“ฉันต้องเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน?” พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน: ผู้นำศาสนจักร (2020)
“ฉันต้องเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน?” พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน: ผู้นำศาสนจักร
ฉันต้องเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน?
คำตอบต่อคำถามที่พบบ่อย
-
พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน (SSA) หมายถึงเสน่หาทางอารมณ์ ทางกาย เชิงรักใคร่ หรือทางเพศกับคนเพศเดียวกัน หากท่านประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน ท่านอาจจะเลือกหรือไม่เลือกใช้รสนิยมทางเพศตั้งชื่อเฉพาะให้ตัวท่าน อย่างไรก็ดี พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันเป็นศัพท์เฉพาะที่พูดถึงประสบการณ์ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ เว็บไซต์นี้ใช้ศัพท์คำนี้เพื่อรวมถึงคนที่ไม่สะดวกใจจะใช้ชื่อเฉพาะ ไม่ได้มีเจตนาปฏิเสธว่าเกย์ เลสเบียน หรือรักร่วมสองเพศมีอยู่จริง
-
พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันไม่เหมือนกันสำหรับทุกคน บางคนเลือกใช้ชื่อเฉพาะแสดงตนทางเพศ แต่บางคนไม่ใช้ บทความนี้เสนอนิยามพื้นฐานของชื่อเฉพาะซึ่งใช้บอกรสนิยมทางเพศที่พบบ่อย
-
รสนิยมทางเพศอาจหมายถึงเสน่หาทางอารมณ์ เชิงรักใคร่ หรือทางเพศ ตลอดจนการรับรู้อัตลักษณ์ สำหรับบางคน เป็นประโยชน์ที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสน่หาทางเพศ เสน่หาทางอารมณ์ และอัตลักษณ์มากกว่าที่จะจัดกลุ่มเหล่านั้นไว้ด้วยกันว่า “รสนิยมทางเพศ”
-
ชื่อเฉพาะที่พบบ่อยคือ เลสเบียน (หญิงที่เสน่หาหญิง), เกย์ (ชายที่เสน่หาชาย) และ รักร่วมสองเพศ (ชายหรือหญิงที่เสน่หาทั้งสองเพศ) หญิงบางคนอาจใช้ศัพท์ว่า เกย์ มาอธิบายตนเองได้เช่นกัน บางคนอาจใช้ชื่อเฉพาะอื่นๆ และบางคนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันเลือกที่จะไม่ใช้ชื่อเฉพาะเพื่ออธิบายตนเอง วิธีที่ผู้คนเลือกระบุอัตลักษณ์ของตนอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
-
ความเสน่หาไม่ใช่อัตลักษณ์ คนสามารถเลือกด้วยตนเองว่าจะระบุอัตลักษณ์อย่างไร มีสมาชิกศาสนจักรที่แข็งขัน ถือใบรับรองพระวิหารที่เป็นปัจจุบันผู้ที่ปฏิบัติตามกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศและระบุตนว่าเป็นเกย์ เลสเบียน หรือรักร่วมสองเพศ มีสมาชิกศาสนจักรที่แข็งขันผู้ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันและไม่เคยเลือกระบุตนโดยใช้ชื่อเฉพาะเหล่านั้น อัตลักษณ์หลักของเราจะเป็นลูกพระผู้เป็นเจ้าเสมอ
-
ความปรารถนาทางเพศเป็นเรื่องซับซ้อนและเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ถึงแม้ความเสน่หาเชิงรักใคร่ทางอารมณ์หรือทางเพศสามารถบ่งบอกรสนิยมทางเพศได้ แต่ท่านไม่ควรทึกทักเอาเอง ความปรารถนาทางเพศไม่คงที่และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
-
พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันต่างกันมากกับการรับรู้ทางเพศผิดปกติ ตัวอย่างเช่น คนที่ประสบการรับรู้ทางเพศผิดปกติอาจจะประสบหรืออาจจะไม่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันและส่วนใหญ่คนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันไม่ปรารถนาจะเปลี่ยนเพศของตน จากมุมมองทางด้านจิตวิทยาและด้านศาสนา สองอย่างนี้ต่างกัน