เซมินารี
ลูกา 11:1–13


ลูกา 11:1–13

“องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงสอนพวกข้าพระองค์อธิษฐาน”

Two girls, likely sisters, kneel next to each other at a bed, praying. There are blankets folded up at the head of the bed. Behind them is a wardrobe.

หลังจากได้ยินพระเยซูทรงสวดอ้อนวอน “สาวกของพระองค์คนหนึ่งทูลว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงสอนพวกข้าพระองค์อธิษฐาน” (ลูกา 11:1) พระเยซูทรงตอบด้วยคำสอนที่ลึกซึ้งซึ่งจะช่วยทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างเรากับพระบิดาบนสวรรค์เข้มแข็งขึ้นโดยผ่านคำสวดอ้อนวอน บทเรียนนี้สามารถช่วยท่านทำให้คำสวดอ้อนวอนของท่านมีความหมายมากขึ้น

พระเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

ใคร่ครวญคำตอบของคำถามสองข้อต่อไปนี้

  • เหตุใดการสวดอ้อนวอนจึงง่าย?

  • เหตุใดการสวดอ้อนวอนจึงยาก?

การสวดอ้อนวอนจะเรียบง่ายและตรงไปตรงมาได้แต่ลึกซึ้งและด้วยความเพียรพยายามมากด้วย ขณะท่านเรียนรู้จากคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน ขอให้แสวงหาการเปิดเผยว่าจะทำให้คำสวดอ้อนวอนมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไรอ่าน ลูกา 11:1 โดยมองหาคำขอของสานุศิษย์คนหนึ่งของพระผู้ช่วยให้รอดที่ทูลขอพระองค์

พระเยซูทรงตอบด้วยสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า พระองค์ประทานคำสวดอ้อนวอนนี้ระหว่างคำเทศนาบนภูเขาเช่นกัน (ดู มัทธิว 6:9–13) บางคนรู้สึกว่าพระเยซูตั้งพระทัยให้ท่องจำและกล่าวซ้ำคำสวดอ้อนวอนนี้ แต่ดังที่ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอน “การสวดอ้อนวอนของพระเจ้าจึงเป็นแบบฉบับให้ทำตามไม่ใช่ให้ท่องจำหรือท่องให้ฟัง” (“บทเรียนจากคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 57) หลังจากพระเยซูประทานคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้าเป็นตัวอย่างวิธีสวดอ้อนวอนแล้ว พระองค์ทรงเสนอคำสอนที่เป็นแรงบันดาลใจอื่นๆ เกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

เพื่อค้นหาความจริงที่อาจช่วยท่านได้ อ่านคำถามต่อไปนี้ เลือกคำถามที่ท่านต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมและอ่านข้อความพระคัมภีร์ที่มาด้วยกัน

  • ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างการสวดอ้อนวอนของพระผู้ช่วยให้รอด? (ลูกา 11:2–4; มัทธิว 6:9–13)

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาอะไรเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน? (ลูกา 11:9–13 )

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนเราไม่ให้ทำสิ่งใดในการสวดอ้อนวอนของเรา? (มัทธิว 6:7–8)

Writing on a piece of paper with a pen or pencil. 1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ความจริงหนึ่งอย่างที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้คืออะไร?

  • ท่านมีประสบการณ์อะไรบ้างกับความจริงนี้?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์จากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้?

เพิ่มพูนความรู้ของท่านให้ลึกซึ้ง

Writing on a piece of paper with a pen or pencil. 2. เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ของท่านให้ลึกซึ้งเกี่ยวกับคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอด ทำกิจกรรม ก ข หรือ ค ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดพระคัมภีร์ที่ท่านเลือกไว้ก่อนหน้านี้ ปฏิบัติตามคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ท่านเลือก

กิจกรรม ก: ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างการสวดอ้อนวอนของพระผู้ช่วยให้รอด? (ลูกา 11:2–4)

อ่านวลีต่อไปนี้ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้ในคำสวดอ้อนวอนของพระองค์และเลือกสองวลีที่ท่านต้องการไตร่ตรอง

  • “ข้าแต่พระบิดา ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ” (ลูกา 11:2)

  • “ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่” (ลูกา 11:2)

  • (“พระประสงค์จะเกิดสัมฤทธิผลทั้งในสวรรค์และในแผ่นดินโลกด้วย”) (ดู ลูกา 11:2)

  • “ขอประ‌ทานอาหารประ‌จำวันแก่พวก‍ข้า‍พระ‍องค์ทุกๆ วัน” (ลูกา 11:3)

  • “ขอทรงยกโทษบาปผิดของพวกข้าพระองค์ เพราะว่าพวกข้าพระองค์ยกโทษให้กับทุกคนที่เป็นหนี้ข้าพระองค์นั้น” (ลูกา 11:4)

  • “และขออย่าได้ทรงยอมให้พวกข้าพระองค์ถูกนำไปสู่การล่อลวง (แต่ขอทรงปลดปล่อยพวกข้าพระองค์จากความชั่วร้าย)” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 6:14 [ดู ลูกา 11:4 ด้วย])

โดยนึกถึงสองวลีที่ท่านเลือกไว้ ให้นึกถึงคำตอบของท่านสำหรับคำถามต่อไปนี้

  • ท่านจะสรุปความหมายของวลีเหล่านี้อย่างไร?

  • เมื่อใดที่ท่านสวดอ้อนวอนขอบางอย่างที่คล้ายกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสวดอ้อนวอน? สิ่งนี้มีผลต่อท่านอย่างไร?

  • ทำไมท่านคิดว่าการสวดอ้อนวอนตามรูปแบบที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่เราจะเป็นประโยชน์?

หากท่านเลือกกิจกรรมนี้ ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านหนึ่งวิธีที่ท่านต้องการทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการสวดอ้อนวอนของท่าน

กิจกรรม ข: พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนอย่างไร ? (ลูกา 11:9–13)

ตามที่บันทึกไว้ใน ลูกา 11:9 พระเจ้าทรงสัญญาว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน”

  • กิริยา “ขอ” “หา” และ “เคาะ” เหมือนกันอย่างไร? แตกต่างกันอย่างไร?

  • ถ้อยคำเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจวิธีสวดอ้อนวอนอย่างมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร?

จากนั้นพระเยซูทรงเปรียบเทียบความปรารถนาของพ่อผู้เป็นมนุษย์ที่จะมอบของขวัญแก่ลูกกับความปรารถนาของพระบิดาบนสวรรค์ที่จะประทานของขวัญแก่เรา ในงานแปลของโจเซฟ สมิธ พระเยซูทรงสอนว่าหากพ่อผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่ดีพร้อม “รู้จักให้สิ่งดีแก่บุตร [ของเขา]” (ลูกา 11:13) “แล้วพระบิดาบนสวรรค์ของเจ้าจะทรงมอบของประทานที่ดีผ่านทางพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แก่คนเหล่านั้นที่ขอพระองค์ยิ่งกว่านั้นเพียงใด?” เป็นสิ่งสำคัญที่จะจดจำว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงตอบคำสวดอ้อนวอนในวิธีและเวลาของพระองค์เอง

  • ท่านคิดว่าของประทานประเภทใดที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการมอบให้แก่ผู้ที่ขอและแสวงหาสิ่งเหล่านั้น? ท่านคิดว่าพระองค์ทรงต้องการมอบอะไรให้ท่าน?

ถ้าท่านเลือกกิจกรรมนี้ ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านเกี่ยวกับเวลาที่ท่านรู้สึกว่าได้รับคำตอบสำหรับคำสวดอ้อนวอนของท่าน หรืออธิบายสิ่งที่ท่านจะทำเพื่อหาคำตอบให้คำสวดอ้อนวอน

เขียนด้วยว่าการระลึกว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงตอบคำสวดอ้อนวอนอาจช่วยให้การสวดอ้อนวอนในปัจจุบันของท่านมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร

กิจกรรม ค: พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนเราไม่ให้ทำอะไรในการสวดอ้อนวอนของเรา? (มัทธิว 6:7–8)

ในคำเทศนาบนภูเขา พระเยซูทรงสอนว่าเราไม่ควร “พูดพล่อยๆ ซ้ำซาก” (มัทธิว 6:7) ในบริบทนี้ พล่อย หมายถึงว่างเปล่าหรือไร้ประโยชน์ การสวดอ้อนวอนโดยใช้คำพูดพล่อยๆ ซ้ำซากคือการสวดอ้อนวอนซ้ำเหมือนเดิมหรือใช้ถ้อยคำเดิมในการสวดอ้อนวอนแบบไม่คิด หากเราจริงใจในคำขอของเราถึงแม้คำสวดอ้อนวอนของเราจะซ้ำเหมือนเดิมแต่จะไม่ใช่การพูดพล่อยๆ ซ้ำซาก

  • การหลีกเลี่ยงที่จะพูดพล่อยๆ ซ้ำซากในคำสวดอ้อนวอนของเราอาจช่วยให้เราเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร?

  • ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงที่จะพูดพล่อยๆ ซ้ำซากขณะสวดอ้อนวอน?

นึกถึงตัวอย่างของการสวดอ้อนวอนที่ท่านกล่าวซึ่งมาจากการไตร่ตรองและมีความจริงใจ

  • การสวดอ้อนวอนด้วยวิธีนี้ส่งผลต่อท่านอย่างไร?

หากท่านเลือกกิจกรรมนี้ ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านวิธีหนึ่งที่ท่านต้องการทำตามคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะพูดพล่อยๆ ซ้ำซากในคำสวดอ้อนวอนของท่าน

ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?

null

1:47

How God Talks to Us Today

A woman describes the power of prayer in her life.

2:49

Principles of Peace: Prayer #PrinceofPeace

Prayer is how we tell our Heavenly Father the blessings we desire and express our gratitude for what He has given us. As we pray in the name of Jesus Christ, we can receive answers to our prayers—including finding the peace Christ promises us.

หากฉันรู้สึกว่าคำสวดอ้อนวอนของฉันไม่ได้รับคำตอบเล่า?

เอ็ลเดอร์เจ. เดฟน์ คอร์นิชแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า

Official Portrait of Elder J. Devn Cornish. Photographed August 2017.

บางครั้งดูเหมือนเราไม่ได้รับคำตอบสำหรับการสวดอ้อนวอนที่จริงใจและด้วยสุดจิตสุดใจ เราต้องใช้ศรัทธาที่จะระลึกว่าพระเจ้าทรงตอบในเวลาของพระองค์และในวิธีของพระองค์เพื่อจะเป็นพรอันประเสริฐสุดสำหรับเรา หรือเมื่อคิดไกลไปกว่านั้นเรามักจะตระหนักว่าเราทราบดีอยู่แล้วว่าเราควรทำสิ่งใด

โปรดอย่าท้อใจถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดผลทั้งหมดกับท่านโดยทันที ดังเช่นการเรียนภาษาต่างประเทศต้องใช้การฝึกฝนและความพยายาม ถึงกระนั้นขอให้ท่านทราบว่าท่านสามารถเรียนภาษาของพระวิญญาณได้ เมื่อท่านทำได้ท่านจะมีศรัทธายิ่งใหญ่และพลังในความชอบธรรม

(เจ. เดฟน์ คอร์นิช, “สิทธิพิเศษของการสวดอ้อนวอน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 132)

หากฉันรู้สึกไม่มีค่าควรที่จะสวดอ้อนวอนเล่า?

เอ็ลเดอร์เจ. เดฟน์ คอร์นิชแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า

Official Portrait of Elder J. Devn Cornish. Photographed August 2017.

มีความเสี่ยงสำหรับบุคคลที่อาจรู้สึกว่าไม่ดีพอจะสวดอ้อนวอน ความคิดนี้มาจากวิญญาณร้ายผู้นั้นซึ่งสอนเราไม่ให้สวดอ้อนวอน (ดู 2 นีไฟ 32:8) น่าเศร้าพอๆ กันที่จะคิดว่าเราเป็นคนบาปเกินกว่าจะสวดอ้อนวอน เปรียบได้กับคนที่คิดว่าตนเองเจ็บป่วยมากเกินกว่าจะไปพบแพทย์

(เจ. เดฟน์ คอร์นิช, “สิทธิพิเศษของการสวดอ้อนวอน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 132)