จงตามเรามา
28 ตุลาคม–3 พฤศจิกายน 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน: ‘จงเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ’


“28 ตุลาคม–3 พฤศจิกายน 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน: ‘จงเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“28 ตุลาคม–3 พฤศจิกายน 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

สตรีสามคนยืนอยู่ด้านนอกพระวิหาร

28 ตุลาคม–3 พฤศจิกายน

1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน

“จงเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ”

อ่าน 1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; และ ฟีเลโมน โดยนึกถึงสมาชิกชั้นเรียนของท่าน ความคิดและความประทับใจที่มาสู่ท่านจะช่วยให้ท่านนำสมาชิกชั้นเรียนไปสู่ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญและนำพระวิญญาณมาสู่ชั้นเรียนของท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

อาจเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกชั้นเรียนในการฟังแต่ละฝ่ายพูดถึงความสำเร็จและความท้าทายในการศึกษาพระคัมภีร์ ทั้งเป็นส่วนตัวและกับครอบครัว ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนโดยเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้พูดถึงสิ่งที่กำลังดำเนินไปด้วยดีในการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส

การเข้าใจหลักคำสอนที่แท้จริงจะช่วยเราหลีกเลี่ยงการถูกหลอก

  • สมาชิกชั้นเรียนของท่านกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่มีการสอนหลักคำสอนผิดมากมาย ทิโมธีและทิตัสก็อยู่ในช่วงเวลาเช่นนั้นด้วย ฉะนั้น บางทีคำแนะนำที่เปาโลให้แก่พวกเขาอาจเป็นประโยชน์แก่สมาชิกชั้นเรียนของท่าน บางข้อที่มีคำแนะนำของเปาโลมีอยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ท่านอาจมอบหมายให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนอ่านหนึ่งข้อจากข้อต่อไปนี้และแบ่งปันสิ่งที่เขาเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของหลักคำสอนที่แท้จริง (ดู แอลมา 31:5ด้วย)

1 ทิโมธี 4:10–16

หากเราเป็น “แบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ” เราจะนำผู้อื่นไปสู่พระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์

  • เป็นไปได้ที่สมาชิกชั้นเรียนของท่านจะไม่ตระหนักในพลังของการเป็นแบบอย่างที่ดีที่พวกเขากำลังเป็น ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาพูดถึงคนรู้จักรวมถึงเพื่อนสมาชิกชั้นเรียนว่าคนเหล่านั้นเป็นแบบอย่างสานุศิษย์ของพระคริสต์อย่างไร อาจเป็นการช่วยการสนทนาหากท่านเขียนคำต่างๆ จาก ข้อ 12 บนกระดาน คำเหล่านี้บรรยายถึงวิธีที่เราควรเป็นแบบอย่าง—วาจา การประพฤติ (ซึ่งสามารถหมายถึงการกระทำหรือพฤติกรรมด้วย) ความรัก ความเชื่อ และ ความบริสุทธิ์ สมาชิกชั้นเรียนอาจสนทนาว่าเราจะเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อในแต่ละด้านเหล่านี้ได้อย่างไร

2 ทิโมธี 1

“พระเจ้าไม่ได้ประทานใจที่ขลาดกลัวแก่เรา แต่ประทานใจที่ประกอบด้วยฤทธานุภาพ ความรัก และการบังคับตนเองแก่เรา”

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว, เชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนของท่านให้ดูใน 2 ทิโมธี เพื่อหาคำแนะนำที่เปาโลให้แก่ทิโมธีเพื่อให้กำลังใจเขาในการปฏิบัติศาสนกิจ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อคิดที่พวกเขาพบ หรือบางทีท่านอาจให้เวลาพวกเขาสองสามนาทีเพื่อหาและแบ่งปันคำแนะนำบางข้อของเปาโล (บทที่ 1 มีตัวอย่างที่ดี) พวกเขาอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับเมื่อพระผู้เป็นเจ้าช่วยพวกเขาเอาชนะความกลัวและประทาน “ใจที่ประกอบด้วย… ฤทธานุภาพ ความรัก และการบังคับตนเอง” (2 ทิโมธี 1:7)

2 ทิโมธี 3

การศึกษาพระคัมภีร์จะช่วยเราเอาชนะภยันตรายของยุคสุดท้าย

  • หลังจากเตือนทิโมธีเกี่ยวกับ “เวลาที่น่ากลัว” ที่จะมาถึง เปาโลเป็นพยานถึงพลังอำนาจและความสำคัญของพระคัมภีร์ (ดู 2 ทิโมธี 3:1, 14–17) เพื่อเริ่มการสนทนาถึงความสำคัญของพระคัมภีร์ในยามยากลำบาก ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวนคำบรรยายของเปาโลเกี่ยวกับเวลาที่น่ากลัวในยุคสุดท้ายใน 2 ทิโมธี 3:1–7 จากนั้นพวกเขาสามารถค้นหาและแบ่งปันพระคัมภีร์ที่ช่วยพวกเขาปกป้องตนเองจากเวลาที่น่ากลัวเช่นนี้ (บางตัวอย่างมีอยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) การศึกษาพระคัมภีร์คุ้มครองเราจากปัญหาในโลกปัจจุบันอย่างไร

  • การศึกษาคำแนะนำของเปาโลเกี่ยวกับพลังอำนาจของพระคัมภีร์จะเป็นโอกาสสำหรับสมาชิกชั้นเรียนที่จะให้กำลังใจกันเมื่อพวกเขาพยายามศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน 2 ทิโมธี 3:14–17 เพื่อระบุพรและความคุ้มครองที่มาจากการศึกษาพระคัมภีร์ จากนั้นพวกเขาอาจแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพรเหล่านี้เกิดสัมฤทธิผลในชีวิตพวกเขาเนื่องจากการศึกษาพระคัมภีร์ ท่านอาจให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองสักครู่ถึงสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อมีประสบการณ์ที่มีความหมายมากขึ้นกับพระคัมภีร์ ทั้งโดยส่วนตัวและเป็นครอบครัว

ฟีเลโมน

ผู้ติดตามพระคริสต์ให้อภัยกัน

  • ก่อนเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับ สาส์นถึงฟีเลโมน ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับฟีเลโมนและ​โอ‌เน‌สิ‌มัสผู้รับใช้ของเขา (มีคำบรรยายสั้นๆ ในโครงร่างของสัปดาห์นี้ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) จากนั้นท่านอาจแบ่งชั้นเรียนเป็นสองกลุ่มและให้คำถามต่อไปนี้กับแต่ละกลุ่ม: ท่านเห็นความคล้ายคลึงอะไรระหว่างสิ่งที่เปาโลเต็มใจทำเพื่อโอ‌เน‌สิ‌มัสกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดเต็มพระทัยทำเพื่อเรา ถึงแม้เป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับฟีเลโมนที่จะให้อภัยทาสที่หนีไป แต่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ทำให้การให้อภัยง่ายขึ้นอย่างไร หลังจากทั้งสองกลุ่มแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้แล้ว ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อพระคัมภีร์หรือประสบการณ์ที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจการให้อภัยดีขึ้น ข่าวสารของเอ็ลเดอร์เควิน อาร์. ดันแคน ที่อยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจช่วยในการสนทนานี้

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านสาส์นถึงชาวฮีบรู ถามพวกเขาว่าพวกเขารู้จักบางคนที่รู้สึกว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่ห่างไกล ไม่ใกล้ชิด และเข้าไม่ถึงหรือไม่ บอกพวกเขาว่าพวกเขาจะพบข้อพระคัมภีร์ใน ฮีบรู 1–6 ที่พวกเขาสามารถแบ่งปันกับบางคนเพื่อแสดงว่าพระผุ้เป็นเจ้าพระบิดาและพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระสัตภาวะผู้การุณย์ผู้ทรงต้องการช่วยเราเมื่อเรามีความทุกข์

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1 และ 2 ทิโมธี; ทิตัส; ฟีเลโมน

คำแนะนำของเปาโลเกี่ยวกับหลักคำสอนที่แท้จริง

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเราจากภยันตรายของยุคสุดท้ายบรรยายไว้ใน 2 ทิโมธี 3:2

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

การรักตนเอง

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

ยอห์น 15:12–13

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

โลภ

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:123

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

โอ้อวด

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

โมไซยาห์ 2:24–25

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

จองหอง

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

แอลมา 5:27–28

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ผู้ลบหลู่

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 63:64

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ไม่เชื่อฟังบิดามารดา

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

เอเฟซัส 6:1–3

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

อกตัญญู

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 78:19

ภยันตรายของยุคสุดท้าย

ไม่บริสุทธิ์

พระคัมภีร์ที่คุ้มครองเรา

เฉลยธรรมบัญญัติ 7:6

สีผึ้งเยียวยาจากการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยเราให้อภัยผู้อื่น

เอ็ลเดอร์เควิน อาร์. ดันแคนสอนว่า

“ไม่มีจิตวิญญาณใดที่มีชีวิตจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความประมาท ความประพฤติที่เป็นภัย หรือแม้แต่พฤติกรรมชั่วร้ายของผู้อื่น นั่นคือสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนมีเหมือนกัน

“พระผู้เป็นเจ้าในความรักและพระเมตตาต่อลูกๆ ของพระองค์ จึงทรงเตรียมทางช่วยให้เราผ่านประสบการณ์ที่ยุ่งยากบางครั้งเหล่านี้ของชีวิต พระองค์ทรงเตรียมทางหนีให้ทุกคนที่ตกเป็นเหยื่อการทำผิดของผู้อื่น พระองค์ทรงสอนเราว่าเราสามารถให้อภัยได้! …

“หลายปีก่อน ขณะที่ข้าพเจ้าซ่อมรั้ว เศษไม้เล็กๆ ตำนิ้วข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพยายามเพียงเล็กน้อยเพื่อดึงออกและคิดว่าออกแล้ว แต่ปรากฏว่าไม่ออก เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังค่อยๆ คลุมเศษไม้ทำให้เกิดปุ่มนูนที่นิ้ว ซึ่งน่ารำคาญมากและเจ็บในบางครั้ง

“หลายปีต่อมาข้าพเจ้าตัดสินใจดำเนินการบางอย่าง ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าทำคือทาสีผึ้งที่ปุ่มนูนและใช้ผ้าพันแผลปิดทับ ข้าพเจ้าทำแบบนี้ซ้ำบ่อยๆ ท่านนึกภาพความแปลกใจของข้าพเจ้าไม่ออกแน่เมื่อวันหนึ่งขณะเอาผ้าพันแผลออก เศษไม้โผล่ขึ้นมา

“สีผึ้งทำให้ผิวหนังอ่อนตัวจนทำให้สิ่งที่ก่อความเจ็บปวดมานานหลายปีหลุด เมื่อเศษไม้หลุด นิ้วหายเจ็บทันที และจนถึงวันนี้ไม่มีหลักฐานของการบาดเจ็บแต่อย่างใด

“ในทำนองเดียวกัน ใจที่ไม่ให้อภัยซุกซ่อนความเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น เมื่อเราใช้สีผึ้งเยียวยาของการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด พระองค์จะทรงทำให้ใจเราอ่อนลงและช่วยเราเปลี่ยน พระองค์ทรงสามารถ รักษา จิตวิญญาณที่บาดเจ็บ (ดู เจคอบ 2:8)” (“สีผึ้งเยียวยาของการให้อภัย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 33)

ปรับปรุงการสอนของเรา

การเติบโตทางวิญญาณเกิดขึ้นที่บ้าน ท่านอยู่กับสมาชิกชั้นเรียนของท่านเป็นเวลาสั้นๆ ในแต่ละสัปดาห์ ระหว่างเวลาที่เหลือในสัปดาห์ พวกเขาหลายคนมีประสบการณ์ทางวิญญาณที่มีความหมาย ถามคำถามที่กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้นอกชั้นเรียน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 18)