ทักษะการพัฒนาครู
กระตุ้นให้ผู้เรียนแบ่งปันความจริงที่พวกเขากำลังเรียนรู้


“กระตุ้นให้ผู้เรียนแบ่งปันความจริงที่พวกเขากำลังเรียนรู้” ทักษะการพัฒนาครู: เชื้อเชิญให้เรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร (2023)

“กระตุ้นให้ผู้เรียนแบ่งปันความจริงที่พวกเขากำลังเรียนรู้” ทักษะการพัฒนาครู: เชื้อเชิญให้เรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

หลักธรรมของการสอนเหมือนพระคริสต์: เชื้อเชิญให้เรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

กระตุ้นให้ผู้เรียนแบ่งปันความจริงที่พวกเขากำลังเรียนรู้

ทักษะ

ช่วยนักเรียนสร้างหรือเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณ

นิยาม

พระเจ้าทรงขอให้เยาวชนและคนหนุ่มสาวช่วยรวบรวมอิสราเอล การแบ่งปันความเชื่อและประจักษ์พยานกับผู้อื่นจะเชื้อเชิญให้พวกเขาเรียนรู้เพิ่มเติมและทำให้พวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นักเรียนบางคนไม่รู้ว่าจะเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณอย่างไร นักเรียนสามารถเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณกับผู้อื่นได้โดย (1) พิจารณาว่าพวกเขากำลังเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ (2) ไตร่ตรองว่าใครจะได้ประโยชน์จากการสนทนา และ (3) ตัดสินใจว่าพวกเขาจะกระตุ้นการสนทนากับบุคคลนั้นอย่างไร ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น สอนบทเรียน จงตามเรามา นำการสนทนาในชั้นเรียน เขียนบันทึก ส่งข้อความ หรือแบ่งปันบทความเกี่ยวกับศาสนจักร จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อแบ่งปันความเชื่อหรือประสบการณ์ แต่เพื่อเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณ การทำเช่นนี้จะเชื้อเชิญให้ผู้อื่นถามคำถามและส่งเสริมให้มีการสนทนาเพิ่มเติมในอนาคต

หมายเหตุ: ถ้าท่านมีนักเรียนที่ไม่กล้าทำเช่นนี้ ให้พิจารณาว่าท่านจะช่วยพวกเขาเชื่อมโยงกับพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร พระองค์จะทรงช่วยเหลือเมื่อพวกเขาอ้าปากแบ่งปันความจริงของพระองค์

ตัวอย่างและการฝึกด้านล่างเป็นตัวอย่างทั่วไป การอบรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเชื่อมโยงตัวอย่างและโอกาสในการฝึกกับบทเรียนถัดไปที่จะครอบคลุมในหลักสูตร

ตัวอย่าง

ให้นักเรียนไตร่ตรองท้ายชั่วโมงเรียนว่าพวกเขาอยากแบ่งปันบางอย่างกับใคร เชื้อเชิญพวกเขาให้เขียนสารสั้นๆ หรือส่งข้อความที่จะให้โอกาสพวกเขาได้สนทนาพระกิตติคุณกับบุคคลนั้นเมื่อเจอกัน ตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจส่งข้อความว่า:

  • “วันนี้เราคุยกันเรื่องหนึ่งในเซมินารีที่ทำให้ฉันนึกถึงคุณ เตือนฉันให้บอกคุณเรื่องนี้เมื่อเจอกันคราวหน้าด้วยนะ”

  • “หวัดดี ฉันคิดมาตลอดเรื่องความสามารถในการให้อภัยของพระผู้ช่วยให้รอด คุณจะช่วยฉันคิดทบทวนบางอย่างเกี่ยวกับพระองค์ได้หรือเปล่า? ถ้าได้ เราจะคุยกันเมื่อไหร่ดี?”

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอของตัวอย่างนี้

ฝึก

คิดวลีอีกสามวลีที่ท่านสามารถใช้เป็นตัวอย่างเพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นวิธีเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณ

สนทนาหรือไตร่ตรอง

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้เรียนสร้างหรือเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณ?

  • การช่วยให้ผู้เรียนแบ่งปันความเชื่อและประจักษ์พยานกับครอบครัวจะช่วยให้ประสบการณ์ในเซมินารีหรือสถาบันของพวกเขาเป็นประสบการณ์ที่มีบ้านเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงได้อย่างไร?

นำมาใช้

ยกตัวอย่างสิ่งที่นักเรียนจะเขียนเพื่อเริ่มการสนทนาพระกิตติคุณ แล้วฝึกแบ่งปันในชั้นเรียน ให้นักเรียนคนอื่นช่วยปรับปรุง เชื้อเชิญให้พวกเขาเริ่มการสนทนาเมื่อพวกเขาพร้อม

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

ทักษะ

เตรียมเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้แก่กัน

ภาพ
เยาวชนหญิงและชายกำลังศึกษา

นิยาม

คำเชื้อเชิญที่ช่วยให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้นั้นเรียบง่าย ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง คำแนะนำเหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ช่วยให้นักเรียนสอน อธิบาย แบ่งปัน ตั้งคำถามหรือเป็นพยานต่อกัน คำเชื้อเชิญเหล่านี้มักมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้:

  • เหตุใดพวกเขาจึงแบ่งปัน

  • แบ่งปันอะไรบ้าง

  • พวกเขาจะแบ่งปันกับใครและเมื่อใด

ท่านอาจต้องให้เวลานักเรียนเตรียมแบ่งปันความคิด สิ่งเหล่านี้อาจเป็นคำเชื้อเชิญให้แบ่งปันกับบุคคลหนึ่ง ในกลุ่มเล็กหรือกับทั้งชั้นเรียน การเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่กำลังเรียนรู้ให้แก่กัน เป็นการกระทำแห่งศรัทธาที่ช่วยให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสั่งสอนนักเรียนทุกคนที่เกี่ยวข้องในการสนทนา

ตัวอย่างและการฝึกด้านล่างเป็นตัวอย่างทั่วไป การอบรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเชื่อมโยงตัวอย่างและโอกาสฝึกกับบทเรียนถัดไปที่จะครอบคลุมในหลักสูตร

ตัวอย่าง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนที่อาจมีลักษณะเช่นนี้ในห้องเรียน:

  • “ขอบคุณที่สละเวลาอ่าน 3 นีไฟ 11:10–15 ผมอยากให้โอกาสคุณแบ่งปันบางสิ่งที่คุณเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และเหตุผลที่สิ่งนี้สำคัญต่อคุณ ช่วยหันไปหาคนที่นั่งข้างๆ คุณและผลัดกันแบ่งปันสิ่งที่คุณเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้และเหตุผลที่สิ่งนี้สำคัญต่อคุณ”

  • “ใช้เวลาอีกหนึ่งนาทีเขียนสิ่งที่คุณเรียนรู้จากประสบการณ์ของเปโตรกับพระเยซูคริสต์ใน มัทธิว 14:22 –33 ผมรู้ว่าพวกคุณแต่ละคนมีบางสิ่งที่มีค่าที่จะมาแบ่งปัน มีใครเต็มใจจะเริ่มต้นด้วยการแบ่งปันสิ่งหนึ่งที่กำลังเรียนรู้จากประสบการณ์ของเปโตรกับพระเยซูคริสต์บ้าง?”

  • “อีกสักครู่เราจะย้ายไปนั่งเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อสนทนาถึงสิ่งที่กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับการเพิ่มศรัทธาในพระเยซูคริสต์ [ให้เวลานักเรียนสักครู่แล้วให้คำเชื้อเชิญส่วนถัดไป] พวกคุณช่วยแบ่งกันเป็นกลุ่มๆ ละสามหรือสี่คนได้ไหม? [หรือในชั้นเรียนที่ใหญ่กว่าท่านอาจจัดกลุ่มให้พวกเขา] เมื่อเข้าร่วมกลุ่มแล้ว ให้ผลัดกันแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งศรัทธาของคุณในพระเยซูคริสต์เข้มแข็งขึ้น”

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอของตัวอย่างนี้

ฝึก

  • ดูแผนการสอนล่าสุดของท่านและเตรียมคำเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้กันเป็นกลุ่มๆ ละสองหรือสามคน

  • ให้ดูที่ช่วงพระคัมภีร์ในหลักสูตรที่ท่านจะสอนในอนาคต เตรียมคำเชื้อเชิญที่ให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวหรือประจักษ์พยานกับคนที่นั่งข้างพวกเขา

นำมาใช้

  • ขณะเตรียมบทเรียนในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ให้แน่ใจว่าท่านเปิดโอกาสให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ให้แก่กันอย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละบทเรียน ไม่ว่าจะเป็นแบบตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ

สนทนาและไตร่ตรอง

  • สิ่งนี้จะสร้างความแตกต่างอะไรในการมีส่วนร่วมของนักเรียน?

  • ท่านเห็นประโยชน์บางประการของนักเรียนที่แบ่งปันให้กันอย่างไร?

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

พิมพ์