ทักษะการพัฒนาครู
เชื้อเชิญให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้


“เชื้อเชิญให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้,” ทักษะการพัฒนาครู: เชื้อเชิญให้เรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร (2023)

“เชื้อเชิญให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้,” ทักษะการพัฒนาครู: เชื้อเชิญให้เรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

หลักธรรมของการสอนเหมือนพระคริสต์: เชื้อเชิญให้เรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

เชื้อเชิญให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้

ทักษะ

วางแผนที่จะติดตามผลจากคำเชื้อเชิญที่ให้ไว้ในชั้นเรียนก่อนหน้านี้ และเชื้อเชิญให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้

ผู้หญิงกำลังเตรียมบทเรียน

นิยาม

ขณะเตรียมคำเชื้อเชิญให้นักเรียนประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ ท่านสามารถวางแผนติดตามผลได้เช่นกัน ช่วงเวลาติดตามผลเหล่านี้อาจเกิดขึ้นตอนเริ่มชั้นเรียนต่อๆ ไปผ่านการสื่อสารนอกชั้นเรียน ระหว่างการให้ข้อคิดทางวิญญาณ หรือในหมู่เพื่อน หากต้องการวางแผนช่วงเวลาติดตามผล ท่านอาจถามตนเองว่า:

  1. ฉันจะให้คำเชื้อเชิญอะไรได้บ้างที่จะช่วยให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อนหน้านี้?

  2. เมื่อใดจึงเป็นเวลาที่ดีในการติดตามผล?

การถามคำถามเหล่านี้จะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้ทรงชี้นำท่านขณะวางแผนติดตามผล การวางแผนติดตามผลกับนักเรียนจะช่วยให้พวกเขารู้สึกรับผิดชอบและต้องการทำตามพันธสัญญาซึ่งจะช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสในพระเยซูคริสต์

ตัวอย่าง

  • ขณะที่บราเดอร์ดัลตันเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้ครั้งต่อไปสำหรับนักเรียนร่วมกับการสวดอ้อนวอน เขาถามตนเองว่า “ฉันจะให้คำเชื้อเชิญอะไรได้บ้างที่จะช่วยให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อนหน้านี้? เมื่อใดจึงเป็นเวลาที่ดีที่จะติดตามผลในชั้นเรียนครั้งต่อไป?” เขาคิดได้ว่าจะให้เวลาในช่วงต้นชั้นเรียนครั้งต่อไปเพื่อให้นักเรียนเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาเกี่ยวกับความพยายามในการกระทำตามความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ในบทเรียนที่แล้ว

คลิกที่นี่เพื่อดูวีดิทัศน์ของตัวอย่างนี้

1:8

ฝึก

ฝึกถามคำถามข้อต่อไปนี้ขณะเตรียมบทเรียนที่จะมาถึง:

  1. ฉันจะให้คำเชื้อเชิญอะไรได้บ้างที่จะช่วยให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อนหน้านี้?

  2. เมื่อใดจึงเป็นเวลาที่ดีในการติดตามผล?

สนทนาหรือไตร่ตรอง

  • การติดตามผลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเยาวชนที่ท่านสอนลึกซึ้งขึ้นได้อย่างไร?

  • มีวิธีอะไรบ้างที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจให้ท่านช่วยให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้?

  • ท่านจะสร้างวัฒนธรรมของการที่นักเรียนแบ่งปันความพยายามในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณตลอดทั้งภาคการศึกษาได้อย่างไร?

นำมาใช้

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมบทเรียนของท่าน ให้กำหนดเวลาที่จะถามคำถามเหล่านี้:

  • “ฉันจะให้คำเชื้อเชิญอะไรได้บ้างที่จะช่วยให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อนหน้านี้?”

  • “เมื่อใดเป็นเวลาที่ดีในการติดตามผล?”

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

  • เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “การติดตามผล,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 78–81

ทักษะ

ถามคําถามชวนค้นหาที่ช่วยให้ผู้เรียนพิจารณาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นใครและพรที่พระองค์ประทานแก่พวกเขา

นักเรียนยกมือในห้องเรียน

นิยาม

ครูสามารถช่วยนักเรียนให้มีความปรารถนาจะดําเนินชีวิตตามสิ่งที่กําลังเรียนรู้โดยถามคําถามที่ช่วยให้นักเรียนพิจารณาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นใครและพรที่พระองค์ประทานแก่พวกเขา คําถามชวนค้นหาเหล่านี้ควรมีข้อพระคัมภีร์และคําเชื้อเชิญให้นักเรียนระบุคุณลักษณะหรือพรที่สัญญาไว้ของพระผู้เป็นเจ้า ควรถามพวกเขาก่อนอ่านข้อพระคัมภีร์ ยิ่งนักเรียนรู้จักพระผู้เป็นเจ้าและรู้ว่าพระองค์ทรงมอบอะไรให้มากเท่าใด พวกเขาจะยิ่งเต็มใจลงมือทํามากเท่านั้น

ตัวอย่างและการฝึกด้านล่างเป็นตัวอย่างทั่วไป การอบรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเชื่อมโยงตัวอย่างและโอกาสในการฝึกกับบทเรียนถัดไปที่จะครอบคลุมในหลักสูตร

ตัวอย่าง

  • ท่านเห็นพรที่สัญญาไว้ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 19:16–19 อะไรบ้างที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านติดตามพระเยซูคริสต์?

  • ขณะที่ท่านศึกษา ยอห์น 14:6 ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่ช่วยให้ท่านมีความมั่นใจในสิ่งที่พระองค์ทรงสัญญา?

คลิกที่นี่เพื่อดูวีดิทัศน์ของตัวอย่างนี้

0:58

ฝึก

สําหรับข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ ให้เขียนคําถามชวนค้นหาที่จะช่วยให้ผู้เรียนพิจารณาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นใครและพรที่พระองค์ประทานแก่พวกเขา:

สนทนาหรือไตร่ตรอง

  • ท่านกําลังเรียนรู้อะไรขณะฝึกใช้คําถามชวนค้นหาเหล่านี้?

  • ที่ใดในพระคัมภีร์ที่ท่านเห็นผู้คนกระทําด้วยศรัทธาเนื่องจากสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าและคําสัญญาของพระองค์?

นำมาใช้

  • ในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ให้หาโอกาสใช้คําถามชวนค้นหาแบบนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละบทเรียนที่ท่านสอน

ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?

  • 1 นีไฟ 3:7 (เพราะสิ่งที่นีไฟรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ นีไฟจึงมีความเชื่อมั่นที่จะไปและทํา)

  • โจเซฟ สมิธ ประวัติ 1:13 (โจเซฟ สมิธรู้ว่าเขากล้าทูลถามพระผู้เป็นเจ้าได้เมื่อเขาพิจารณาแล้วว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงทําอะไรให้เขาได้บ้าง)