โรม 7–12
“พระผู้ปลดปล่อย… จะทรงกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไป”
บางครั้งในการเดินทางผ่านชีวิตของเรา เราอาจรู้สึกท้อใจหรือหงุดหงิดใจเมื่อเราทำไม่ได้ตามที่หวังในการเป็นคนที่เราควรเป็น ด้วยความรู้สึกหงุดหงิดใจที่คล้ายกัน อัครสาวกเปาโลจึงอุทานว่า “โอย ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสมเพชอะไรเช่นนี้” (โรม 7:24) แม้เราจะมีความอ่อนแอที่เราประสบในความเป็นมรรตัย แต่เราก็สามารถประสบกับความหวังและสันติสุขเมื่อเราวางใจในพระเยซูคริสต์ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านใช้ศรัทธาที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นในพระเยซูคริสต์เพื่อเอาชนะความอ่อนแอของท่าน
การรับมือกับความอ่อนแอของความเป็นมรรตัย
เทรย์เป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย เขาต้องการจะทำตามพระเยซูคริสต์ แต่เขารู้สึกว่าส่วนใหญ่เขาไม่ได้ทำดีเท่าที่ควร บ่อยครั้งที่เขามักจะรู้สึกผิดเพราะความอ่อนแอของเขาและกังวลว่าเขาอาจไม่ดีพอ
คิดดูว่าบางครั้งท่านอาจรู้สึกคล้ายกับเทรย์อย่างไร
-
ความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ รวมทั้งกับคนอื่นอย่างไร?
-
เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขอความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เพื่อเอาชนะความอ่อนแอและความไม่ดีพร้อมของท่าน?
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า “พระเจ้าเข้าพระทัยความอ่อนแอของมนุษย์เรา เราทุกคนเดินสะดุดในบางครั้ง แต่พระองค์ทรงทราบถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของเรา” (“พระคริสต์ทรงฟื้น; ศรัทธาในพระองค์จะเคลื่อนภูเขา” เลียโฮนา, พฤษภาคม 2021, 102) ขณะที่ท่านศึกษาบทเรียนนี้ ให้จำสิ่งที่ประธานเนลสันสอนและมองหาความจริงที่สามารถช่วยท่านได้เมื่อท่านตระหนักถึงความอ่อนแอของมนุษย์ ไตร่ตรองว่าความจริงเหล่านี้จะเพิ่มศรัทธาของท่านได้อย่างไรว่าพระเยซูคริสต์ทรงช่วยท่านได้
นอกจากนี้อัครสาวกเปาโลยังประสบกับความรู้สึกอ่อนแอและการดิ้นรนระหว่าง “เนื้อหนัง” ( โรม 7:18) หรือ ความอยากทางร่างกาย และ “ส่วนลึกในใจ” ( ข้อ 22) หรือความเข้มแข็งทางวิญญาณ
อ่านโรม 7:14, 18–19, 24–25 และงานแปลของโจเซฟ สมิธสำหรับข้อเหล่านี้ที่มีอยู่ในงานที่เลือกสรรจากงานแปลพระคัมภีร์ไบเบิลของโจเซฟ สมิธ มองหาคำและวลีที่อธิบายถึงความคิดและความรู้สึกของเปาโล ท่านอาจทำเครื่องหมายสิ่งที่ท่านพบ โปรดทราบว่าใน ข้อ24 “ความตายนี้” หมายถึงความตายทางวิญญาณหรือการแยกจากพระผู้เป็นเจ้าที่มาจากบาป
-
ความคิดและความรู้สึกของเปาโลใกล้เคียงกับความคิดและความรู้สึกที่ท่านอาจมีอยู่อย่างไร?
-
เปาโลสอนความจริงเรื่องใด?
ความจริงข้อหนึ่งที่ท่านอาจระบุได้จากข้อเหล่านี้คือ พระเยซูคริสต์ทรงสามารถปลดปล่อยเราจากการเป็นเชลยของบาป ท่านอาจต้องการเขียนความจริงนี้ใกล้กับ โรม 7:24–25 .
-
เช่นเดียวกับเปาโล เหตุใดการจำความจริงนี้เมื่อท่านกำลังประสบปัญหากับความอ่อนแอของตนเองจะช่วยให้ท่านรู้สึกถึงความหวังมากขึ้นได้?
พระคัมภีร์มอรมอนเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่เราสามารถใช้เสริมสร้างความเข้าใจของเราถึงความจริงที่สอนไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล (ดู 1 นีไฟ 13:40 ; 2 นีไฟ 3:12).
ตัวอย่างเช่นใน 2นีไฟ 4 นีไฟแบ่งปันคำสอนคล้ายกับที่ท่านเพิ่งศึกษาจากเปาโลใน โรม 7. .
อ่าน 2 นีไฟ 4:17–20, 26–32 โดยมองหาว่านีไฟแสดงความรู้สึกคล้ายกับเปาโลอย่างไร
1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:
-
คำพูดหรือวลีใดของนีไฟที่มีความหมายกับท่านมากที่สุด? เพราะเหตุใด?
-
คำสอนของนีไฟจะช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรเมื่อท่านกำลังต่อสู้กับความอ่อนแอหรือความสงสัยตนเอง?
การใช้พระคัมภีร์มอรมอนเพื่อเข้าใจความจริงมากขึ้น
เช่นเดียวกับที่ 2นีไฟ 4 เพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาของท่านเกี่ยวกับคำสอนของเปาโลใน โรม 7 ยังมีพระคัมภีร์มอรมอนข้ออื่นๆ อีกมากที่ช่วยให้ท่านเข้าใจได้ดีขึ้นและชื่นชมคำสอนของเปาโลมากขึ้น
ฝึกฝนการใช้พระคัมภีร์มอรมอนเพื่อเสริมความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับคำสอนของเปาโลด้วยการเลือกอ่านอย่างน้อยสองข้อต่อไปนี้จากโรม จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับข้อพระคัมภีร์มอรมอนที่เกี่ยวข้อง (หรือค้นหาข้อที่เกี่ยวข้องกับพระคัมภีร์มอรมอนด้วยตัวท่านเองโดยใช้คู่มือพระคัมภีร์) มองหาวิธีที่ข้อพระคัมภีร์มอรมอนยืนยันหรืออธิบายถึงความจริงที่สอนในโรม
โรม |
พระคัมภีร์มอรมอน |
2. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:
-
ข้อความจากพระคัมภีร์มอรมอนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับคำสอนของเปาโลในโรมได้ดีขึ้นอย่างไร?
ใคร่ครวญประสบการณ์ของท่านเพื่อดูว่าพระคัมภีร์มอรมอนสามารถช่วยท่านในการศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลของท่านได้อย่างไร แสวงหาหนทางที่จะใช้พระคัมภีร์มอรมอนเพื่อช่วยท่านในการศึกษาพันธสัญญาใหม่ต่อไป
ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?
พระเยซูคริสต์ทรงช่วยให้ฉันเอาชนะความอ่อนแอของฉันในความเป็นมรรตัยได้อย่างไร?
ขณะรับใช้ในฝ่ายประธานสูงสุด ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟสอนว่า:
หลายคนรู้สึกท้อใจเพราะมักจะทำไม่ได้ตามที่คาดหวัง พวกเขารู้ด้วยตนเองว่า “จิตวิญญาณพร้อมแล้วก็จริง แต่กายยังอ่อนกำลัง” [ มัทธิว 26:41 ] พวกเขาพร้อมใจกันเปล่งเสียงกับนีไฟในการประกาศว่า “จิตวิญญาณข้าพเจ้าเศร้าโศกเพราะความชั่วช้าสามานย์ของข้าพเจ้า” [ 2 นีไฟ 4:17 ]
เมื่อข้าพเจ้านึกถึงสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อเราจนถึงวันอาทิตย์อีสเตอร์ครั้งแรกนั้น ข้าพเจ้าต้องการเปล่งเสียงร้องสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดและพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสต์!
ประตูสวรรค์ถอดสลักแล้ว
หน้าต่างสวรรค์เปิดแล้ว
วันนี้และชั่วนิรันดรพระคุณของพระผู้เป็นเจ้ามีไว้สำหรับทุกคนที่มีใจชอกช้ำและมีวิญญาณที่สำนึกผิด [ดู 3 นีไฟ 9:19–20 ] พระเยซูคริสต์ทรงเปิดทางไว้ให้เราขึ้นไปสู่ความสูงส่งที่ใจมนุษย์คิดไม่ถึง [ดู 1 โครินธ์ 2:9 ]
(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 110)
.
. .
พระคัมภีร์ไบเบิลและพระคัมภีร์มอรมอนทำงานร่วมกันอย่างไรและแสดงความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อเราอย่างไร?
ประธานฮาโรลด์ บี. ลี (1899–1973) อธิบายว่า:
พระบิดาบนสวรรค์ผู้ทรงเป็นนิรันดร์ของเราทรงห่วงใยความผาสุกทางวิญญาณของลูกๆ พระองค์เสมอ ได้ประทานพระคัมภีร์ที่สนับสนุนกัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่าพระคัมภีร์มอรมอน เพื่อปกป้องความจริงของพระคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสดาพยากรณ์เขียนและพูดตามที่พระเจ้าทรงกำกับดูแล …
… โดยพยานปากที่สองนี้เราจะรู้แน่ชัดมากขึ้นถึงความหมายในคำสอนของศาสดาพยากรณ์สมัยโบราณ คำสอนของพระอาจารย์และสานุศิษย์ของพระองค์ขณะพระองค์และเหล่าสานุศิษย์ดำเนินชีวิตและสอนท่ามกลางมนุษย์ทั้งปวง สิ่งนี้ควรเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนผู้จะแสวงหาความจริงอย่างซื่อสัตย์นำพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองเล่มนี้มารวมกันและศึกษาประหนึ่งเป็นเล่มเดียว โดยเข้าใจความสัมพันธ์อันแท้จริงของทั้งสองเล่มนี้เช่นที่เราเข้าใจ
(ฮาโรลด์ บี. ลี, Ye Are the Light of the World [1974], 89, 91)
เหตุใดเปาโลจึงกล่าวว่าเราเพียงต้องยอมรับด้วยปากถึงพระนามของพระเยซูเพื่อให้ได้รับการช่วยให้รอด?
โรม 10:1–13 มักจะถูกอ้างถึงเพื่อปกป้องจุดยืนว่าเราเพียงจำเป็นต้องยอมรับด้วยปากถึงพระนามของพระเยซูคริสต์เพื่อที่จะได้รับการช่วยให้รอด อย่างไรก็ตาม พระผู้ช่วยให้รอดตรัสในทางตรงกันข้ามกับหลักคำสอนนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อพระองค์ทรงสอนว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่เรียกเราว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าจะได้เข้าในแผ่นดินสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์จึงจะเข้าได้” ( มัทธิว 7:21)
นอกจากนี้ เปาโลยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของศาสนพิธีบัพติศมาก่อนหน้านี้ในสาส์นของเขาแด่ชาวโรมัน (ดู โรม 6:1–6) และยังสอนถึงความสำคัญของงานดีและการใจที่เปลี่ยน (ดู โรม 2:1, 3, 6–13, 25–29)
นอกจากนี้คำว่า “ยอมรับด้วยปาก” ใน โรม 10:9 ยังสามารถแปลเป็นคำว่า “พันธสัญญา” และวลี “ร้องออก” ใน โรม 10:13 สามารถแปลเป็นคำว่า “นำชื่อมาใส่” (ดูเจมส์ สตรอง, The New Strong’s Exhaustive Concordance of the Bible, ที่พบได้ใน http://lexiconcordance.com/greek/3670.html; http://lexiconcordance.com/greek/1941.html) ถ้อยคำเหล่านี้สามารถอ้างถึงการทำพันธสัญญาและนำพระนามของพระคริสต์มาสู่เรา ซึ่งตรงกับคำสอนอื่นๆ ของเปาโล (ดู กาลาเทีย 3:27 ; โรม 6:14–22) รวมถึงข้อที่เกี่ยวข้องในพระคัมภีร์มอรมอน เช่น โมไซยาห์ 5:1–9