มัทธิว 4:1–11 ภาค 1
พระเยซูคริสต์ทรงต้านทานการล่อลวงของซาตาน
หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงรับบัพติศมา พระองค์เสด็จเข้าไปในแดนทุรกันดารเพื่อประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:1 [ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ ]) ซาตานล่อลวงพระองค์ แต่พระองค์ทรงต้านทานการล่อลวงเหล่านั้น ในบทเรียนนี้ท่านสามารถระบุหลักธรรมที่ช่วยให้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการต้านทานการล่อลวงของซาตาน
เราล้วนเผชิญการล่อลวง
ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านหรือในแผ่นกระดาษให้วาดภาพคนอย่างง่ายโดยใช้เส้นเดียวที่แสดงถึงบุคคลวัยเดียวกับท่าน ถัดจากภาพคนให้เขียนสิ่งล่อลวงสองหรือสามอย่างที่บุคคลนี้อาจเผชิญ
-
เหตุใดบุคคลนี้อาจยอมแพ้ต่อสิ่งล่อลวงเหล่านี้?
-
ชีวิตพวกเขาจะดีขึ้นอย่างไรหากสามารถต้านทานสิ่งล่อลวงเหล่านี้?
-
ท่านเคยได้รับพรอะไรบ้างเมื่อท่านต้านทานการล่อลวง?
ขณะท่านศึกษาวันนี้ให้นึกถึงการล่อลวงที่ท่านเผชิญ แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะท่านค้นหาสิ่งที่เรียนรู้ได้จากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดว่าจะต้านทานการล่อลวงเหล่านี้และในอนาคตอย่างไร
พระเยซูคริสต์ทรงเผชิญและต้านทานการล่อลวง
พระคัมภีร์สอนว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงประสบการล่อลวงทุกประเภท “แต่มิทรงเอาพระทัยใส่สิ่งเหล่านั้น” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:22; ดู โมไซยาห์ 15:5; แอลมา 7:11 ด้วย)
ประสบการณ์หนึ่งเกิดขึ้นหลังพระองค์ทรงรับบัพติศมา เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปในแดนทุรกันดารเพื่อประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:1 [ใน ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ] ) หลังจากพระเยซูทรงสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าเป็นเวลา 40 วัน ซาตานมาล่อลวงพระองค์ (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:2 [ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ ]) โดยศึกษาเหตุการณ์นี้ในพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด เราจะได้เรียนรู้วิธีต้านทานการล่อลวงที่เผชิญจากแบบอย่างของพระองค์
สำหรับเรื่องราวนี้ งานแปลของโจเซฟ สมิธเปลี่ยนแปลงแก้ไขและให้คำชี้แจงที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจพระคัมภีร์ชัดเจนขึ้น (ท่านอาจต้องการทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับงานแปลของโจเซฟ สมิธในบทเรียน “การศึกษาพระคัมภีร์”)
ขณะท่านใช้งานแปลของโจเซฟ สมิธในกิจกรรมต่อไปนี้ ให้สังเกตว่าการใช้งานแปลนี้เพิ่มความเข้าใจของท่านในพระคัมภีร์อย่างไร ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความประทับใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์และบันทึกการกระตุ้นเตือนที่ได้รับ
อ่าน มัทธิว 4:1–11 อย่างถี่ถ้วน รวมถึงการแก้ไขที่มีอยู่ในงานแปลของโจเซฟ สมิธ ระบุวิธีทำให้ข้อความนี้สมบูรณ์: _________________ ช่วยให้เราต้านทานการล่อลวงได้
ท่านอาจใช้แผนภูมิต่อไปนี้เพื่อช่วยท่าน
สิ่งที่ซาตานล่อลวงให้พระเยซูทรงทำ |
พระเยซูทรงตอบสนองต่อการล่อลวงอย่างไร | |
1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ท่านอาจเพิ่มการกระตุ้นเตือนหรือความประทับใจที่ได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์
-
ท่านระบุหลักธรรมอะไรบ้างจากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด?
-
หลักธรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้ท่านเข้าถึงพลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อช่วยให้ท่านและผู้อื่นต้านทานการล่อลวงอย่างไร?
-
การใช้งานแปลของโจเซฟ สมิธในการศึกษาพระคัมภีร์อาจช่วยปรับปรุงการศึกษาของท่านและช่วยให้ท่านรู้จักพระผู้ช่วยให้รอดดีขึ้นได้อย่างไร?
ทบทวนภาพวาดที่ท่านสร้างขึ้นในตอนต้นของบทเรียนและหลักธรรมที่ท่านระบุไว้จากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดใน มัทธิว 4:1–11
2.
-
ท่านรู้สึกว่าหลักธรรมใดจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับบุคคลที่ท่านวาด? เพราะเหตุใด?
-
ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่ท่านอาจแบ่งปันกับบุคคลนี้? สิ่งนี้จะช่วยพวกเขาอย่างไร?
พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเราได้ในการล่อลวงที่เราเผชิญ
นึกถึงการล่อลวงที่ท่านเผชิญ บางครั้งเราอาจรู้สึกผิดหรือมีบาปเพียงเพราะเรารู้สึกถูกล่อลวง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือตระหนักว่าการล่อลวงในตัวของมันเองไม่ใช่บาป—แต่การกระทำอันเกิดจากการล่อลวงต่างหากเป็นบาป เพราะพระผู้ช่วยให้รอดพระองค์เองทรงถูกล่อลวงเช่นกันแต่ยังทรงไร้บาป เราจึงรู้ว่าพระองค์ทรงสามารถช่วย (ช่วยเหลือหรือสนับสนุน) เราได้ในการล่อลวงที่เราเผชิญ (ดู ฮีบรู 2:18; 4:15–16)เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเตือนความจำเราว่า
สำหรับคนที่ตกอยู่ในการล่อลวงไม่ว่าด้วยเหตุผลใดและกำลังหมกมุ่นกับการกระทำที่ไม่ชอบธรรม ข้าพเจ้ารับรองกับท่านว่ามีทางหันกลับ มีความหวังในพระคริสต์
(ยูลิซีส ซวาเรส, “แสวงหาพระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 84)
3.
-
แนวคิดที่มีประโยชน์ที่สุดที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดในบทเรียนนี้คืออะไร? เหตุใดจึงมีประโยชน์ต่อท่าน?
-
โดยไม่ต้องอธิบายการล่อลวงที่เฉพาะเจาะจงของท่าน ท่านรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้ทำสิ่งใดที่จะทำให้พึ่งพาพระผู้ช่วยให้รอดเต็มที่มากขึ้นเพื่อช่วยท่านต้านทานการล่อลวง?
ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?
งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:1–2, 5–6, 8–9, 11 โจเซฟ สมิธตรวจแก้อะไรใน มัทธิว 4:1–11 ในงานแปลที่ได้รับการดลใจของเขา?
[ถ้อยคำตัวเอนแสดงถึงการแก้ไขที่ได้รับการดลใจโดยโจเซฟ สมิธ]
1 เวลานั้น พระวิญญาณทรง, เข้าไปในแดนทุรกันดาร, เพื่อไปประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า.
2 และเมื่อพระองค์ทรงอดอาหารสี่สิบวันสี่สิบคืน, และทรงสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า, ภายหลังพระองค์ก็ทรงหิว, และทรงถูกทิ้งไว้ให้มารล่อลวง.
5 เวลานั้น พระวิญญาณทรงรับพระเยซู เข้าไปในนครศักดิ์สิทธิ์, และ พระวิญญาณ ทรงวางพระองค์ ไว้บน ยอดพระวิหาร.
6 ครั้นแล้วมารจึงมาหาพระองค์และกล่าว, หากท่านเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า, จงกระโจนลงไปเถิด : เพราะมีเขียนไว้ว่า, พระองค์จะทรงมอบหมายบรรดาเทพของพระองค์เกี่ยวกับท่าน : และในมือพวกเขา พวกเขาจะรองรับท่าน, ด้วยเกรงว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่งเท้าของท่านจะโถมเข้ากระแทกศิลา.
8 และ อนึ่ง, พระเยซูทรงอยู่ในพระวิญญาณ, และพระวิญญาณ ทรงนำพระองค์ขึ้นไปบนภูเขาสูงลิบลิ่ว, และให้พระองค์ทอดพระเนตรอาณาจักรทั้งปวงของโลกและรัศมีภาพของอาณาจักรเหล่านั้น.
9 และ มารมาหาพระองค์อีก, และกล่าว, สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เราจะ ให้ ท่าน, หากท่านจะน้อมกายลงนมัสการเรา.
11 และบัดนี้พระเยซูทรงทราบว่ายอห์นถูกโยนเข้าเรือนจำ, และพระองค์ทรงส่งเหล่าเทพ, และ, ดูเถิด, พวกท่าน มาปฏิบัติต่อเขา.
เหตุใดการระมัดระวังความคิดของฉันจึงสำคัญในการต้านทานการล่อลวง?
เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายวิธีหนึ่งที่เราสามารถปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อต้านทานการล่อลวง ดู “แสวงหาพระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง” ตั้งแต่ช่วงเวลา 10:56 ถึง 12:37 (มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org) หรืออ่านข้อความต่อไปนี้
ขณะเตรียมทำพระพันธกิจบนแผ่นดินโลกให้สำเร็จ พระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างความสำคัญของการแน่วแน่ต่อต้านทุกอย่างที่อาจเหนี่ยวรั้งเราไม่ให้บรรลุจุดประสงค์นิรันดร์ หลังจากศัตรูโจมตีไม่เป็นผลหลายครั้งเพื่อพยายามทำให้พระองค์หันเหจากพระพันธกิจ พระผู้ช่วยให้รอดทรงเลิกการสนทนาทันทีโดยตรัสว่า: “จงไปให้พ้นเจ้าซาตาน … แล้วมารจึงไปจากพระองค์ และมีเหล่าทูตสวรรค์มาปรนนิบัติพระองค์”
พี่น้องทั้งหลาย ท่านนึกออกไหมว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราได้ความเข้มแข็งและความกล้าหาญมาจากพระผู้ช่วยให้รอดและพูดว่า “ไม่” และ “ไปให้พ้น” ต่อความนึกคิดไม่ดีงามที่เข้ามาในจิตใจเราตั้งแต่แรก? จะส่งผลอะไรต่อความปรารถนาของใจเรา? การกระทำของเราหลังจากนั้นจะทำให้เราใกล้ชิดพระผู้ช่วยให้รอดและยอมให้อิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ต่อเนื่องในชีวิตเราอย่างไร? ข้าพเจ้ารู้ว่าในการทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด เราจะหลีกเลี่ยงเรื่องสลดใจและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาและความไม่ลงรอยในครอบครัว อารมณ์และความโน้มเอียงทางลบ ความอยุติธรรมและการกระทำทารุณกรรม การตกเป็นทาสของการเสพติดสิ่งชั่วร้าย และสิ่งใดก็ตามที่จะขัดกับพระบัญญัติของพระเจ้า
(ยูลิซีส ซวาเรส, “แสวงหาพระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 84–85)
เหตุใดฉันจึงต้องการต้านทานการล่อลวง?
พระคัมภีร์จะช่วยฉันเอาชนะการล่อลวงได้อย่างไร?
เอ็ลเดอร์เคลลีย์ อาร์. จอห์นสันแห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายว่า
โดยผ่านการเตรียมพร้อม พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีพลังอำนาจมากขึ้นและทรงสามารถต้านทานการล่อลวงทั้งหมดของซาตานได้ เมื่อเราทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและเตรียมพร้อมผ่านการศึกษาพระคำของพระผู้เป็นเจ้าและทำให้ศรัทธาลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราจะดึงพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้ามาใช้เพื่อต้านทานการล่อลวงได้เช่นกัน
(เคลลีย์ อาร์. จอห์นสัน, “พลังอำนาจอันยั่งยืน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 113)