พันธสัญญาใหม่ 2023
13–19 พฤศจิกายน ยากอบ: “จง​เป็น​ผู้​ประ‌พฤติ​ตาม​พระ‍วจนะ ไม่​ใช่​เป็น​เพียง​ผู้​ฟัง​เท่า​นั้น”


“13–19 พฤศจิกายน ยากอบ: ‘จง​เป็น​ผู้​ประ‌พฤติ​ตาม​พระ‍วจนะ ไม่​ใช่​เป็น​เพียง​ผู้​ฟัง​เท่า​นั้น,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2021)

“13–19 พฤศจิกายน ยากอบ,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

เยาวชนทำความสะอาดกำแพง

13–19 พฤศจิกายน

ยากอบ

“จง​เป็น​ผู้​ประ‌พฤติ​ตาม​พระ‍วจนะ ไม่​ใช่​เป็น​เพียง​ผู้​ฟัง​เท่า​นั้น”

ก่อนอ่านโครงร่างนี้ ให้อ่าน สาส์นของยากอบ และเอาใจใส่การกระตุ้นเตือนที่ท่านได้รับ ท่านพบหลักธรรมใดที่จะช่วยเป็นพรและจรรโลงใจสมาชิกชั้นเรียนของท่าน?

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อพระคัมภีร์จากยากอบที่เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาเป็น “ผู้​ประ‌พฤติ​ตาม​พระ‍วจนะ” (ยากอบ 1:22) หากไม่เป็นเรื่องส่วนตัวจนเกินไป พวกเขาอาจแบ่งปันเช่นกันถึงสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ทั้งเป็นส่วนตัวและเป็นครอบครัว

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

ยากอบ 1:5–6

เมื่อเราขอด้วยความเชื่อ พระเจ้าประทานด้วยพระทัยกว้าง

  • หลักธรรมต่างๆ ที่สอนใน ยากอบ 1:5–6 นำโจเซฟ สมิธไปสู่ประสบการณ์ทางวิญญาณที่เปลี่ยนชีวิตและข้อเหล่านี้จะเป็นพรแก่เราแต่ละคนในทางใดทางหนึ่ง บางทีท่านอาจจะเขียนคำถามต่อไปนี้ไว้บนกระดานและขอให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองคำถามในใจ: อิทธิพลอะไรที่ ยากอบ 1:5–6 มีในชีวิตของท่าน? ประสบการณ์ของโจเซฟ สมิธกับข้อเหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับการแสวงหาปัญญาเกี่ยวกับคำถามของท่านเอง? (ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:10–17) ประสบการณ์ใดสอนท่านว่า “ประจักษ์พยานของยากอบ [เป็น] ความจริง”(โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:26) เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความคิดที่พวกเขามีหลังจากไตร่ตรองคำถามเหล่านี้

  • บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจจะกล่าวข้อความใน ยากอบ 1:5–6 โดยใช้คำพูดของตนเอง การทำเช่นนี้ช่วยให้พวกเขาเข้าใจข้อเหล่านี้ดีขึ้นอย่างไร ท่านอาจต้องการสนทนาด้วยกันว่าคำบางคำจากข้อเหล่านี้หมายถึงอะไร?

ยากอบ 1:2–4; 5:7–11

หากเราอดทนอดกลั้น พระเจ้าจะทรงนำเราไปสู่ความดีพร้อม

  • เพื่อเริ่มการสนทนาคำสอนของยากอบเกี่ยวกับความทรหดอดทนในข้อเหล่านี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขาต้องอดทนและสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น จากนั้นพวกเขาอาจค้นคว้า ยากอบ 1:2–4; 5:7–11 เพื่อหาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของพวกเขา พวกเขาอาจพบหลักธรรมที่นำไปใช้ได้ในข่าวสารของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ “จงอดทนต่อไป” (เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 56–59) สมาชิกชั้นเรียนสามารถแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับความอดทนเมื่อพวกเขาได้รู้จักพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด อะไรที่ช่วยให้เราพัฒนาความอดทน?

2:3

ยากอบ 1:3–8, 21–25; 2:14–26

“ความ​เชื่อ​ที่​ปราศ‌จาก​การ​ประ‌พฤติ​ก็​ตาย​แล้ว”

  • วิธีหนึ่งที่จะสนทนาเกี่ยวกับคำสอนของยากอบเรื่องศรัทธาและการประพฤติอาจเป็นการแบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่ม—กลุ่มหนึ่งค้นคว้าสาเหตุที่ศรัทธาเรียกร้องการกระทำและอีกกลุ่มค้นคว้าสาเหตุที่การกระทำเรียกร้องศรัทธา ในการทำเช่นนี้ ให้ท่านอ่าน มัทธิว 7:21–23; ยากอบ 1:6–8, 21–25; 2:14–26; และ โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:19 จากนั้นแต่ละกลุ่มแบ่งปันสิ่งที่พบและสนทนาว่าเหตุใดทั้งศรัทธาและการประพฤติจึงจำเป็น

    อับราฮัมสวดอ้อนวอนนอกกระโจมของเขา

    “อับราฮัมเชื่อพระเจ้า และพระองค์ทรงถือว่าเขาชอบธรรม” (ยากอบ 2:23) อับราฮัมบนที่ราบมัมเร โดย แกรนท์ รอมนีย์ คลอว์สัน

  • เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประโยคที่น่าจดจำว่า “ความ​เชื่อ​ที่​ปราศ‌จาก​การ​ประ‌พฤติ​ก็​ตาย​แล้ว​” (ยากอบ 2:26) ท่านอาจเขียนประโยคต่อไปนี้บนกระดาน: ความ​เชื่อ​ที่​ปราศ‌จาก​การ​ประ‌พฤติ​ก็เหมือน​ ปราศจาก เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงวิธีสร้างสรรค์ที่จะเติมประโยคนี้ให้ครบถ้วน และให้พวกเขาเขียนแนวคิดของพวกเขาบนกระดาน เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อกระทำตามศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์ต่อไป?

ยากอบ 2:1–9

ในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ เรารักทุกคนไม่ว่าสภาพการณ์ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร

  • เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนแสดงความรักเหมือนพระคริสต์ต่อทุกคนไม่ว่าสถานการณ์หรือรูปลักษณ์ภายนอกของคนอื่นจะเป็นอย่างไร ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนผลัดกันอ่านข้อเหล่านี้จาก ยากอบ 1:9–11; 2:1–9; 5:1–6 สนทนาคำถามต่อไปนี้: การ “ลำเอียง” หมายความว่าอย่างไร? (ยากอบ 2:9) เหตุใดบางครั้งเราปฏิบัติกับคนที่มีเงิน มีชื่อเสียง หรืออำนาจต่างจากคนที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ เราจะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติต่อคนอื่นแตกต่างไปตามสภาพการณ์ของพวกเขาได้อย่างไร? ผู้ติดตามพระผู้ช่วยให้รอดที่ชอบธรรมเป็นคนมั่งมีที่สุดในทางใดบ้าง? (ดู ยากอบ 2:5)

ยากอบ 3

คำพูดที่เราใช้มีพลังอำนาจที่จะทำร้ายหรือเป็นพรแก่ผู้อื่น

  • ภาพพจน์ที่มีพลังซึ่งยากอบใช้อาจเตือนใจและกระตุ้นให้เราใช้คำพูด—ทั้งทางวาจาและการเขียน—เพื่อหนุนใจผู้อื่น ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน ยากอบ 3 โดยมองหาการเปรียบเทียบที่ยากอบใช้อธิบายว่าคำพูดทำร้ายหรือเป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนบางคนอาจชอบวาดรูปสิ่งที่พวกเขาพบ การเปรียบเทียบเหล่านี้แสดงตัวอย่างคำแนะนำของยากอบในบทนี้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น คำพูดของเราสามารถเป็นเหมือนไฟอย่างไร? บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่แสดงพลังซึ่งภาษามีได้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาจะประยุกต์ใช้คำแนะนำของยากอบอย่างไร

ปรับปรุงการสอนของเรา

สร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเคารพ “ช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านเข้าใจว่าพวกเขาแต่ละคนมีผลต่อวิญญาณของชั้นเรียน กระตุ้นให้พวกเขาช่วยท่านสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง เปี่ยมด้วยความรักและความเคารพ เพื่อทุกคนจะรู้สึกสบายใจในการแบ่งปันประสบการณ์ คำถาม และประจักษ์พยานของพวกเขา” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 15)