พันธสัญญาใหม่ 2023
30 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน ฮีบรู 1–6: “พระ‍เยซู​คริสต์ ‘แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์​’​”


“30 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน ฮีบรู 1–6: ‘พระ‍เยซู​คริสต์ “แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์,​”’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2021)

“30 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน ฮีบรู 1–6,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

พระคริสต์ทรงยืนอยู่กับเด็กสาว

ยารักษาแห่งกิเลอาด โดย แอนนี เฮนรี

30 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน

ฮีบรู 1–6

พระ‍เยซู​คริสต์ “แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์​”

ท่านอาจแบ่งปันกับสมาชิกชั้นเรียนของท่านเกี่ยวกับความประทับใจบางอย่างที่ท่านได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ใน ฮีบรู 1–6 การทำเช่นนั้นอาจกระตุ้นให้พวกเขาแสวงหาความประทับใจของตนเองเมื่อพวกเขาศึกษาพระคัมภีร์

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

สมาชิกชั้นเรียนบางคนที่ไม่ได้แบ่งปันบ่อยๆ ในชั้นเรียนอาจเพียงต้องการคำเชื้อเชิญที่เจาะจงและเวลาสักเล็กน้อยเพื่อเตรียม ท่านอาจติดต่อพวกเขาสองสามคน หนึ่งหรือสองวันล่วงหน้า และขอให้พวกเขาเตรียมมาแบ่งปันข้อหนึ่งจาก ฮีบรู 1–6 ที่มีความหมายต่อพวกเขา

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

ฮีบรู 1–5

พระ‍เยซู​คริสต์ทรงเป็น “แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์​”

  • ท่านจะกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันพระคัมภีร์ที่มีความหมายเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่พวกเขาพบในการศึกษาส่วนตัวและกับครอบครัวสัปดาห์นี้ได้อย่างไร? ท่านอาจจะแบ่งกระดานออกเป็นห้าคอลัมน์แทนห้าบทแรกใน ฮีบรู แต่ละบท เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนข้อความจากบทเหล่านี้ที่สอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และเลขข้อที่พบข้อความนั้นลงในคอลัมน์ที่เหมาะสม การรู้เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดส่งผลต่อศรัทธาของเราในพระองค์และความเต็มใจที่จะติดตามพระองค์อย่างไร?

ฮีบรู 2:9–18; 4:12–16; 5:7–8

พระเยซูคริสต์ทรงทนรับทุกขเวทนาทุกอย่างเพื่อว่าพระองค์จะเข้าพระทัยและจะทรงช่วยเราเมื่อเราทุกข์ยาก

  • ฮีบรู 2:9–18; 4:12–16; 5:7–8 จะช่วยคนที่มองดูการทนทุกข์ในโลกและสงสัยว่าพระผู้เป็นเจ้าทอดพระเนตรเห็นหรือใส่พระทัยหรือไม่ บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจค้นข้อเหล่านี้เพื่อหาความจริงที่จะช่วยตอบคำถามดังกล่าว ข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงขานรับการทนทุกข์ของมนุษยชาติ อาจเป็นประโยชน์เช่นกันที่จะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันตัวอย่างจากพระคัมภีร์ที่ผู้คนได้รับการสนับสนุนจากพระเยซูคริสต์ขณะที่พวกเขามีความทุกข์ (ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) สมาชิกชั้นเรียนสามารถสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยเราเมื่อเราประสบความท้าทายที่ยาก

5:0

ฮีบรู 3:74:2

พรของพระผู้เป็นเจ้ามีให้แก่คนที่ “อย่าให้จิตใจ [ของพวกเขา] ดื้อรั้น”

  • ฮีบรู 3 และ 4 มีคำขอร้องไม่ให้วิสุทธิชนทำจิตใจของพวกเขาดื้อรั้นอันเป็นสาเหตุให้พวกเขาปฏิเสธพรที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์จะมอบให้ ขณะท่านและชั้นเรียนอ่าน ฮีบรู 3:74:2 ให้สนทนาด้านต่างๆ ที่ประสบการณ์ของชาวอิสราเอลสมัยโบราณอาจประยุกต์ใช้กับเราในปัจจุบัน เช่นที่ประยุกต์ใช้กับชาวฮีบรูในศาสนจักรสมัยต้น (ดูเนื้อหาเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับข้อเหล่านี้ใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้จิตใจเราอ่อนโยนเสมอและขานรับพระประสงค์ของพระเจ้า? (ดู สุภาษิต 3:5–6; แอลมา 5:14–15; อีเธอร์ 4:15) สมาชิกชั้นเรียนสามารถแบ่งปันว่าพวกเขาหรือคนอื่นๆ ที่พวกเขารู้จักได้รับพรอย่างไรเนื่องจากการที่พวกเขามีใจอ่อนโยนและสำนึกผิด

ฮีบรู 5:1–5

คนที่รับใช้ในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าต้องได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้า

  • ข้อความใน ฮีบรู 5 เกี่ยวกับผู้ดำรงฐานะปุโรหิตที่ได้รับการเรียกจากพระผู้เป็นเจ้าสามารถนำไปใช้กับทุกคนที่ได้รับมอบหมายจากอำนาจฐานะปุโรหิตให้รับใช้ในการเรียกของศาสนจักรได้ เพื่อช่วยให้ชั้นเรียนของท่านเรียนรู้ว่าการที่ “พระ‍เจ้า​ทรง​เรียก​เขา​เหมือน​อย่าง​ทรง​เรียก​อา‌โรน” หมายความว่าอย่างไร ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาทบทวนเรื่องราวของอาโรนที่รับการเรียกของเขาใน อพยพ 4:10–16, 27–31; 28:1 ข้อคิดใดบ้างจากเรื่องเล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจ ฮีบรู 5:1–5? สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันว่าพวกเขาได้รับการยืนยันอย่างไรว่ามีบางคนได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้าให้ทำการเรียกที่เฉพาะเจาะจง—และอาจรวมถึงตนเองด้วย การยืนยันนั้นช่วยให้พวกเขาสนับสนุนบางคนในการเรียกของเขาได้ดีขึ้นอย่างไร?

โมเสสแต่งตั้งอาโรน

“ไม่‍มีใครรับตำ‌แหน่งอันมีเกียรตินี้เองได้ เว้น‍แต่พระ‍เจ้าทรงเรียกเขาเหมือนอย่างทรงเรียกอา‌โรน” (ฮีบรู 5:4) โมเสสเรียกอาโรนสู่การปฏิบัติศาสนกิจ โดย แฮร์รีย์ แอนเดอร์สัน

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่างจากพระคัมภีร์ของคนที่ได้รับการปลอบโยนจากพระเยซูคริสต์

ปรับปรุงการสอนของเรา

สร้างสภาพแวดล้อมทางวิญญาณ เมื่อท่านบ่มเพาะสภาพแวดล้อมที่เปี่ยมด้วยสันติสุข และความรักในชั้นเรียนของท่าน พระวิญญาณจะทรงสัมผัสใจคนที่ท่านสอนได้ง่ายขึ้น เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่ออัญเชิญอิทธิพลของพระวิญญาณเข้ามาในห้องเรียนของท่าน ท่านจะจัดที่นั่งใหม่หรือใช้ภาพหรือดนตรีเพื่ออัญเชิญพระวิญญาณได้หรือไม่ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 15)