ประวัติศาสนจักร
ประเทศไทย: ลำดับเหตุการณ์ของศาสนจักร


ประเทศไทย: ลำดับเหตุการณ์ของศาสนจักร

6 เมษายน 1854 • กรุงเทพ ประเทศไทยผู้สอนศาสนาชื่ออีแลม ลัดดิงตันถูกส่งมาราชอาณาจักรสยาม เขามาถึงกรุงเทพมหานครและอยู่นานสี่เดือน

ต้นทศวรรษ 1960 • กรุงเทพฯครอบครัววิสุทธิชนยุคสุดท้ายที่เป็นชาวต่างชาติมาพบกันเพื่อจัดการประชุมโรงเรียนวันอาทิตย์ สมาคมพัฒนาสหกิจกรรม และสมาคมสงเคราะห์พร้อมด้วยพิธีศีลระลึก

11 กันยายน 1966 • กรุงเทพฯแน่งน้อย ฐิตปุระ ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสชาวไทยคนแรกรับบัพติศมา

2 พฤศจิกายน 1966 • สวนลุมพินี กรุงเทพฯกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอุทิศประเทศไทยสำหรับการสั่งสอนพระกิตติคุณ

24 ธันวาคม 1967 • กรุงเทพฯอนันต์ ทับทิมแท้รับบัพติศมา เขาเปลี่ยนชื่อเป็นอนันต์ แอลดริดช์หลังจากเป็นบุตรบุญธรรมของครอบครัวแอลดริดช์ผู้แนะนำเขาให้รู้จักพระกิตติคุณ ไม่นานหลังจากนั้นเขากลายเป็นสมาชิกชาวไทยคนแรกที่รับใช้เป็นผู้สอนศาสนาเต็มเวลา

กุมภาพันธ์ 1968–มกราคม 1969 • กรุงเทพฯวันที่ 2 กุมภาพันธ์ปี 1968 ผู้สอนศาสนาหกคนแรกมาถึงกรุงเทพฯ และได้รับมอบหมายให้สั่งสอนพระกิตติคุณเป็นภาษาไทย อนันต์ แอลดริดช์ช่วยเรื่องการเรียนภาษาและวัฒนธรรม และในเดือนมกราคมปี 1969 เขากลายเป็นผู้สอนศาสนาเต็มเวลาในท้องที่คนแรก

30 พฤศจิกายน 1968 • กรุงเทพฯเอสรา แทฟท์ เบ็นสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองและเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของรัฐบาลสหรัฐมาเยือนกรุงเทพฯ ท่านถวายพระคัมภีร์มอรมอนฉบับภาษาอังกฤษและ “ประจักษ์พยานของโจเซฟ สมิธ” ฉบับภาษาไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกษัตริย์ของประเทศไทย การสัมภาษณ์ออกอากาศทางโทรทัศน์

กลุ่มคนนอกอาคารประชุมของศาสนจักร

5 พฤศจิกายน 1969 • เชียงใหม่

นัทธมน ดี. ลิ้มสุคนธ์รับบัพติศมา กลายเป็นสมาชิกคนแรกของศาสนจักรจากเชียงใหม่ เมืองใหญ่สุดทางภาคเหนือของประเทศไทย เธอเป็นเครื่องมือในการช่วยให้มีผู้สอนศาสนารุ่นแรกในเชียงใหม่ในหลายเดือนต่อมา

19 มกราคม 1970 • กรุงเทพฯศรีลักษณา สุนทรหุตผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสชาวไทยได้เข้าร่วมในคณะกรรมการผู้ทำหน้าที่ตรวจทานการแปลพระคัมภีร์มอรมอนเป็นภาษาไทยแบบมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง ในไม่ช้าเธอกลายเป็นสมาชิกคนสำคัญของคณะกรรมการชุดนี้

มิถุนายน 1972 • สุโขทัย ประเทศไทยผู้สอนศาสนาสองคนถ่ายภาพกับพระพุทธรูปซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมและทำให้คนไทยไม่พอใจอย่างยิ่ง มีคนค้นพบและตีพิมพ์ภาพดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ไทย ซึ่งทำให้หนังสือพิมพ์ทั่วโลกประโคมข่าวเรื่องนี้ ผู้สอนศาสนาทั้งสองถูกจับกุมและต้องโทษจำคุกหกเดือน

28 สิงหาคม 1974 • อโศก กรุงเทพฯอาคารประชุมแห่งแรกในประเทศไทยได้รับการอุทิศในห้องประชุมที่มีสมาชิก 350 คนและเอ็ลเดอร์เดวิด บี. เฮจท์เข้าร่วม

มิถุนายน 1976 • สงขลา ประเทศไทยผู้สอนศาสนาถูกส่งไปสงขลาซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย

ตุลาคม 1976 • กรุงเทพฯจัดพิมพ์พระคัมภีร์มอรมอนเป็นภาษาไทย ผู้แปลหลักคือศรีลักษณา สุนทรหุต

กันยายน 1977 • เชียงใหม่สาขาเล็กในเชียงใหม่ทางภาคเหนือของประเทศไทยส่งผู้สอนศาสนาเต็มเวลาในท้องที่ครึ่งหนึ่งมารับใช้ในคณะเผยแผ่ประเทศไทย กรุงเทพ

28 ตุลาคม 1977 • ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนียมณี แสงสุวรรณและนุชนัดดา โลจายะเป็นคนไทยคู่แรกที่รับการผนึกในพระวิหาร พวกเขาเดินทางไปลอสแอนเจลิสเพื่อรับศาสนพิธี

1979 • ซอลท์เลคซิตี้ ยูทาห์ สหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์งานแปลพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาและพระคัมภีร์ไข่มุกอันล้ำค่าเป็นภาษาไทย

1979 • ซอลท์เลคซิตี้ ยูทาห์ศรีลักษณา สุนทรหุตเดินทางไปยูทาห์เพื่อทำงานในพระวิหารซอลท์เลคขณะแปลเอ็นดาวเม้นท์พระวิหารเป็นภาษาไทย

1980 • กรุงเทพฯจัดตั้งหน่วยงานสวัสดิการ (Welfare Services Unit – WSURT) เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ภายในปี 1982 หน่วยงานดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเป็นสมาชิกในคณะเผยแผ่ประเทศไทย

25–28 ตุลาคม 1981 • ซอลท์เลคซิตี้ ยูทาห์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีของประเทศไทยเสด็จเยือนสำนักงานใหญ่ของศาสนจักรในซอลท์เลคซิตี้ รัฐยูทาห์ โดยมีกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดถวายการต้อนรับและทั้งสองพระองค์เสด็จทอดพระเนตรการแสดงของคณะนักร้องประสานเสียงมอรมอนแทเบอร์นาเคิล

1982 • กรุงเทพฯจัดตั้งโปรแกรมเซมินารีและสถาบันในประเทศไทย สุชาติ ไชยชะนะ สมาชิกคนไทยที่แปลคู่มือเซมินารีในทศวรรษ 1970 เป็นผู้เริ่มโปรแกรม เขาเดินทางไปสอนเซมินารีและอบรมครูคนอื่นๆ ทั่วประเทศตลอดสองสามปีติดต่อกัน

8 สิงหาคม 1984 • โคราช ประเทศไทยสมาชิกในท้องถิ่นโคราชมีส่วนร่วมในโครงการบำเพ็ญประโยชน์ทาสีรั้วสวนรักเนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระราชินี

20 ธันวาคม 1985 • กรุงเทพฯนักเรียนเซมินารีและสถาบันในกรุงเทพฯ จัดแสดงผลงานเพลงคริสต์มาสชื่อ “คริสต์มาสแรกในเซราเฮ็มลา คริสต์มาสแรกในเบธเลเฮม” การแสดงดังกล่าวจัดเป็นครั้งแรกโดยโปรแกรมเซมินารีและดึงดูดผู้ชมได้เกือบ 300 คน ครึ่งหนึ่งเป็นผู้สนใจ

18 มกราคม 1986, 23 ตุลาคม 1987 และ 16 ธันวาคม 1988 • กรุงเทพฯสมาชิกจัดงานวัฒนธรรมเป็นประจำที่โบสถ์อโศก เช่น งานศาลาไทยในปี 1986 โปรแกรมนี้ประกอบด้วยรำไทย ดนตรีไทย และความบันเทิงแบบไทยๆ และเทศกาลศิลปะในปี 1986, 1987 และ 1988 มีทั้งงานฝีมือ การจัดดอกไม้ ออเคสตราวงใหญ่ การเต้นบอลรูม และอาหารว่างอร่อยๆ

18 มิถุนายน 1988 • กรุงเทพฯ“กลุ่มอดีตผู้สอนศาสนาชาวไทย” เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบบุฟเฟต์และจัดการประชุมที่บ้านพักคณะเผยแผ่ โดยมีอดีตผู้สอนศาสนาในท้องที่เข้าร่วม 25 คน

กรกฎาคม 1988 • กรุงเทพฯมาร์กาเร็ตและอนันต์ แอลดริดช์ตอบรับการเรียกให้เป็นประธานคณะเผยแผ่ประเทศไทย กรุงเทพ

มิถุนายน 1990 • มะนิลา ฟิลิปปินส์สมาชิกในท้องที่ของศาสนจักรราว 200 คนเดินทางไปพระวิหารในมะนิลา ฟิลิปปินส์เพื่อทำศาสนพิธี

18 ธันวาคม 1990 • กรุงเทพฯอนันต์ แอลดริดช์ ประธานคณะเผยแผ่ประเทศไทย กรุงเทพ ถูกจับกุมฐานพูดจาดูหมิ่นศาสนาพุทธ แอลดริดช์ขอโทษที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ถูกปรับและถูกปล่อยตัว

1992 • ประเทศไทยผู้สอนศาสนาเริ่มได้รับวีซ่าสองปี และจำนวนผู้สอนศาสนาเต็มเวลาชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศเพิ่มเป็น 100 คน ก่อนหน้านี้ผู้สอนศาสนาต้องออกนอกประเทศไปต่อวีซ่าทุก 90 วันแล้วกลับเข้ามาใหม่

18–19 มิถุนายน 1995 • กรุงเทพฯเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ตั้งสเตคกรุงเทพ ประเทศไทยโดยมีทิพรัตน์ กิจสวัสดิ์เป็นประธาน พวงผกา เค. วิลเด็นเป็นประธานสมาคมสงเคราะห์ และพรชัย จันทราทิพย์เป็นผู้ประสาทพร

กรกฎาคม 1997 • กรุงเทพฯองค์กรการกุศลวิสุทธิชนยุคสุดท้ายจัดผู้สอนศาสนาคู่สามีภรรยาและซิสเตอร์ผู้สอนศาสนารวม 20 คนไปทำงานกับนักการศึกษาไทย 3,300 คนในเขตโรงเรียนแปดเขตในกรุงเทพเพื่อสอนพวกเขาให้รู้วิธีสอนภาษาอังกฤษ นั่นเป็นครั้งแรกที่ครูต่างชาติสอนในโรงเรียนไทย

มิถุนายน 2000 • กรุงเทพฯกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ประธานศาสนจักรและมาร์จอรี ฮิงค์ลีย์ภรรยาของท่านมาเยือนประเทศไทย ท่านพูดกับสมาชิกและผู้สนใจที่มารวมกันในศูนย์ประชุมกองทัพอากาศประเทศไทยและเข้าพบรองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

กรกฎาคม 2000 • ลาเอีย ฮาวายมหาวิทยาลัยบริคัมยังก์–ฮาวายมอบทุนการศึกษาหกทุนให้นักศึกษาไทยตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยกับรัฐบาลไทย

กันยายน 2002 • นิวยอร์กซิตี้ สหรัฐอเมริกาบัณฑิต อึ้งรังษีนักดนตรีวิสุทธิชนยุคสุดท้ายซึ่งเป็นคนกรุงเทพชนะการแข่งขันวาทยากรระดับโลก (Maazel/Vilar Conductors’ Competition) มีการประกาศผลรางวัลในวันที่ 5 กันยายนปี 2002 ที่คาร์เนกีฮอลล์ในนิวยอร์กซิตี้

ตุลาคม 2006 • กรุงเทพฯสเตคกรุงเทพประเทศไทยฉลองการอุทิศประเทศไทยครบ 40 ปี ตั้งแต่ปี 1966 ศาสนจักรเติบโตจนมีหนึ่งสเตค ห้าท้องถิ่น และสมาชิก 3,000 คน

ตุลาคม 2011 • กรุงเทพฯน้ำท่วมกรุงเทพฯ ช่วงมรสุมทำให้ต้องอพยพสมาชิกศาสนจักรกว่า 100 คนและยกเลิกการประชุมของศาสนจักรเนื่องจากอาคารประชุมเสียหาย อาสาสมัครด้านมนุษยธรรมของศาสนจักร “มือช่วยเหลือ – Helping Hands” รวบรวมอาหารและชุดสุขอนามัยไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัย

5 เมษายน 2014 • ซอลท์เลคซิตี้วิศิษฐ์ คณาคำได้รับการสนับสนุนเป็นสาวกเจ็ดสิบภาคจากประเทศไทยเป็นคนแรก

19 มีนาคม 2016 • กรุงเทพฯสมาชิกศาสนจักรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ประวัติครอบครัวเพื่อเตรียมรับพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทยที่ประกาศสร้างเมื่อปีก่อน

11 พฤศจิกายน 2016 • แจ้งวัฒนะ ประเทศไทยวิสุทธิชนยุคสุดท้ายฉลองการสถาปนาศาสนจักรในประเทศไทยครบ 50 ปีด้วยอาหารมากมาย ดนตรี และสุนทรพจน์

20 เมษายน 2018 • กรุงเทพฯรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันประธานศาสนจักรมาเยือนกรุงเทพ ประเทศไทย พร้อมกับเวนดี้ เนลสันภรรยาของท่าน และเจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ท่านพูดกับสมาชิกหลายพันคนเกี่ยวกับการเติบโตของศาสนจักรและพรพระวิหาร

ภาพจำลองพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทย

26 มกราคม 2019 • กรุงเทพฯ

สมาชิกเป็นเจ้าภาพพิธีเบิกดินบริเวณที่ตั้งพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทย