“13–19 พฤศจิกายน ยากอบ: ‘จงเป็นผู้ประพฤติตามพระวจนะ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ฟังเท่านั้น,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)
“13–19 พฤศจิกายน ยากอบ,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023
13–19 พฤศจิกายน
ยากอบ
“เราต้องเป็นผู้ประพฤติตามพระวจนะและไม่เป็นเพียงผู้ฟังเท่านั้น”
ขณะที่ท่านอ่าน สาส์นของยากอบ จงเอาใจใส่วลีที่สะดุดใจท่าน ท่านได้รับการกระตุ้นเตือนให้เป็น “ผู้ประพฤติ” ตามพระคำเหล่านี้อย่างไร? (ยากอบ 1:22)
บันทึกความประทับใจของท่าน
บางครั้งพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวก็สามารถเปลี่ยนโลกได้ ยากอบ 1:5 ดูเหมือนเป็นคำแนะนำที่เรียบง่าย—หากท่านต้องการสติปัญญา จงทูลขอจากพระผู้เป็นเจ้า แต่เมื่อโจเซฟ สมิธวัย 14 ปีอ่านข้อนั้น “ดูเหมือนจะเข้าถึงความรู้สึกทุกอย่างของจิตใจ [ท่าน] ด้วยพลังอันแรงกล้า” (โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:12) ด้วยเหตุนี้โดยได้รับการดลใจ โจเซฟจึงทำตามคำแนะนำของยากอบและทูลขอสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านการสวดอ้อนวอน พระผู้เป็นเจ้าประทานด้วยพระทัยกว้างขวาง โดยให้การเสด็จเยือนอันน่าทึ่งที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์แก่โจเซฟ—นั่นก็คือนิมิตแรก นิมิตนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตของโจเซฟและนำไปสู่การฟื้นฟูศาสนจักรของพระเยซูคริสต์บนแผ่นดินโลก เราทุกคนได้รับพรทุกวันนี้เพราะโจเซฟ สมิธอ่านและทำตาม ยากอบ 1:5
ท่านจะพบอะไรขณะท่านศึกษา สาส์นของยากอบ? บางทีหนึ่งหรือสองข้ออาจจะเปลี่ยนท่านหรือคนที่ท่านรักได้ ท่านอาจหาแนวทางขณะมุ่งหมายทำพันธกิจในชีวิตท่านให้สำเร็จ ท่านอาจจะหาแรงจูงใจให้พูดจาอ่อนโยนหรืออดทนมากขึ้น ท่านอาจรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้การกระทำของท่านสอดคล้องกับความเชื่อของท่านมากขึ้น อะไรก็ตามที่เป็นแรงบันดาลใจท่าน ขอให้ถ้อยคำเหล่านี้ “เข้าถึงความรู้สึกทุกอย่างของจิตใจ [ท่าน]” แล้วเมื่อท่าน “ด้วยใจที่สุภาพอ่อนโยน … รับพระวจนะ” ดังที่ยากอบเขียนไว้ จงเป็นผู้ประพฤติตามพระวจนะ มิใช่ผู้ฟังเท่านั้น (ดู ยากอบ 1:21–22)
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
ใครคือยากอบ?
เชื่อกันว่าผู้เขียน สาส์นของยากอบ คือบุตรชายของมารีย์พระมารดาของพระเยซูคริสต์ และด้วยเหตุนี้จึงเป็นน้องชายต่างบิดาของพระผู้ช่วยให้รอด มีการเอ่ยถึงยากอบใน มัทธิว 13:55; มาระโก 6:3; กิจการของอัครทูต 12:17; 15:13; 21:18; และ กาลาเทีย 1:19; 2:9 จากข้อเหล่านี้ดูเหมือนว่ายากอบเป็นผู้นำศาสนจักรในเยรูซาเล็มและได้รับเรียกเป็นอัครสาวก (ดู กาลาเทีย 1:19)
ความอดทนอดกลั้นนำไปสู่ความดีพร้อม
หลังจากอ่าน ยากอบ 1:2–4; 5:7–11 ท่านจะพูดว่าอะไรเป็นข่าวสารหลักของยากอบเกี่ยวกับความอดทน? สิ่งนี้อาจช่วยไตร่ตรองสิ่งที่ครอบครัวของเอ็ลเดอร์เจเรมีย์ อาร์. ยักกีเรียนรู้เกี่ยวกับความอดทนจากข้อเหล่านี้ (ดู “จงให้ความทรหดอดทนนั้นมีผลอย่างสมบูรณ์ และจงถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง!,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 99–101) ความทรหดอดทนนั้น “มีผลอย่างสมบูรณ์” คืออะไร? (ยากอบ 1:4) ท่านจะแสดงให้พระเจ้าเห็นได้อย่างไรว่าท่านเต็มใจอดทน?
ยากอบ 1:3–8, 21–25; 2:14–26; 4:17
ศรัทธาเรียกร้องการปฏิบัติ
ท่านรู้ได้อย่างไรว่าท่านมีศรัทธาในพระเยซูคริสต์หรือไม่? ความประพฤติของท่านแสดงให้เห็นศรัทธาของท่านในพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร? ตรึกตรองคำถามเหล่านี้ขณะที่ท่านศึกษาคำสอนของยากอบเกี่ยวกับศรัทธา ท่านอาจจะอ่านเรื่องอับราฮัมและราหับ ตัวอย่างสองเรื่องที่ยากอบกล่าวถึงด้วย (ดู ปฐมกาล 22:1–12; โยชูวา 2) พวกเขาแสดงให้เห็นอย่างไรว่ามีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า?
การอ่าน ยากอบ 1:3–8, 21–25; 2:14–26; 4:17 อาจช่วยท่านคิดหาวิธีที่ท่านจะเป็นผู้ประพฤติตามพระวจนะได้ดีขึ้น บันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับ และวางแผนทำตามนั้น
ดู แอลมา 34:27–29; 3 นีไฟ 27:21 ด้วย
คำที่ฉันพูดมีพลังทำร้ายหรือเป็นพรแก่ผู้อื่น
ในบรรดาภาพลักษณ์มากมายที่ยากอบใช้ทั่วสาส์นของเขา ภาษาชัดเจนที่สุดบางส่วนพบในคำแนะนำของเขา เกี่ยวกับ ภาษา ท่านอาจจะเขียนทุกด้านที่ยากอบพูดถึงลิ้นหรือปากออกมาเป็นข้อๆ การเปรียบเทียบหรือภาพลักษณ์แต่ละอย่างบอกอะไรเกี่ยวกับคำที่เราพูด? นึกถึงสิ่งที่ท่านทำได้เพื่อเป็นพรแก่บางคนด้วยคำพูดของท่าน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 108:7)
ในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ ฉันควรรักทุกคน ไม่ว่าสภาวการณ์ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร
ยากอบเตือนวิสุทธิชนเป็นพิเศษให้ระวังการยกย่องคนมั่งมีและดูหมิ่นคนยากจน แต่คำเตือนของเขาประยุกต์ใช้ได้กับอคติหรือความลำเอียงทุกอย่างที่เราอาจมีต่อผู้อื่น ขณะท่านศึกษา ยากอบ 2:1–9 ร่วมกับการสวดอ้อนวอน ให้สำรวจใจท่านเองและฟังการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านอาจช่วยแทนที่วลีในข้อเหล่านี้ เช่น “คนจนคนหนึ่งแต่งตัวซอมซ่อ” (ข้อ 2) ด้วยคำหรือวลีอื่นที่พูดถึงคนที่ท่านอาจถูกล่อลวงให้ตัดสินอย่างไม่ยุติธรรม ท่านรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ท่านต้องทำในวิธีที่ท่านปฏิบัติต่อผู้อื่นหรือนึกถึงผู้อื่นหรือไม่?
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน
-
ยากอบ 1:5หลังจากอ่าน ยากอบ 1:5 ครอบครัวของท่านจะสรุปเรื่องราวของนิมิตแรกได้ (ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:8–20) เชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวแบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธและประสบการณ์เมื่อพระบิดาบนสวรรค์ทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของพวกเขา
6:35 -
ยากอบ 1:26–27จากนั้นให้อ่านนิยามของยากอบเกี่ยวกับ “ธรรมะที่บริสุทธิ์” ใน ยากอบ 1:26–27 และสนทนาวิธีที่ครอบครัวท่านจะทำให้การปฏิบัติศาสนาบริสุทธิ์มากขึ้น
-
ยากอบ 3ยากอบ 3 มีภาพลักษณ์มากมายซึ่งอาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใช้บทเรียนอุปกรณ์จริงที่น่าจดจำเพื่อช่วยให้สมาชิกครอบครัวพูดจาอ่อนโยน ตัวอย่างเช่น ท่านอาจก่อไฟด้วยกันและคุยกันว่าคำพูดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไร้ความปรานีทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้อย่างไร (ดู ข้อ 5–6) หรือท่านอาจจะให้ชิมสิ่งที่มีรสเปรี้ยวในของบางอย่างที่ปกติจะใช้กับอาหารหวาน—เช่น น้ำมะนาวในโหลน้ำผึ้ง ทั้งหมดนี้อาจนำไปสู่การสนทนาเรื่องการใช้คำที่อ่อนหวานและยกระดับจิตใจ (ดู ข้อ 9–14)
-
ยากอบ 4:5–8เหตุใดเราจึงควร “เข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า” (ยากอบ 4:8) เมื่อเราเผชิญการล่อลวง
-
ยากอบ 5:14–16ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “บิดามารดาทุกคนควรส่งเสริมการให้พรฐานะปุโรหิตในครอบครัวมากขึ้น” (“อำนาจของฐานะปุโรหิต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 67) บางทีการอ่าน ยากอบ 5:14–16 และการแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการรับพรฐานะปุโรหิตอาจกระตุ้นให้สมาชิกครอบครัวขอพรเมื่อพวกเขาป่วยหรือต้องการความเข้มแข็งทางวิญญาณ
ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย
เพลงสวดที่แนะนำ: “ฉันทำความดีบ้างหรือไม่?” เพลงสวด บทเพลงที่ 109