โรม 12–15
ความเป็นหนึ่งเดียวกันผ่านพระเยซูคริสต์
ท่านเคยประสบปัญหากับความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ ไหม? วิสุทธิชนในโรมผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยของเปาโลมาจากพื้นเพและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน บางครั้งวิสุทธิชนเหล่านั้นก็ไม่ลงรอยกันและเกิดความตึงเครียดระหว่างกัน เพื่อเป็นการตอบสนอง เปาโลกระตุ้นให้วิสุทธิชนเหล่านั้น “เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” (โรม 12:16) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านค้นพบวิธีเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นกับสมาชิกศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด
เราทุกคนสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้
ไมกาห์และครอบครัวรับบัพติศมาเมื่อสามปีก่อน ครอบครัวของไมกาห์ใช้เวลาระยะหนึ่งในการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ในฐานะสมาชิกของศาสนจักร แต่ครอบครัวก็ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างอบอุ่นและการยอมรับจากสมาชิกสาขาของพวกเขา เมื่อเร็วๆ นี้พ่อของไมกาห์ได้ตอบรับงานใหม่และครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ในพื้นที่อื่น ไมกาห์เข้าร่วมกิจกรรมศาสนจักรและกิจกรรมเยาวชนในวอร์ดใหม่เป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่เขากลับประสบปัญหากับความรู้สึกเป็นที่ยอมรับของที่นั่น เยาวชนที่นั่นดูเหมือนจะนิสัยดี แต่เยาวชนเหล่านั้นส่วนใหญ่ดูเหมือนว่าเป็นสมาชิกของศาสนจักรมานานแล้ว และไมกาห์ก็กังวลว่าเยาวชนเหล่านั้นจะตัดสินเขาเพราะความไม่ดีพร้อมของเขาและความขาดประสบการณ์กับศาสนจักรหรือไม่
-
ท่านจะให้คำแนะนำใดกับไมกาห์เพื่อช่วยเขาในสถานการณ์นี้?
-
ท่านจะให้คำแนะนำอะไรแก่เยาวชนในวอร์ดใหม่ของไมกาห์?
เปาโลเขียนสาส์นของเขาถึงชาวโรมันในช่วงเวลาที่สมาชิกศาสนจักรซึ่งมีพื้นเพทางศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเริ่มนมัสการร่วมกัน มีบางครั้งที่วิสุทธิชนเหล่านี้ไม่ลงรอยกัน หรือตัดสินสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ อย่างไม่ยุติธรรมเพราะการเลือกของพวกเขาแตกต่างจากตน หนึ่งในบทเรียนที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากคำสอนของเปาโลในโรม 12–15 คือ แม้เราทุกคนจะมีความแตกต่างกัน แต่สมาชิกของศาสนจักรสามารถมุ่งมั่นเป็นหนึ่งเดียวกันผ่านคำสอนของพระเยซูคริสต์ได้
-
สิ่งใดที่ทำให้เกิดความยากลำบากที่จะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ?
-
ท่านคิดว่าเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อพระเจ้าที่สมาชิกศาสนจักรของพระองค์จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน?
ลองคิดดูว่าท่านรู้สึกผูกพันกับผู้คนในวอร์ดหรือสาขาของท่าน เพื่อนร่วมชั้นในเซมินารีของท่าน หรือสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ อย่างไร ในระหว่างบทเรียนนี้ ให้นึกถึงวิธีที่ท่านจะเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นกับสมาชิกศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด
คำสอนของเปาโลเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียวกัน
ศึกษาคำสอนของเปาโลเกี่ยวกับการเป็นหนึ่งเดียวกันจากข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้อย่างน้อยสองชุด ขณะที่ท่านศึกษา ให้มองหาคำสอนที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจและสนับสนุนสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น อาจเป็นประโยชน์ที่จะนำเสนอด้วยภาพสำหรับคำสอนของเปาโลอย่างน้อยหนึ่งข้อในข้อต่างๆ ที่ท่านศึกษา
-
ท่านเรียนรู้อะไรจากข้อที่ท่านศึกษาซึ่งจะช่วยให้ท่านมีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้อื่นมากขึ้น?
-
ความพยายามที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันกับคนอื่นๆ จะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร?
-
มีประสบการณ์ใดจากชีวิตของท่านหรือชีวิตของผู้อื่นที่แสดงให้ท่านเห็นถึงความสำคัญของการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ ?
l. .
-
. .
ประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้
1. ทำกิจกรรมต่อไปนี้:
นึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียวกันดังที่ท่านได้ศึกษาในวันนี้ ใช้เวลาในการวางแผนว่าท่านจะนำคำสอนเหล่านี้มาใช้ในชีวิตท่านอย่างไร เขียนเป้าหมายเกี่ยวกับวิธีที่ท่านจะมุ่งมั่นเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันในอย่างน้อยหนึ่งสถานการณ์ต่อไปนี้:
-
กับสมาชิกชั้นเรียนเยาวชนหญิงหรือโควรัมฐานะปุโรหิตของท่าน
-
กับสมาชิกชั้นเรียนเซมินารีของท่าน
-
กับสมาชิกคนอื่นๆ ในวอร์ดหรือสาขาของท่าน
นอกจากนี้ยังอาจเป็นประโยชน์ที่จะจดบันทึกอุปสรรคที่ท่านพบเจอในการบรรลุเป้าหมายของท่านอีกด้วย ท่านจะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร? พระเจ้าจะทรงช่วยได้อย่างไร?
ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?
เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากความท้าทายที่ศาสนจักรประสบที่โรมในยุคสมัยของเปาโล?
เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า
วัฒนธรรมของศาสนจักรเรามาจากพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ สาส์นของอัครสาวกเปาโลถึงชาวโรมันลึกซึ้ง …
… เปาโลตักเตือนชาวยิวและคนต่างชาติให้รักษาพระบัญญัติ รักกันและกัน และยืนยันว่าความชอบธรรมนำไปสู่ความรอด
วัฒนธรรมพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ไม่ใช่วัฒนธรรมคนต่างชาติหรือวัฒนธรรมชาวยิว ไม่ได้มีสีผิวหรือที่อาศัยเป็นตัวกำหนด แม้เราชื่นชมวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ แต่เราควรทิ้งแง่มุมของวัฒนธรรมเหล่านั้นที่ขัดกับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์
(เควนทิน แอล. คุก, “ใจผูกพันกันในความชอบธรรมและความเป็นหนึ่งเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 20–21)
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราพยายามเป็นสมาชิกที่เป็นหนึ่งเดียวกันของศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด?
เอ็ลเดอร์ฮอร์เก ที. เบเซอร์ราแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า
เราต้องการทุกคนในแต่ละวอร์ดแต่ละสาขา—ทั้งผู้ที่เข้มแข็งและผู้ที่อาจกำลังต่อสู้ดิ้นรน ทั้งหมดจำเป็นต่อการจรรโลงอันสำคัญยิ่งของทั้ง “กายของพระคริสต์” ข้าพเจ้ามักสงสัยว่าเราขาดใครบ้างในการประชุมต่างๆ ของเราที่จะเสริมสร้างเราและทำให้เราสมบูรณ์
(ฮอร์เฮ ที. เบเซอร์รา, “ผู้น่าสงสาร,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 40)
ซิสเตอร์แชรอน ยูแบงค์แห่งฝ่ายประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญแบ่งปันเรื่องราวต่อไปนี้:
ในปี 1842 วิสุทธิชนทำงานหนักเพื่อสร้างพระวิหารนอวู หลังจากก่อตั้งสมาคมสงเคราะห์ในเดือนมีนาคม ท่านศาสดาพยากรณ์โจเซฟมักมาที่การประชุมเพื่อเตรียมพวกเขาให้พร้อมรับพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวซึ่งพวกเขาจะทำในพระวิหารอีกไม่นาน
ในวันที่ 9 มิถุนายน ท่านศาสดาพยากรณ์ “กล่าวว่า ท่านจะสั่งสอนหลักธรรมแห่งความเมตตา สมมติว่าพระเยซูคริสต์และเหล่าเทพไม่เห็นด้วยกับเราในเรื่องที่ไม่สลักสำคัญ เราจะเป็นอย่างไร? เราต้องมีเมตตาต่อกันและมองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ” ประธานสมิธกล่าวต่อไปว่า “ข้าพเจ้าเศร้าใจที่ไม่มีความสัมพันธ์ฉันมิตรมากกว่านี้—ถ้าสมาชิกคนหนึ่งเป็นทุกข์ทุกคนจะรู้สึกเป็นทุกข์—โดยเอกภาพของความรู้สึกเราจะมีพลังร่วมกันกับพระผู้เป็นเจ้า” [“รายงานการประชุมและคำปราศรัย, 9 มิถุนายน 1842,” 61, Joseph Smith Papers]
ประโยคสั้นๆ นั้นแทงใจดิฉันเหมือนสายฟ้าฟาด โดยเอกภาพของความรู้สึกเราจะมีพลังร่วมกันกับพระผู้เป็นเจ้า โลกนี้ไม่ได้เป็นอย่างที่ดิฉันต้องการให้เป็น ดิฉันอยากมีอิทธิพลต่อหลายสิ่งและทำให้ดีขึ้น แต่พูดตามตรง มีการต่อต้านอย่างมากต่อสิ่งที่ดิฉันหวัง และบางครั้งดิฉันรู้สึกไร้กำลัง เมื่อไม่นานมานี้ ดิฉันเฝ้าถามคำถามลึกซึ้งกับตัวเองว่า ดิฉันจะเข้าใจผู้คนรอบข้างดีขึ้นได้อย่างไร? ดิฉันจะสร้าง “เอกภาพของความรู้สึก” นั้นอย่างไรเมื่อทุกคนล้วนต่างกันมาก? พลังใดจากพระผู้เป็นเจ้าที่ดิฉันอาจเข้าถึงได้หากดิฉันจะแค่เป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่นมากขึ้นอีกสักนิด?
(แชรอน ยูแบงค์, “โดยเอกภาพของความรู้สึกเราจะมีพลังร่วมกันกับพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 55)
.
-
. เอ็ลเดอร์แพทริก เคียรอนแห่งฝ่ายประธานโควรัมสาวกเจ็ดสิบพูดเกี่ยวกับการไม่แบ่งแยกและมิตรภาพในศาสนจักร
-
. .