เซมินารี
ลูกา 10:25–37


ลูกา 10:25–37

ชาวสะมาเรียใจดี

ภาพ
The painting depicts the Good Samaritan administering to the beaten and injured man stripped of his clothing. A camel rests behind to the right. The scene takes place in a rocky desert setting reminiscent of the Holy Land.

เมื่อทนายคนหนึ่งถามพระเยซูว่า “ใครเป็นเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า?” (ลูกา 10:29) พระผู้ช่วยให้รอดตรัสตอบโดยประทานอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านทำตามแบบอย่างการรักเพื่อนบ้านของพระเยซู

ช่วยคนขัดสน

นึกถึงเวลาที่มีคนช่วยท่านเมื่อท่านต้องการความช่วยเหลือ

  • ท่านคิดว่าเหตุใดบุคคลนี้จึงช่วยท่าน?

  • ท่านรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่บุคคลนี้ทำ?

ไตร่ตรองว่าท่านมีแนวโน้มมากน้อยเพียงใดที่อาจต้องช่วยใครบางคนที่ต้องการความช่วยเหลือและทำไมท่านอาจจะช่วยหรือไม่ช่วยเขา ขณะที่ท่านศึกษา มองหาความจริงที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ซึ่งอาจเพิ่มความปรารถนาของท่านในการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

อุปมา

วันหนึ่งขณะพระเยซูคริสต์ทรงสอน ทนายคนหนึ่งถามพระองค์ว่าเขาต้องทำอะไรเพื่อรับชีวิตนิรันดร์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนว่าเพื่อรับชีวิตนิรันดร์เป็นมรดก เราจำเป็นต้องรักพระผู้เป็นเจ้าด้วยสุดใจและรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง (ดู ลูกา 10:27) จากนั้นทนายถามคำถามอีกข้อหนึ่ง

อ่าน ลูกา 10:29 และท่านอาจทำเครื่องหมายคำถามที่ทนายถามพระเยซู

  • ท่านจะตอบคำถามของทนายอย่างไร?

พระเยซูทรงตอบคำถามของทนายโดยเล่าอุปมาที่ชื่อว่าอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี ขณะท่านศึกษาอุปมานี้ ให้ระลึกว่าโดยทั่วไปชาวสะมาเรียกับชาวยิวเกลียดชังกัน และมักหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กัน เหตุผลหนึ่งที่ชาวยิวมองว่าชาวสะมาเรียไม่เป็นที่ยอมรับเพราะชาวสะมาเรียเป็นชาวยิวส่วนหนึ่งและเป็นคนต่างชาติอีกส่วนหนึ่งและพวกเขาผสมผสานความเชื่อทางศาสนาของทั้งสองฝ่าย

เห็นพระผู้ช่วยให้รอดในอุปมา

อ่านอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดีใน ลูกา 10:30–35 ท่านอาจต้องการดูวีดิทัศน์ “คำอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี” (5:11) ขณะท่านอ่านตามในพระคัมภีร์ของท่าน

ขณะท่านศึกษาอุปมานี้ ให้คิดว่าชาวสะมาเรียคือสัญลักษณ์แทนพระเยซูคริสต์อย่างไร

1. เขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • เราเรียนรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากอุปมานี้? (ท่านอาจบันทึกคำตอบของท่านสำหรับคำถามนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน)

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนไว้ว่า

ภาพ
Official portrait of Elder Neil L. Andersen of the Quorum of the Twelve Apostles, 2010, August.

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีของเรา ทรงมาเพื่อ “เยียวยาหัวใจที่แตกสลาย” [ลูกา 4:18; ดู อิสยาห์ 61:1 ด้วย] พระองค์ทรงมาหาเราเมื่อคนอื่นเดินผ่านเราไป ด้วยความสงสาร พระองค์ทรงทาพิมเสนรักษาแผลของเราและพันผ้าไว้ พระองค์ทรงอุ้มเรา ทรงห่วงใยเรา

(นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “บาดเจ็บ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 85)

  • มีตัวอย่างอะไรบ้างในพระคัมภีร์เกี่ยวกับการที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำสิ่งที่เอ็ลเดอร์แอนเดอร์เซ็นอธิบายไว้?

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเคยเป็นเหมือนชาวสะมาเรียใจดีสำหรับท่านเมื่อใด?

การทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์

หลังจากประทานคำอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงเป็นปรมาจารย์ ทรงถามทนายว่าเขาเรียนรู้อะไรและทรงมีพระดำรัสเชิญให้ทนายลงมือทำ อ่าน ลูกา 10:36–37 โดยมองหาพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับทนาย

  • ท่านจะประยุกต์ใช้พระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิตท่านเองได้อย่างไร?

  • พระดำรัสเชิญนี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับความรู้สึกของพระผู้ช่วยให้รอดที่ทรงมีต่อบุตรธิดาทั้งปวงของพระบิดาบนสวรรค์?

เรามีโอกาสมากมายที่จะทำตามคำแนะนำของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “ไปทำเหมือนอย่างนั้น” (ลูกา 10:37) ในสภาพแวดล้อมแตกต่างและมากมายที่เราอยู่เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน ออนไลน์ ในวอร์ดหรือสาขาของเรา และท่ามกลางคนแปลกหน้า

2. เลือกสภาพแวดล้อมหนึ่งอย่างที่ระบุไว้ในย่อหน้าก่อนหน้านี้และบันทึกคำตอบของท่านสำหรับคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • มีวิธีเฉพาะอะไรบ้างที่ท่านอาจทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อแสดงความรักต่อเพื่อนบ้านของท่านในสภาพแวดล้อมนี้?

  • อะไรจะทำให้การแสดงความรักต่อเพื่อนบ้านในสภาพแวดล้อมนี้ทำได้ยาก?

  • หากบุคคลหนึ่งมีปัญหาในการแสดงความรักต่อเพื่อนบ้านในสภาพแวดล้อมนี้ ท่านจะสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์อย่างไรที่อาจช่วยได้?

  • อะไรคือสิ่งที่ท่านรู้สึกว่าได้รับการกระตุ้นให้ทำอันเป็นผลมาจากสิ่งที่ท่านศึกษาวันนี้?

ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?

อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดีเป็นสัญลักษณ์แทนการเดินทางในชีวิตของเราอย่างไร?

เอ็ลเดอร์เกอร์ริท ดับเบิลยู. กองแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
Official Portrait of Gerrit W. Gong. Photographed in 2018.

บนถนนฝุ่นฟุ้งของเราไปยังเมืองเยรีโค เราถูกทำร้าย บาดเจ็บ และถูกทิ้งในความเจ็บปวด

ทั้งที่เราควรช่วยเหลือกัน เรากลับเดินเลยไปอีกฟากถนนบ่อยครั้งเหลือเกิน ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม

แต่ด้วยความสงสาร ชาวสะมาเรียใจดีพระองค์นั้นทรงหยุดทำแผลให้เราด้วยเหล้าองุ่นและน้ำมัน สัญลักษณ์ของศีลระลึกและศาสนพิธีอื่นๆ เหล้าองุ่นและน้ำมันชี้เราไปสู่การเยียวยาทางวิญญาณในพระเยซูคริสต์ ชาวสะมาเรียใจดีพระองค์นั้นทรงวางเราบนหลังลา หรือตามเรื่องราวในกระจกสีคือแบกเราขึ้นบ่า พระองค์ทรงพาเราไปที่โรงแรม ซึ่งสามารถเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนจักรของพระองค์ ที่โรงแรม ชาวสะมาเรียใจดีพระองค์นั้นตรัสว่า “ช่วยรักษาเขาด้วย … [เรา] จะใช้ [เงินคืน] ให้เมื่อกลับมา” [ลูกา 10:35] ชาวสะมาเรียใจดีพระองค์นั้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงพระผู้ช่วยให้รอด ทรงสัญญาว่าจะกลับมา คราวนี้มาในพระบารมีและรัศมีภาพ

(เกอร์ริท ดับเบิลยู. กอง, “ที่ว่างในโรงแรม,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 24–25)

เหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้ชาวสะมาเรียแทนชาวยิวเป็นผู้ที่ช่วยชายที่บาดเจ็บ?

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า

ภาพ
Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

มีความจงเกลียดจงชังระหว่างชาวยิวกับชาวสะมาเรียในสมัยของพระคริสต์ ตามปกติคนทั้งสองกลุ่มนี้จะไม่คบค้าสมาคมกัน เรื่องนี้จะยังคงเป็นอุปมาที่ดี เต็มไปด้วยคำสอน แม้จะให้ชายที่ถูกปล้นได้รับการช่วยเหลือจากชาวยิว

พระองค์ทรงจงใจที่ใช้อุปมาเกี่ยวกับชาวยิวและชาวสะมาเรีย สอนอย่างแจ้งชัดว่าเราทุกคนเป็นเพื่อนบ้านกัน เราควรรัก เห็นคุณค่า ยกย่องและรับใช้กัน แม้จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งรวมถึงความแตกต่างในด้านศาสนา การเมือง และวัฒนธรรม

(เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “คำสอนแห่งการยอมรับทุกคน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2001, 46)

ฉันควรทำอย่างไรเมื่อโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่นมาในช่วงเวลาที่ไม่สะดวก?

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด รักษาการประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า

ภาพ
Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

โอกาสที่จะรับใช้ผู้อื่นอย่างมีความหมาย ดังที่เราได้ทำพันธสัญญาว่าจะทำ ไม่ค่อยจะมาในเวลาที่สะดวกสบาย การดำเนินชีวิตตามความสะดวกจะไม่มีพลังทางวิญญาณแต่อย่างใด พลังจะมาเมื่อเรารักษาพันธสัญญาของเรา

(เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “ดุจดังเปลวเพลิงที่ไม่รู้ดับ,” เลียโฮนา, ก.ค. 1999, 123)

ประธานโธมัส เอส. มอนสัน (1927–2018) เตือนเราว่า

ภาพ
Official portrait of President Thomas S. Monson, 2008.

อย่าปล่อยให้ปัญหาที่ต้องแก้ไขสำคัญกว่าคนที่ท่านต้องรัก

(โธมัส เอส. มอนสัน, “พบปีติในการเดินทาง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 106)

พิมพ์