ประวัติย่อของศาสนจักรใน
ประเทศไทย
ภาพรวม
หลังจากงานเผยแผ่ช่วงสั้นๆ ในปี 1854 ของอีแลม ลัดดิงตันผู้สอนศาสนาชาวอเมริกัน ไม่มีใครพยายามสถาปนาศาสนจักรในประเทศไทยอีกเลยเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ ในปี 1968 อนันต์ แอลดริดช์ สมาชิกชาวไทยคนแรกที่เข้าร่วมศาสนจักรหลังจากพบครอบครัววิสุทธิชนยุคสุดท้ายในกรุงเทพได้สอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยให้กับผู้สอนศาสนาเมื่อพวกเขามาถึงช่วงแรกๆ ในปี 1969 นัทธมน ดี. ลิ้มสุคนธ์ สมาชิกจากเชียงใหม่ เป็นเครื่องมือคล้ายกันในการช่วยผู้สอนศาสนาตั้งกลุ่มผู้ร่วมประชุมทางภาคเหนือของประเทศไทย
แบบอย่างและความโอบอ้อมอารีของสมาชิกในท้องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของศาสนจักรในสภาวการณ์ที่ละเอียดอ่อนทางการเมืองและวัฒนธรรม สมาชิกเคยจัดงานวัฒนธรรมที่อาคารประชุม เก่งเรื่องศิลปะ จัดกลุ่มทำความสะอาดหลังเกิดภัยธรรมชาติ และยื่นมือช่วยเหลือด้วยความรักเพื่อแบ่งปันพระกิตติคุณให้กับมิตรสหายและเพื่อนบ้าน
ในปี 1988 มาร์กาเร็ตกับอนันต์ แอลดริดช์ได้รับเรียกให้เป็นประธานดูแลคณะเผยแผ่ประเทศไทย กรุงเทพ ในเดือนมิถุนายนปี 1995 เมื่อจัดตั้งสเตคกรุงเทพ ประเทศไทย สมาชิกในท้องที่ยอมรับการเรียกให้เป็นประธานสเตค ประธานสมาคมสงเคราะห์สเตค และผู้ประสาทพรสเตค หลังจากการประกาศสร้างพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทยตามแผนได้ไม่นาน วิสุทธิชนฉลองการสถาปนาศาสนจักรครบห้าสิบปี “โดยศรัทธา [ของพวกเขา] ด้วยความขยันหมั่นเพียรยิ่ง, และด้วยความอดทน” เป็นแน่แท้ ผลพระกิตติคุณจึงแตกรากจนกลายเป็น “ต้นไม้ที่งอกงามไปสู่ชีวิตอันเป็นนิจ” (แอลมา 32:41)
ข้อเท็จจริงที่สำคัญ
ชื่อทางการ: ราชอาณาจักรไทย / ราชอาณาจักรไทย
เมืองหลวง: กรุงเทพมหานคร
เมืองใหญ่สุด: กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ: ไทย
พื้นที่: 513,120 ตร. กม. (198,120 ตร. ไมล์)
ภาคของศาสนจักร: เอเชีย
คณะเผยแผ่: 1 (กรุงเทพ)
ที่ประชุม: 41 แห่ง
พระวิหาร: 1 (กรุงเทพ)