พันธสัญญาใหม่ 2023
6–12 พฤศจิกายน ฮีบรู 7–13: “มหา‍ปุ‌โร‌หิต​แห่ง​บรร‌ดา​สิ่ง​ประ‌เสริฐ​ซึ่ง​มา​ถึง​แล้ว”


“6–12 พฤศจิกายน ฮีบรู 7–13: ‘มหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐซึ่งมาถึงแล้ว,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“6–12 พฤศจิกายน ฮีบรู 7–13,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

ภาพ
เมลคีเซเดคให้พรอับราม

เมลคีเซเดคให้พรอับราม โดย วอลเตอร์ เรน ของขวัญจากศิลปิน

6–12 พฤศจิกายน

ฮีบรู 7–13

“มหาปุโรหิตแห่งบรรดาสิ่งประเสริฐซึ่งมาถึงแล้ว”

ขณะที่ท่านอ่าน ฮีบรู 7–13 ท่านอาจได้รับความประทับใจผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ พิจารณาวิธีที่ท่านจะบันทึกความประทับใจเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ท่านอาจบันทึกไว้ในโครงร่างนี้ ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ของท่าน หรือในสมุดจดหรือสมุดบันทึกประจำวัน

บันทึกความประทับใจของท่าน

แม้แต่วิสุทธิชนที่ซื่อสัตย์บางครั้งก็ต้องทน “อับอายขายหน้าและถูกข่มเหง” ซึ่งสามารถสั่นคลอนความมั่นใจของพวกเขาได้ (ดู ฮีบรู 10:32–38) เปาโลรู้ว่าชาวยิวที่เปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่ศาสนาคริสต์กำลังประสบการข่มเหงอย่างหนักเพราะความเชื่อใหม่ของพวกเขา เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเขาแน่วแน่ต่อประจักษ์พยานของตน เขาจึงเตือนคนเหล่านั้นให้นึกถึงผู้เชื่อที่ซื่อสัตย์มายาวนานจากประวัติศาสตร์ของพวกเขา อาทิ อาเบล เอโนค โนอาห์ อับราฮัม ซารา โยเซฟ โมเสส—“พยานมากมาย” ที่ยืนยันว่าสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าเป็นจริงและคุ้มกับการรอคอย (ดู ฮีบรู 12:1; 12:1) ประเพณีนี้เป็นของท่านเช่นกัน ทุกคนที่จับตามองที่ “พระเยซู [ในฐานะ] ผู้เบิกทางความเชื่อและผู้กระทำให้ความเชื่อนั้นสมบูรณ์” ล้วนมีส่วนในมรดกของศรัทธา (ฮีบรู 12:2) เนื่องจากพระองค์ เมื่อใดก็ตามที่ความยากลำบากทำให้เราอยาก “หันกลับ” เราจึงสามารถ “เข้าไปใกล้ด้วยใจจริงด้วยความไว้ใจเต็มที่” แทน (ฮีบรู 10:22, 38) สำหรับเรา เฉกเช่นสำหรับวิสุทธิชนสมัยโบราณ พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “มหาปุโรหิตแห่งบรรดาสิ่งประเสริฐซึ่งมาถึงแล้ว” (ฮีบรู 9:11)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

ฮีบรู 7

ฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคชี้ให้ฉันไปหาพระเยซูคริสต์

ชาวยิวใช้ฐานะปุโรหิตเลวีซึ่งเรียกกันว่าฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนมาหลายศตวรรษ แต่ฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคที่สูงกว่ามาพร้อมความสมบูรณ์ในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ซึ่งมอบพรที่สูงกว่า ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคจาก ฮีบรู 7? โดยจำไว้ว่าจุดประสงค์ของสาส์นฉบับนี้—เช่นเดียวกับพระคัมภีร์ทั้งหมด—คือการสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ท่านอาจสังเกตข้อพระคัมภีร์ที่เป็นพยานถึงพระองค์

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างความจริงอื่นๆ ที่ท่านจะพบ:

ท่านเคยได้รับพรอะไรบ้างจากฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคและ “ศาสนพิธีของพระกิตติคุณนั้น”? (หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:20) ฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคช่วยให้ท่านมาหาพระคริสต์อย่างไร?

ดู แอลมา 13:1–13; หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:36–46 ; คู่มือพระคัมภีร์, “เมลคีเซเดค,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org; รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ทรัพย์สมบัติทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 76–79; ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “ฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคและกุญแจ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 69–72 ด้วย

ฮีบรู 9; 10:1–22

ศาสนพิธีสมัยโบราณและปัจจุบันบอกเป็นนัยถึงพระเยซูคริสต์

ชาวฮีบรูผู้อ่านสาส์นนี้ตั้งแต่แรกจะคุ้นเคยมากกับพลับพลาสมัยโบราณและศาสนพิธีที่เปาโลพูดถึง แต่บางคนไม่ยอมรับอย่างเต็มที่ว่าจุดประสงค์ของศาสนพิธีเหล่านี้บอกเป็นนัยถึงการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ในสมัยพระคัมภีร์ไบเบิล ในวันหยุดประจำปีที่เรียกว่าวันแห่งการชดใช้ มหาปุโรหิตเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์ที่สุด (หรืออภิสุทธิสถาน) ในพระวิหารเยรูซาเล็มและถวายแพะหรือลูกแกะเป็นเครื่องบูชาชดใช้บาปของอิสราเอล

ขณะที่ท่านอ่านคำอธิบายของเปาโลเกี่ยวกับศาสนพิธีเหล่านี้ ให้มองหาสัญลักษณ์และคำสอนที่ช่วยให้ท่านเข้าใจการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดได้ดีขึ้น

ศาสนพิธีที่เราเข้าร่วมในวันนี้แตกต่างจากสมัยของเปาโล แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน ศาสนพิธีวันนี้เป็นพยานต่อท่านถึงพระเยซูคริสต์อย่างไร?

ฮีบรู 11

ศรัทธาเรียกร้องให้วางใจในพระสัญญาของพระผู้เป็นเจ้า

ถ้ามีคนขอให้ท่านนิยามคำว่าศรัทธา ท่านจะพูดว่าอย่างไร? ซิสเตอร์แอนน์ ซี. พิงกรีใช้ภาษาจาก ฮีบรู 11 เพื่อให้คำจำกัดความของศรัทธานี้: “ความสามารถทางวิญญาณในการถูกโน้มน้าวให้เชื่อสัญญาที่มองเห็น ‘ตั้งแต่ไกล’ แต่อาจไม่ได้รับในชีวิตนี้” (“ได้เห็นสิ่งที่ได้ทรงสัญญาไว้ตั้งแต่ไกล,” เลียโฮนา, พ.ย. 2003, 14)

ท่านอาจจะคิดนิยามศรัทธาของท่านเองขณะไตร่ตรองแนวคิดใน ฮีบรู 11 ตัวอย่างของคนที่บทนี้กล่าวถึงสอนอะไรท่านเกี่ยวกับศรัทธา? (ดู อีเธอร์ 12:6–22 ด้วย)

ท่านพบคำสัญญาอะไร “แต่ไกล”? ท่านจะแสดงให้พระเจ้าเห็นได้อย่างไรว่าท่าน “สังเกตเห็นแต่ไกลและรอรับด้วยใจยินดี”? (ฮีบรู 11:13)

ดู แอลมา 32:21, 26–43; เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “มหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐซึ่งจะมาถึง,” เลียโฮนา, ม.ค. 2000, 42–45;

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

ฮีบรู 10:32–36ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวแบ่งปันประสบการณ์ทางวิญญาณเมื่อพวกเขารู้สึก “ได้รับความสว่าง” ด้วยความจริง ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้เราไม่ “ละทิ้งความไว้วางใจ [ของเรา]” ในช่วงเวลาของการทดลองและความสงสัยได้อย่างไร?

ฮีบรู 11ท่านจะช่วยให้สมาชิกครอบครัวเรียนรู้จากแบบอย่างที่ซื่อสัตย์ใน ฮีบรู 11 ได้อย่างไร? การแสดงประกอบเรื่องต่างๆ ของแบบอย่างเหล่านี้น่าจะสนุก ท่านสามารถทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ได้ใน เรื่องราวในพันธสัญญาเดิม หรือครอบครัวท่านอาจจะสนทนาตัวอย่างของคนซื่อสัตย์คนอื่นๆ ที่ท่านรู้จัก—รวมทั้งบรรพชน ผู้นำศาสนจักร และสมาชิกในชุมชนของท่าน

ฮีบรู 12:2ตามที่กล่าวไว้ในข้อนี้ เหตุใดพระเยซูจึงเต็มพระทัยอดทนต่อความเจ็บปวดและความทุกขเวทนาของกางเขน? เรื่องนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถอดทนต่อการทดลองของเรา? ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับข้อนี้ในข่าวสารของท่านเรื่อง “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ” (เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 81–84)

ฮีบรู 12:5–11เหตุใดพระเจ้าทรงตีสอนและตักเตือนเรา? เราสังเกตเห็นอะไรในข้อเหล่านี้เกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าทอดพระเนตรการตีสอน? ข้อเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อรูปแบบที่เราให้และรับการตีสอน?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้ดนตรีอัญเชิญพระวิญญาณและเรียนหลักคำสอน ฝ่ายประธานสูงสุดกล่าวว่า “ดนตรีมีพลังอันไม่มีขอบเขตที่จะช่วยให้ [เรา] มีความเข้มแข็งทางวิญญาณ” (“คำกล่าวของฝ่ายประธานสูงสุด,” เพลงสวด, x) บางทีเพลงเกี่ยวกับศรัทธา อาทิ “จริงต่อศรัทธา” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 129) อาจจะเสริมการสนทนา ฮีบรู 11 ของครอบครัว

ภาพ
แบบจำลองของเยรูซาเล็มสมัยโบราณ

สัญลักษณ์และศาสนพิธีของพระวิหารโบราณสอนเกี่ยวกับบทบาทของพระเยซูคริสต์

พิมพ์