เซมินารี
3 นีไฟ 12:1–16: “เจ้าเป็นสุข”


“3 นีไฟ 12:1–16: ‘เจ้าเป็นสุข’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“3 นีไฟ 12:1–16” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

3 นีไฟ 12:1–16

“เจ้าเป็นสุข”

พระคริสต์ทรงสอนในทวีปอเมริกา

พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงประสงค์จะประทานพรแก่เรา เรามั่นใจได้ว่าเมื่อเราทำตามคำแนะนำของพระองค์ เราจะได้รับพรของพระองค์ตามจังหวะเวลาและในวิธีของพระองค์ เมื่อครั้งที่สอนชาวนีไฟ พระเยซูทรงประกาศพรมากมายที่เราจะได้รับ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเตรียมรับพรที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสไว้เมื่อพยายามทำตามคำแนะนำของพระองค์

การมุ่งเน้นที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เป็นแหล่งที่มาของพรเรา เมื่อศึกษาพระคัมภีร์และสนทนาเกี่ยวกับพรที่สัญญาไว้ ให้เน้นว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เป็นแหล่งที่มาของพรเหล่านั้น

การเตรียมของนักเรียน: เพื่อช่วยเตรียมใจของนักเรียนให้พร้อมศึกษาคำเทศนาของพระผู้ช่วยให้รอดใน 3 นีไฟ ซึ่งคล้ายกับคำเทศนาของพระองค์บนภูเขามาก ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองคำกล่าวนี้จากประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ (1876–1972) ท่านกล่าวว่าคำเทศนาบนภูเขาเป็น “[คำเทศนา] ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยสั่งสอนมา ตามที่เราทราบ” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ [2013], 234)

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ได้รับพร

เพื่อช่วยให้นักเรียนนึกถึงความหมายที่แท้จริงของการได้รับพร ท่านอาจวาดหน้าปกนิตยสารง่ายๆ บนกระดาน ตั้งชื่อนิตยสาร เช่น นิตยสารความสำเร็จทางโลก และเขียนเป็นชื่อบทความเด่นๆ ในประเด็น “ห้าคนที่มีพรมากที่สุดแห่งปี”

เชื้อเชิญนักเรียนมาที่กระดานและเขียนพรสองสามข้อตามบทความที่ต้องการมุ่งเน้นบนหน้าปกนิตยสาร

วาดหน้าปกนิตยสารพร้อมบทความเด่นๆ ที่เหมือนกันบนกระดานอีกด้าน แต่คราวนี้ให้ตั้งชื่อว่านิตยสาร เลียโฮนา เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนพรสองสามข้อตามบทความที่ต้องการมุ่งเน้นในนิตยสารของศาสนจักร

  • ท่านคาดหวังให้บทความมุ่งเน้นไปที่พรใดเพื่อเป็นเกณฑ์ในการเลือกผู้คน?

ทีนี้ลองนึกภาพบทความในนิตยสาร เลียโฮนา ที่มีชื่อเดียวกัน

  • ท่านคาดหวังว่าบทความจะกล่าวถึงพรใดว่าเป็นพรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทุกคนอาจมี?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดและศาสนจักรของพระองค์จึงสอนให้เราวางคุณค่าสูงสุดในพรที่แตกต่างกันมากกว่าที่หลายๆ คนในโลกแสวงหา?

ใน 3 นีไฟ 12–14 พระเยซูคริสต์ทรงสอนคำเทศนาแก่ชาวนีไฟที่คล้ายกันมากกับคำเทศนาของพระองค์บนภูเขาในพันธสัญญาใหม่ ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ (1876–1972) กล่าวว่าคำเทศนาบนภูเขาเป็น “[คำเทศนา] ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยสั่งสอนมา ตามที่เราทราบ” (คำสอนของประธานศาสนจักร: โจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ [2013], 234)

ในวันนี้ขณะที่ท่านศึกษาส่วนหนึ่งของคำเทศนาของพระผู้ช่วยให้รอดที่เรียกว่าผู้เป็นสุข ท่านจะมีโอกาสเรียนรู้วิธีที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงปรารถนาที่จะอวยพรท่าน ประธานฮาโรลด์ บี. ลี (1899–1973) อ้างถึงผู้เป็นสุขของพระผู้ช่วยให้รอดว่าเป็น “องค์ประกอบของชีวิตที่ดีรอบคอบ” และอธิบายว่า “ในคำเทศนาบนภูเขาของพระองค์ พระอาจารย์ประทานการเปิดเผยบางอย่าง ถึงพระลักษณะของพระองค์ซึ่งดีพร้อม … และเป็นพิมพ์เขียวสำหรับชีวิตของเราเอง” (Decisions for Successful Living [1973], 56–57) ขณะศึกษา ให้ไตร่ตรองว่าเหตุใดพรที่พระคริสต์ประทานให้ในคำเทศนานี้จึงมีค่ายิ่งกว่าพรใดๆ ในโลก

ผู้เป็นสุขในทวีปอเมริกา

อ่าน 3 นีไฟ 12:1–12 แล้วทำเครื่องหมายคำว่า “ได้รับพร” และพรที่ท่านพบว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสรุปไว้ในข้อเหล่านี้ สังเกตคำว่า “ได้รับพร” ในข้อเหล่านี้หมายถึงโชคดีอย่างยิ่งหรือเป็นที่โปรดปรานจากสวรรค์

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนนับจำนวนครั้งที่เห็นคำว่า “ได้รับพร” และแบ่งปันพรที่พบ

  • เมื่อพิจารณาพรทั้งหมดที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงระบุไว้ในข้อเหล่านี้ สิ่งนี้บอกอะไรท่านเกี่ยวกับพระองค์และพระบิดาของพระองค์?

ความจริงข้อหนึ่งที่เราเรียนรู้ได้จากข้อพระคัมภีร์นี้คือ พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูทรงเบิกบานพระทัยที่จะประทานพรแก่เราเมื่อเรามุ่งมั่นทำตามคำแนะนำของพระองค์

อ่าน 3 นีไฟ 12:1–2 และทำเครื่องหมายสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงขอให้เราทำหากเราแสวงหาพรที่พระองค์และพระบิดาประทานแก่เรา

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาก่อนที่จะเชิญอาสาสมัครมาแบ่งปันคำตอบของตนกับชั้นเรียน นักเรียนจะแบ่งปันกับคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กก็ได้

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระผู้เป็นเจ้าประทานพรแก่ผู้ที่ “ใส่ใจถ้อยคำของ [ทั้ง] สิบสองคนผู้ซึ่ง [พระองค์] ทรงเลือกไว้”? (3 นีไฟ 12:1)

  • พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรท่านหรือคนอื่นๆ ที่ท่านรู้จักสำหรับการเอาใจใส่ถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกอย่างไร?

หากมีเวลา เชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญเมื่อเร็วๆ นี้จากสมาชิกในฝ่ายประธานสูงสุดหรือโควรัมอัครสาวกสิบสอง แล้วแบ่งปันวิธีที่พวกเขาคิดว่าเราได้รับพรจากการเอาใจใส่คำสอนเฉพาะตามที่พบ

การแสวงหาพร

ก่อนที่นักเรียนจะอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ ท่านอาจวาดสองคอลัมน์บนกระดาน ระบุพรจากข้อพระคัมภีร์ไว้ในคอลัมน์หนึ่ง และระบุการกระทำหรือเงื่อนไขที่นำไปสู่พรเหล่านั้นแบบไม่เรียงตามลำดับในอีกคอลัมน์ เชื้อเชิญให้นักเรียนพยายามจับคู่พรกับการกระทำหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง จากนั้นท่านอาจให้พวกเขาใช้ 3 นีไฟ 12:3–12 เพื่อตรวจคำตอบ

อ่าน 3 นีไฟ 12:3–12 อีกครั้ง โดยครั้งนี้ให้มองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื่อมโยงเงื่อนไขกับพรแต่ละข้ออย่างไร ท่านอาจทำเครื่องหมายเงื่อนไขให้แตกต่างจากที่ทำเครื่องหมายพร เช่น ใช้สีต่างๆ หรือวงกลมแทนการใช้สีเน้นข้อความ

ดูแนวคิดทางเลือกสำหรับคำสอนผู้เป็นสุขได้ในกิจกรรม “แผนภูมิผู้เป็นสุข” ที่อยู่ใน “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ของบทเรียนนี้

เลือกพรหนึ่งข้อจากข้อเหล่านี้ที่ท่านต้องการได้รับ สังเกตการกระทำหรือเงื่อนไขที่นำไปสู่พรนั้น ศึกษาการกระทำหรือเงื่อนไขนั้นโดยใช้แหล่งข้อมูลที่มีอยู่ เช่น คู่มือพระคัมภีร์ แอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ หรือเชิงอรรถ

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเดินไปรอบๆ ห้อง หาคนอื่นที่ศึกษาข้อพระคัมภีร์อื่นๆ และแบ่งปันคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ปรารถนาพรที่ท่านศึกษาต้องทำ?

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงให้เห็นการกระทำหรือเงื่อนไขนั้นอย่างไร? แบบอย่างของพระองค์อาจช่วยให้ท่านเข้าใจวิธีที่ท่านจะแสวงหาพรนั้นได้ดีขึ้นอย่างไร?

จำไว้ว่าเพราะพระบิดาบนสวรรค์ทรงรักเรา พระองค์จะทรงอวยพรเราตามจังหวะเวลาและในวิธีของพระองค์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:64)

หากท่านรู้สึกว่านักเรียนอาจใช้การกระตุ้นเพิ่มเติมเพื่อวางใจในพระเจ้าและจังหวะเวลาของพระองค์ ท่านอาจแบ่งปัน ข้อความของประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ ในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง”

เมื่อท่านระบุพรที่ปรารถนาและศึกษาวิธีเชื้อเชิญพรนั้นเข้ามาในชีวิตแล้ว ให้วางแผนว่าท่านจะแสวงหาพรนั้นได้อย่างไร คำถามต่อไปนี้อาจมีประโยชน์:

  • ท่านอาจทำสิ่งใดเป็นพิเศษเพื่อแสวงหาพรนั้น?

  • ท่านวางแผนจะเริ่มเมื่อใด?

  • มีอุปสรรคใดบ้างที่อาจเข้ามาขัดขวาง และท่านจะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร?

อาจเป็นประโยชน์ที่จะแบ่งปันว่าท่านเคยเห็นพรเหล่านี้ในชีวิตท่านและประจักษ์พยานถึงความปรารถนาของพระผู้ช่วยให้รอดที่จะทรงอวยพรเราอย่างไร