เซมินารี
มัทธิว 11:28–30


มัทธิว 11:28–30

“เราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก”

พระเยซูทรงปลอบมารีย์กับมารธา

ระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจ พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนกฎที่สูงกว่าของพระกิตติคุณและทรงรักษาคนป่วย ขณะแรงกดดันต่อต้านพระผู้ช่วยให้รอดและคำสอนของพระองค์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พระองค์ทรงประณามความชั่วร้ายและทรงสัญญาว่าทุกคนที่มาหาพระองค์จะได้พักผ่อน บทเรียนนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ท่านได้ว่าพระเจ้าจะทรงช่วยท่านในความท้าทายและภาระที่ท่านมี

ภาระและความท้าทายของท่าน

วาดภาพคนอย่างง่ายแทนวัยรุ่นคนหนึ่ง วาดเป้บนหลังภาพคนอย่างง่ายเพื่อแทนภาระและความเครียดที่วัยรุ่นสมัยนี้ประสบ เขียนภาระหรือความเครียดอย่างน้อยห้าอย่างลงใน บน หรือรอบๆ เป้

ภาพคนอย่างง่ายกําลังแบกเป้
  • จากคะแนนหนึ่งถึงห้า ห้าเท่ากับดีมากและหนึ่งเท่ากับไม่ดีเลย ท่านรู้สึกว่าท่านรับมือกับภาระและเหตุการณ์เครียดๆ ของท่านได้ดีเพียงใด?

หากท่านรับมือได้ไม่ดี ท่านอาจใช้เวลาสักครู่ตอนนี้ทูลเชิญพระบิดาบนสวรรค์ให้ทรงช่วยท่านค้นหาหลักธรรมที่สามารถช่วยท่านรับมือกับภาระบางอย่างที่ท่านแบกอยู่ตอนนี้ อ่าน มัทธิว 11:28–30 เพื่อมองหาความจริงที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนซึ่งอาจจะช่วยคนที่แบกภาระหนักอึ้งได้

ไอคอนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนมัทธิว 11:28–30 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ท่านอาจทำเครื่องหมายข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนให้ชัดเจนเพื่อจะหาเจอได้ง่าย

  • ท่านพบความจริงอะไรบ้าง?

  • ความจริงเหล่านี้อาจจะช่วยคนที่กำลังมีเวลายากๆ ได้อย่างไร?

“จงเอาแอกของเราแบกไว้”

บางครั้งคำหรือวลีในพระคัมภีร์อาจเข้าใจยาก การเรียนรู้ความหมายของคำและวลีสามารถช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้เรารู้ ฝึกเรียนรู้กับวลี “จงเอาแอกของเราแบกไว้” (มัทธิว 11:29)

ชายขี่เกวียนเทียมวัว

แอกคือ “อุปกรณ์สวมรอบคอสัตว์หรือมนุษย์เพื่อเทียมหรือลากไปพร้อมๆ กัน” (คู่มือพระคัมภีร์, “แอก,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org) สัตว์ในภาพนี้เทียมแอกอยู่

เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบแห่งสาวกเจ็ดสิบเล่าประสบการณ์ต่อไปนี้:

เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบ

ในเดือนธันวาคมปี 2015 ที่เมืองมัดซิวา ซิมบับเว ข้าพเจ้ากับนาอูมี [ภรรยาข้าพเจ้า] เห็นชายคนหนึ่งไถนากับวัวสองตัว ข้าพเจ้าแปลกใจที่เห็นสัตว์ตัวหนึ่งเป็นวัวตัวใหญ่และอีกตัวเป็นวัวตัวเล็ก ข้าพเจ้างงมาก และพูดออกมาด้วยความสงสัยว่า “ทำไมชาวนาใช้สัตว์ตัวไม่เท่ากันสองตัวเทียมแอกไถนา?”

คุณแม่ของนาอูมีซึ่งยืนอยู่ใกล้ๆ ชี้ไปที่แอก ข้าพเจ้ามองดูใกล้ๆ และเห็นสาย [เชือกหรือโซ่] โยงแอกกับวัวตัวเล็ก วัวตัวใหญ่ลากน้ำหนักทั้งหมด ส่วนวัวตัวเล็กจิ๋วกำลังถูกฝึก กำลังเรียนรู้วิธีไถนา

(Edward Dube, “Learn of Me,” Liahona, Oct. 2020, Africa Southeast Local Pages, ChurchofJesusChrist.org)

  • ความสัมพันธ์ของเรากับพระผู้ช่วยให้รอดอาจจะเหมือนความสัมพันธ์ของวัวตัวใหญ่กับวัวตัวเล็กอย่างไร?

  • การรู้ความหมายของ แอก ทำให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้นอย่างไรเกี่ยวกับความรู้สึกที่พระคริสต์ทรงมีต่อท่าน?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า:

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

การทำและรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ใส่แอกเทียมเรากับพระเจ้าพระเยซูคริสต์

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 88)

  • ท่านคิดว่าการทำและรักษาพันธสัญญาใส่แอกเทียมเรากับพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ดูเบอธิบายว่า:

เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบ

เมื่อใส่แอกเทียมเรากับพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงแบกภาระ และเรามีส่วนในปีติของงานนั้น พระดำรัสเชื้อเชิญของพระเจ้าให้เราแต่ละคนเรียนรู้จากพระองค์เป็นแหล่งแน่นอนเพียงแหล่งเดียวซึ่งทำให้เกิดสันติ ปีติ และให้คำตอบแก่จิตใจที่ว้าวุ่น

(Edward Dube, “Learn of Me,” Liahona, Oct. 2020, Africa Southeast Local Pages, ChurchofJesusChrist.org)

  • การเรียนรู้จากพระเยซูคริสต์ปีนี้ได้ช่วยท่านแบกภาระของท่านและทำให้ท่านเกิดสันติและปีติอย่างไร?

การมาหาพระคริสต์และรับการหยุดพักของพระองค์

ไอคอนการจดบันทึก 1. ทำกิจกรรม ก หรือ ข ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ทำตามคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ท่านเลือก

กิจกรรม ก: “จงมาหาเรา” (มัทธิว 11:28) ฉันจะมาหาพระคริสต์ได้อย่างไร?

เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอดและการหยุดพักที่พระองค์ทรงมอบให้ เราต้องมาหาพระองค์

  • หากมีคนถามท่านว่าการมาหาพระคริสต์หมายความว่าอย่างไร ท่านจะตอบว่าอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ (1928–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองระบุหลายวิธีที่เราจะมาหาพระคริสต์ได้

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

เมื่อเราเสมอต้นเสมอปลายในการสวดอ้อนวอนทุกเช้าค่ำ ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน สังสรรค์ในครอบครัวทุกสัปดาห์ และเข้าพระวิหารเป็นประจำ เราตอบรับอย่างแข็งขันต่อการเชื้อเชิญให้ “มาหาพระองค์”

(ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “ทำให้การใช้ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 92)

ท่านอาจจะดู “Come unto Christ: 2014 Theme Song” (4:48) เพื่อดูตัวอย่างของคนที่มาหาพระผู้ช่วยให้รอด วีดิทัศน์เรื่องนี้อยู่บน ChurchofJesusChrist.org

4:48

Come unto Christ: 2014 Theme Song

No matter what we are struggling with, there is always hope if we come unto Christ.

ไอคอนการจดบันทึก 2. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ท่านได้ทำอะไรบ้างเพื่อมาใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น? (อาจรวมถึงพันธสัญญาที่ท่านทำและรักษา)

  • ท่านรู้สึกว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อมาหาพระคริสต์อย่างเต็มที่มากขึ้นและเข้าถึงความช่วยเหลือของพระองค์?

กิจกรรม ข: “เราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก” (มัทธิว 11:28) พระคริสต์จะทรงยกภาระของฉันได้อย่างไร?

แบบอย่างอันทรงพลังที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้ภาระเบาลงมีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์มอรมอน แอลมากับผู้คนของเขาถูกจับเป็นเชลย ถูกบังคับให้ทำงาน และถูกข่มเหงอย่างรุนแรง

อ่าน โมไซยาห์ 24:12–16 ท่านอาจต้องการดูวีดิทัศน์เรื่อง “Chapter 17: Alma and His People Escape” ตั้งแต่ช่วงเวลา 0:01 ถึง 1:29 ด้วย วีดิทัศน์เรื่องนี้อยู่บน ChurchofJesusChrist.org

1:54

Chapter 17: Alma and His People Escape

ไอคอนการจดบันทึก 3. บันทึกคำตอบของคำถามต่อไปนี้และเขียนแนวคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยท่านแบกภาระของท่าน?

  • ผู้คนของแอลมาทำอะไรเพื่อเข้าถึงความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอด?

  • การเข้าใจบทบาทของเราในการเอื้อมไปหาพระผู้ช่วยให้รอดอาจจะช่วยคนที่กำลังประสบความท้าทายได้อย่างไร?

ลองคิดถึงประสบการณ์ของท่านเองหรือประสบการณ์ของคนที่ท่านรู้จักและบันทึกเวลาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงยกภาระ บันทึกสิ่งที่ท่านหรือคนรู้จักทำเพื่อเอื้อมไปหาพระผู้ช่วยให้รอดและวิธีที่พระองค์ทรงช่วยเหลือด้วย

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

พระเยซูคริสต์ทรงช่วยเราอย่างไรเมื่อเรามาหาพระองค์?

เอ็ลเดอร์จอห์น เอ. แม็คคูนแห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายพรบางอย่างที่เกิดขึ้นได้เมื่อเรามาหาพระเยซูคริสต์

จอห์น เอ. แม็คคูน

เมื่อเรายอมรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาหาเรา” (มัทธิว 11:28) พระองค์จะทรงให้ความช่วยเหลือ การปลอบโยน และสันติสุขที่จำเป็น … แม้ในการทดลองอันยากที่สุด เราสามารถรู้สึกถึงอ้อมกอดอันอบอุ่นแห่งความรักของพระองค์เมื่อเราวางใจพระองค์และยอมรับพระประสงค์ของพระองค์

(จอห์น เอ. แม็คคูน, “มาหาพระคริสต์—ดำเนินชีวิตเฉกเช่นวิสุทธิชนยุคสุดท้าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 36)

วีดิทัศน์เรื่อง “Living with Depression” (3:13) ให้ตัวอย่างวิธีที่พระเยซูคริสต์สามารถช่วยเราแม้จะหมายความว่าพระองค์ยังไม่ทรงปลดปล่อยเราจากการทดลองยากๆ

3:13

Living with Depression

When Heather first recognized the symptoms of her depression, she felt ashamed. She also felt sure that with faith, prayer, and help from Jesus Christ, the depression could be taken away. She learned that prayers are answered in unexpected ways.