ทักษะการพัฒนาครู
ช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้าในชีวิตพวกเขา


“ช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้าในชีวิตพวกเขา” ทักษะการพัฒนาครู: มุ่งเน้นที่พระเยซูคริสต์ (2023)

“ช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้าในชีวิตพวกเขา” ทักษะการพัฒนาครู: มุ่งเน้นที่พระเยซูคริสต์

มุ่งเน้นที่พระเยซูคริสต์: ช่วยให้ผู้เรียนมาหาพระเยซูคริสต์

ช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้าในชีวิตพวกเขา

ทักษะ

ถามคำถามที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้ากับความจริงที่สอน

นิยาม

มีพลังเกิดขึ้นเมื่อเราเชื่อมโยงการพยายามดำเนินชีวิตตามหลักธรรมพระกิตติคุณของเรากับพระผู้ช่วยให้รอดของเราพระเยซูคริสต์ ใช้เวลาในการเตรียมของท่านไตร่ตรองว่าหลักธรรมพระกิตติคุณในช่วงพระคัมภีร์ช่วยให้ท่านรู้และเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ จากนั้นค่อยๆ ตั้งคำถามที่เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะเรียนรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระองค์จากความจริงที่สอน นอกจากจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักคำสอนแล้ว คำถามลักษณะนี้ยังสามารถช่วยให้พวกเขาเห็นเช่นกันว่าการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนนั้นจะช่วยให้พวกเขาประสบความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระองค์ อีกทั้งเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร คำถามลักษณะนี้อาจช่วยให้นักเรียนพิจารณาด้วยว่าพระเยซูคริสต์จะทรงช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนนั้นอย่างไร

ตัวอย่างและการฝึกด้านล่างเป็นตัวอย่างทั่วไป การอบรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเชื่อมโยงตัวอย่างและโอกาสในการฝึกกับบทเรียนถัดไปที่จะครอบคลุมในหลักสูตร

ตัวอย่าง

แทนที่จะถามว่า …

  • ทำไมการดำเนินชีวิตตามกฎส่วนสิบจึงสำคัญ?

  • ทำไมเราควรกลับใจทุกวัน?

ให้ลองถามคำถามนี้แทน …

  • การดำเนินชีวิตตามกฎส่วนสิบสอนอะไรคุณเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ของคุณ?

  • คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอดผ่านการกลับใจทุกวัน?

คลิกที่นี่เพื่อดูวีดิทัศน์ของตัวอย่างนี้

ฝึก

ฝึกโดยเปลี่ยนคำถามต่อไปนี้ในแบบที่ช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้ากับความจริงที่สอน

แทนที่จะถามว่า …

  • ทำไมการศึกษาพระคัมภีร์ทุกวันจึงสำคัญ?

  • มีพลังอำนาจอะไรมาจากการเข้าพระวิหาร?

ให้ลองถามคำถามนี้แทน …

สนทนาหรือไตร่ตรอง

  • ท่านเห็นมาแล้วอย่างไรว่าหลักธรรมคำสอนจะมีความหมายมากขึ้นเมื่อท่านเชื่อมโยงกับความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้า?

  • นี่จะช่วยให้นักเรียนของเราเข้าใจและพึ่งพาคำสอนและการชดใช้ของพระเยซูคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร?

นำมาใช้

ดูแผนการสอนครั้งต่อไปของท่าน ใช้เวลา 10 นาทีปรับแก้คำถามเพื่อช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้ากับความจริงที่สอน

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

  • Chad H Webb, “We Talk of Christ, We Rejoice in Christ” (การถ่ายทอดการอบรมประจำปีของเซมินารีและสถาบันศาสนา, 12 มิ.ย. 2018), broadcasts.ChurchofJesusChrist.org

  • แชด เอช เว็บบ์, “​​ความเห็นใจ​” (การถ่ายทอดการอบรมประจำปีของเซมินารีและสถาบันศาสนา, 26 ม.ค. 2021), broadcasts.ChurchofJesusChrist.org

ทักษะ

ให้คำเชื้อเชิญที่ช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระเจ้าในประสบการณ์ของตนเอง

ภาพ
พระเยซูคริสต์ทรงรักษาชายคนหนึ่ง

นิยาม

ท่านสามารถช่วยให้นักเรียนมาหาพระเยซูคริสต์โดยเชื้อเชิญให้พวกเขารับรู้ถึงความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระองค์ในประสบการณ์ของตนเอง หลังจากท่านระบุพระคัมภีร์ที่อธิบายถึงความรัก เดชานุภาพ หรือพระเมตตาของพระองค์แล้ว:

  • แสดงความมั่นใจว่านักเรียนได้รับความรัก เดชานุภาพ หรือพระเมตตาของพระคริสต์ในชีวิตพวกเขา

  • ให้เวลานักเรียนค้นความทรงจำถึงช่วงเวลาที่พวกเขารู้สึกถึงความรัก เดชานุภาพ หรือพระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอดในประสบการณ์ของตนเอง (ช่วงเวลาเหล่านี้อาจเป็นในอดีตหรือปัจจุบันก็ได้)

  • ลองถามว่ามีใครยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์หรือไม่

เมื่อนักเรียนมีความสามารถในการรับรู้บทบาทของพระคริสต์ในประสบการณ์ส่วนตัวมากขึ้น พวกเขาจะรู้สึกใกล้ชิดพระองค์มากขึ้นและความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระองค์จะแน่นแฟ้นขึ้น

ตัวอย่างและการฝึกด้านล่างเป็นตัวอย่างทั่วไป การอบรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเชื่อมโยงตัวอย่างและโอกาสในการฝึกกับบทเรียนถัดไปที่จะครอบคลุมในหลักสูตร

ตัวอย่าง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่อาจเกิดขึ้น:

  • หลักคำสอนและพันธสัญญา 61:1 อธิบายว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็น “ผู้ทรงมีเดชานุภาพทั้งมวล” เพื่อช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงเดชานุภาพของพระองค์ในประสบการณ์ของพวกเขา ท่านอาจพูดว่า: “ผมเชื่อว่าพวกคุณแต่ละคนเคยมีประสบการณ์ที่รู้สึกถึงเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิตของพวกคุณ โปรดใช้เวลาสามนาทีต่อจากนี้และเขียนถึงช่วงเวลาที่คุณรู้สึกถึงเดชานุภาพของพระองค์” หลังจากนักเรียนส่วนใหญ่ทำแบบฝึกการเขียนเสร็จแล้ว ท่านอาจถามว่า “ถ้าไม่เป็นเรื่องส่วนตัวมากเกินไป มีใครเต็มใจแบ่งปันประสบการณ์ของตนเองกับชั้นเรียนหรือไม่?”

ฝึก

ลองทำสิ่งต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง:

  • ลูกา 5 มีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดในการรักษา อ่าน ลูกา 5:12 –17 ฝึกเขียนคำเชื้อเชิญหนึ่งหรือสองข้อที่จะช่วยให้นักเรียนไตร่ตรองช่วงเวลาที่ได้ประสบเดชานุภาพของพระคริสต์ในการรักษา

  • ดูบทเรียนหลักสูตรถัดไป หาที่ในช่วงพระคัมภีร์ที่ท่านสามารถฝึกเขียนคำเชื้อเชิญหนึ่งหรือสองข้อเพื่อช่วยให้ผู้เรียนไตร่ตรองช่วงเวลาที่พวกเขาได้รับความรัก เดชานุภาพ หรือพระเมตตาของพระเจ้าด้วยตนเอง

สนทนาหรือไตร่ตรอง

  • ตอนนี้ท่านให้คำเชื้อเชิญใดบ้างเพื่อช่วยให้นักเรียนรับรู้ถึงความรัก เดชานุภาพ และพระเมตตาของพระคริสต์ในชีวิตส่วนตัว?

  • ท่านจำได้อย่างไรว่าต้องให้คำเชื้อเชิญเหล่านี้ในประสบการณ์ครั้งต่อไปของท่านกับนักเรียน?

  • เนื่องจากประสบการณ์ที่ท่านได้รับจากความรัก พระเมตตา และเดชานุภาพของพระคริสต์ สิ่งนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านดำเนินต่อไปหรืออาจเพิ่มความพยายามของท่านเพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นพระองค์ในชีวิตของพวกเขาอย่างไร?

นำมาใช้

เลือกช่วงพระคัมภีร์ที่กำลังจะมาถึงซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระเมตตา ความรัก หรือเดชานุภาพของพระคริสต์ สร้างคำเชื้อเชิญในแผนการสอนของท่านอย่างรอบคอบเพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นพระผู้ช่วยให้รอดในประสบการณ์ส่วนตัว

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

  • ช่วยให้ผู้เรียนมาหาพระเยซูคริสต์,” การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด (2022), 8–9

  • ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 107–110

  • รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “พันธสัญญาอันเป็นนิจ,” เลียโฮนา, ต.ค. 2022, 4–11

พิมพ์