรอง ท่านอาจเชิญสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการมาแบ่งปันกับเด็กว่าการสัมภาษณ์ใบรับรองพระวิหารเป็นอย่างไรรวมทั้งคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ด้วย

ในพระวิหารเราทำพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า “พระเยซูคริสต์ทรงเชื้อเชิญให้เราใช้เส้นทางพันธสัญญากลับบ้านไปหาพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์และอยู่กับคนที่เรารัก” (“มาติดตามเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 91) ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเส้นทางพันธสัญญารวมถึง บัพติศมา การยืนยัน เอ็นดาวเม้นท์และการผนึกในพระวิหาร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กช่วยท่านทบทวนพันธสัญญาที่เราทำกับพระผู้เป็นเจ้าเมื่อเรารับบัพติศมาซึ่งเราต่อพันธสัญญานั้นใหม่เมื่อรับส่วนศีลระลึก (ดู โมไซยาห์ 18:10; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:77, 79) ให้ดูภาพพระวิหารแล้วอธิบายว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงมีพรอีกมากมายที่ประสงค์จะประทานแก่เราในพระวิหาร

  • วาดภาพประตูที่พาไปถึงทางเดิน ถามเด็กว่าเหตุใดพวกเขาจึงคิดว่าการมีทางเดินนั้นมีประโยชน์ อ่าน 2 นีไฟ 31:17–20 ด้วยกัน นีไฟเปรียบเทียบพันธสัญญาบัพติศมากับประตูและเชื้อเชิญให้เราอยู่บนทางนั้นต่อไปหลังจากบัพติศมา มีพันธสัญญาให้ทำอีกหลังบัพติศมา รวมถึงพันธสัญญาที่ทำในพระวิหาร อธิบายว่าประธานเนลสันเรียกเส้นทางนี้ว่า “เส้นทางพันธสัญญา”

ในพระวิหาร เราสามารถรับบัพติศมาและการยืนยันแทนบรรพชนของเราผู้ล่วงลับไปแล้ว

พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ทำให้การกลับไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าเป็นไปได้สำหรับบุตรธิดาทุกคนของพระองค์ แม้พวกเขาจะตายไปโดยไม่รู้พระกิตติคุณ ในพระวิหารเราสามารถรับบัพติศมาและรับการยืนยันเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แทนพวกเขา

กิจกรรมที่ทำได้

  • พูดถึงเวลาที่มีคนทำบางอย่างให้ท่านซึ่งท่านไม่สามารถทำด้วยตนเองได้ ให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์คล้ายๆ กัน อธิบายว่าเมื่อเราไปพระวิหาร เราสามารถรับศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่น บัพติศมาแทนคนอื่นๆ ที่ล่วงลับไปแล้วได้ เรากำลังเป็นเหมือนพระเยซูอย่างไรเมื่อเราทำงานแทนคนตาย? พระองค์ทรงทำอะไรเพื่อเราซึ่งเราไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง?

  • เชื้อเชิญเยาวชนหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นที่เคยรับบัพติศมาแทนบรรพชนมาเล่าประสบการณ์ของพวกเขา ถามพวกเขาว่าในพระวิหารเป็นอย่างไร กระตุ้นให้แบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับการทำงานนี้แทนบรรพชนของพวกเขา

  • วาดต้นไม้บนกระดานที่มีทั้งรากและกิ่ง ขอให้เด็กนึกว่าครอบครัวเหมือนต้นไม้อย่างไร เขียนบริเวณรากว่า บรรพชน เขียนบริเวณกิ่งว่า ผู้สืบตระกูล และเขียนที่ลำต้นว่า ท่าน อ่านประโยคนี้ด้วยกันจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:18: “เพราะเราโดยไม่มีพวกเขา [บรรพชนของเรา] พระองค์จะทรงทำให้ดีพร้อมไม่ได้; ทั้งพวกเขาโดยไม่มีเราพระองค์จะทรงทำให้ดีพร้อมไม่ได้” ถามคำถามทำนองนี้: “เหตุใดเราจำเป็นต้องมีบรรพชน? เหตุใดบรรพชนของเราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาเรา? พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และบรรพชนคนอื่นๆ ช่วยเหลือเราอย่างไร?” เชื้อเชิญให้เด็กค้นคว้าส่วนที่เหลือใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:18 เพื่อหาวลีที่บรรยายวิธีที่เราสามารถช่วยเหลือบรรพชนของเราได้

  • ท่านอาจทํางานกับบิดามารดาของเด็กแต่ละคนเพื่อค้นหาชื่อบรรพชนที่ต้องการศาสนพิธีในพระวิหาร (ดู FamilySearch.org)