จงตามเรามา
26 สิงหาคม–1 กันยายน 1 โครินธ์ 8–13: ‘ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​เป็น​กาย​ของ​พระ‍คริสต์’


“26 สิงหาคม–1 กันยายน 1 โครินธ์ 8–13: ‘ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​เป็น​กาย​ของ​พระ‍คริสต์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“26 สิงหาคม–1 กันยายน 1 โครินธ์ 8–13,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

การประชุมศีลระลึก

26สิงหาคม–1 กันยายน

1 โครินธ์ 8–13

“ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​เป็น​กาย​ของ​พระ‍คริสต์”

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์สอนว่าเรา “จะไม่ได้ยินการนำทางเป็นส่วนตัวและมีค่าที่สุดของพระวิญญาณ” ถ้าเราไม่ตอบรับและบันทึก “การกระตุ้นเตือนครั้งแรกที่มาถึง [เรา]” (“เพื่อให้ได้รับการชี้นำทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 8)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เปาโลใช้แนวเทียบและจินตภาพใน 1 โครินธ์ 8–13 เช่นคนวิ่งแข่ง ร่างกายมนุษย์และ “ฉาบ​ที่​กำลัง​ส่ง​เสียง” (1 โครินธ์ 13:1) สมาชิกชั้นเรียนมีข้อคิดอะไรเกี่ยวกับจินตภาพนี้ สิ่งนี้ช่วยให้พวกเขาเข้าใจความจริงของพระกิตติคุณอย่างไร

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 โครินธ์ 10:1–13

เราทุกคนเผชิญกับการล่อลวง แต่พระเจ้าประทานทางออก

  • ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนค้นพบความจริงอันทรงพลังใน 1 โครินธ์ 10:13ได้อย่างไร แนวคิดอย่างหนึ่งคือแบ่งข้อนั้นออกเป็นวลีสั้นๆ แจกแต่ละวลีให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคน และขอให้สมาชิกชั้นเรียนพูดวลีเหล่านี้ซ้ำโดยใช้คำพูดของตนเอง ตัวอย่างเช่น เราจะพูดว่า “พระเจ้าทรงซื่อสัตย์” หรือ “ถูกทดลองเกินกว่าที่ท่านจะทนได้” อีกแบบหนึ่งอย่างไร จากนั้นท่านอาจนำข้อความบางข้อของสมาชิกชั้นเรียนมารวมกันและมองหาการประยุกต์ใช้ในชีวิตเรามากขึ้น สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาพบว่าคำสัญญาในข้อนี้เป็นจริง เราจะได้ข้อคิดอะไรเพิ่มเติมในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้จาก แอลมา 13:27–28

  • แทนที่จะสนใจการล่อลวงที่เฉพาะเจาะจงของคนใดคนหนึ่ง ท่านอาจต้องการมุ่งเน้นไปที่การสนทนาเกี่ยวกับ 1 โครินธ์ 10:13 ในเรื่องการล่อลวง “​ซึ่ง​เคย​เกิด​กับ​มนุษย์” ตามคำของเปาโล สมาชิกชั้นเรียนอาจเริ่มโดยการระบุการล่อลวงที่เปาโลเตือนเราใน ข้อ 1–12 พวกเขาอาจแนะนำตัวอย่างการล่อลวงในยุคปัจจุบันซึ่งเคยเกิดกับมนุษย์ เช่นการล่อลวงให้เป็นคนไม่ซื่อสัตย์ นินทาว่าร้าย หรือตัดสินคนอื่น บุคคลคนหนึ่งอาจ “มีทางออก” จากการล่อลวงเหล่านี้ด้วยความช่วยเหลือจากพระเจ้าได้อย่างไร ท่านอาจต้องการแสดงบมบาทสมมติเกี่ยวกับสถานการณ์บางอย่าง

  • อาจมีประโยชน์ที่จะพิจารณา 1 โครินธ์ 10:13 ในบริบทของความปรารถนาอันครอบคลุมของเปาโลเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันท่ามกลางวิสุทธิชน เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยกัน “มีทางออก” และ “ทน” การล่อลวงที่เราอาจเผชิญ ความเป็นหนึ่งเดียวกันช่วยต้านทานการล่อลวงอย่างไร

1 โครินธ์ 10:16–17; 11:23–30

ศีลระลึกทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกันในฐานะสมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์

  • ข้อเหล่านี้อาจสร้างแรงบันดาลใจให้การสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่ศีลระลึกจะทำให้วอร์ดเราเป็นหนึ่งเดียวกันได้เมื่อท่านพยายามเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น ท่านอาจเริ่มโดยการอ่าน 1 โครินธ์ 10:16–17 และสำรวจคำว่า มี​ส่วน​ร่วม​ โดยหาความหมายในบริบทนี้ (บางคนอาจมองหานิยามที่มีอยู่ในพจนานุกรม) การรับส่วนศีลระลึกด้วยกันช่วยให้เรารู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นอย่างไร เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อบ่มเพาะความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างการประชุมศีลระลึก คำแนะนำของเปาโลให้ “ทุก‍คน​จง​สำรวจ​ตัว​เอง” เกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้อย่างไร (1 โครินธ์ 11:28)

1 โครินธ์ 12

เราควรแสวงหาของประทานแห่งพระวิญญาณเพื่อเป็นประโยชน์แก่บุตรธิดาทุกคนของพระบิดาบนสวรรค์

  • ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านทบทวนของประทานฝ่ายวิญญาณที่เปาโลบรรยายไว้และรู้จักของประทานฝ่ายวิญญาณอันหลากหลายนั้นได้อย่างไร ท่านอาจให้เวลาพวกเขาหนึ่งนาทีเพื่อเขียนรายการของประทานแห่งพระวิญญาณให้ได้มากที่สุดเท่าที่พวกเขาจะนึกออก เมื่อพวกเขาเขียนเสร็จแล้ว เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียนจนสามารถระบุชื่อของประทานทุกอย่างที่เขียนไว้ครบถ้วน จากนั้น สมาชิกชั้นเรียนอาจหาของประทานอื่นเพื่อเพิ่มในรายการของพวกเขาโดยค้นหาจาก 1 โครินธ์ 12 และในรายการของเอ็ลเดอร์ มาร์วิน เจ. แอชตันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สมาชิกชั้นเรียนเคยเห็นของประทานอะไรบ้างในคนที่พวกเขารู้จัก การพัฒนาของประทานเหล่านี้อาจช่วยให้เราเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์อย่างไร

  • เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนเห็นตัวอย่างว่าการพัฒนาของประทานฝ่ายวิญญาณช่วยจรรโลงศาสนจักรอย่างไร ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขานึกถึงของประทานฝ่ายวิญญาณที่คนในพระคัมภีร์มี เพื่อเป็นแนวคิด ท่านอาจมอบหมายให้พวกเขาค้นข้ออ้างอิงพระคัมภีร์หนึ่งข้อใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และแบ่งปันของประทานฝ่ายวิญญาณที่พวกเขาคิดว่าคนนั้นมี ของประทานฝ่ายวิญญาณของคนเหล่านี้เป็นพรแก่พวกเขาเองและคนอื่นอย่างไร เราจะใช้ของประทานฝ่ายวิญญาณของเราเพื่อเป็นพรแก่ผู้อื่นและทำให้กายของพระคริสต์เจริญขึ้นได้อย่างไร (ดู 1 โครินธ์ 12:12–31; ดู 1 โครินธ์ 14:12 ด้วย)

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจวิธีพัฒนาของประทานฝ่ายวิญญาณ เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน 1 โครินธ์ 12:27–31; โมโรไน 7:48; 10:23, 30; หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:8; และคำพูดของประธานจอร์จ คิว. แคนนอน ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” แหล่งช่วยเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีได้มาซึ่งของประทานฝ่ายวิญญาณ การพัฒนาของประทานฝ่ายวิญญาณทำให้เราเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเลือกของประทานอย่างหนึ่งที่พวกเขาอยากได้รับและแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อได้มาซึ่งของประทานนั้น

1 โครินธ์ 13

จิตกุศลเป็นของประทานฝ่ายวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

  • บางคนคิดว่าจิตกุศลเป็นการบริจาคให้คนยากจนหรือมีเมตตาต่อผู้อื่น แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจแสดงออกถึงจิตกุศลได้อย่างแน่นอน แต่คำอธิยายของเปาโลกว้างกว่านั้น เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนวิเคราะห์ ท่านอาจขอให้พวกเขาไตร่ตรอง 1 โครินธ์ 13 ในใจและนึกถึงบางคนที่พวกเขารู้จักผู้เป็นแบบอย่างที่ดีของด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านของจิตกุศลที่เปาโลเอ่ยถึง สมาชิกชั้นเรียนบางคนอาจพูดถึงคนที่พวกเขานึกถึงและประสบการณ์ซึ่งคนๆ นี้แสดงแบบอย่างของจิตกุศล ท่านอาจเขียนส่วนที่เปาโลบรรยายบนกระดานและเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันแนวคิดว่าการ “อดทน​นาน” หรือ “ไม่​ฉุน‌เฉียว” (1 โครินธ์ 13:4–5) หมายความว่าอะไร พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างคุณลักษณะของจิตกุศลเหล่านี้อย่างไร เราจะพัฒนาจิตกุศลได้อย่างไร (ดู โมโรไน 7:46–48)

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

สมาชิกชั้นเรียนของท่านรู้หรือไม่ว่าพระคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงหลักคำสอนเรื่องบัพติศมาสำหรับคนตายและรัศมีภาพสามระดับ บอกพวกเขาว่าพวกเขาจะเรียนรู้เกี่ยวกับความจริงนี้เมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 14–16 สัปดาห์นี้

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1 โครินธ์ 8–13

ของประทานฝ่ายวิญญาณที่ท่านอาจนึกไม่ออก

เอ็ลเดอร์มาร์วิน เจ. แอชตันแบ่งปันตัวอย่างเหล่านี้ของสิ่งที่ท่านเรียกว่าของประทานทางวิญญาณ “ที่ไม่ค่อยเด่นชัด” ได้แก่ “ของประทานแห่งการซักถาม ของประทานแห่งการฟัง ของประทานแห่งการได้ยินและใช้สุรเสียงสงบแผ่วเบา ของประทานแห่งความสามารถหลั่งน้ำตา ของประทานแห่งการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ของประทานแห่งการเห็นด้วย ของประทานแห่งการหลีกเลี่ยงคำพูดซ้ำๆ ไร้สาระ ของประทานแห่งการแสวงหาสิ่งชอบธรรม ของประทานแห่งการไม่ตัดสิน ของประทานแห่งการพึ่งพาพระผู้เป็นเจ้าเพื่อทูลขอการนำทาง ของประทานแห่งการเป็นสานุศิษย์ ของประทานแห่งการดูแลผู้อื่น ของประทานแห่งความสามารถไตร่ตรอง ของประทานแห่งการสวดอ้อนวอน ของประทานแห่งการแสดงประจักษ์พยานอันทรงพลัง และของประทานแห่งการได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์” (“There Are Many Gifts,” Ensign, Nov. 1987, 20)

ตัวอย่างจากพระคัมภีร์เกี่ยวกับของประทานฝ่ายวิญญาณ

แสวงหาของประทานฝ่ายวิญญาณ

ประธานจอร์จ คิว. แคนนอน (1827–1901) แห่งฝ่ายประธานสูงสุดกล่าวว่านี่เป็นหน้าที่ของเรา “ในการสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าเพื่อทูลขอของประทานให้ [เรา] ซึ่งจะแก้ไขความไม่ดีพร้อม [ของเรา] … ของประทานเหล่านี้มีไว้เพื่อจุดประสงค์นี้ ไม่ควรมีใครพูดว่า ‘โอ้ ช่วยไม่ได้ นั่นมันนิสัยของฉัน’ เขาแก้ตัวไม่ได้ในเรื่องนี้ เพราะเหตุผลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาไว้คือประทานความเข้มแข็งให้แก้ไขสิ่งเหล่านี้ และมอบของประทานไว้ให้กำจัดสิ่งเหล่านี้ ถ้ามนุษย์ขาดปัญญา หน้าที่ของเขาคือทูลขอปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า เรื่องอื่นก็เช่นกัน” (Millennial Star, Apr. 23, 1894, 260)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่ท่านสอน การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่ท่านสอนจะช่วยให้ท่านเป็นพยานถึงหลักธรรมเหล่านั้นได้อย่างมีพลังมากขึ้น เปาโลสอนว่า “ทำ‌นอง‍เดียว‍กัน องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ได้​ทรง​สั่ง​ไว้​ว่า คน​ที่​ประ‌กาศ​ข่าว‍ประ‌เสริฐ​ควร​ได้​รับ​การ​เลี้ยง‍ชีพ​ด้วย​ข่าว‍ประ‌เสริฐ” (1 โครินธ์ 9:14)