เซมินารี
3 นีไฟ 13–14: คำสอนของพระคริสต์


“3 นีไฟ 13–14: คำสอนของพระคริสต์” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“3 นีไฟ 13–14” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

3 นีไฟ 13–14

คำสอนของพระคริสต์

ภาพ
พระคริสต์แย้มพระสรวลให้ผู้คนในทวีปอเมริกาสมัยโบราณ

ลองนึกดูว่าผู้คนในแผ่นดินอุดมมั่งคั่งฟังพระผู้ช่วยให้รอดผู้ฟื้นคืนพระชนม์ที่ทรงสอนว่าเป็นอย่างไร เราได้รับพรจากข่าวสารของพระองค์ส่วนหนึ่งที่บันทึกไว้ใน 3 นีไฟ 13–14 บทเหล่านี้เต็มไปด้วยหลักธรรมที่มีความหมายในปัจจุบันเช่นเดียวกับคนที่อยู่ที่นั่นเมื่อพระองค์ทรงประกาศ จุดประสงค์ของบทเรียนนี้คือช่วยให้ท่านระบุหลักธรรมจากคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดและดูความเกี่ยวข้องที่มีต่อชีวิตท่านในปัจจุบัน

ช่วยนักเรียนระบุหลักคำสอนและหลักธรรมนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องขณะเรียนรู้ที่จะระบุหลักคำสอนและหลักธรรมในพระกิตติคุณ มองหาข้อพระคัมภีร์ที่สอนหลักธรรมหลายข้อและให้นักเรียนมีเวลาค้นหาความจริงเหล่านี้ ช่วยนักเรียนแสดงความจริงที่พบอย่างชัดเจน

การเตรียมของนักเรียน: ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาและเตรียมมาแบ่งปันข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลจากที่พบในการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัว ข้อความเหล่านี้อาจมีการระบุคำว่า ถ้า และ จากนั้น หรือข้อความนั้นอาจอธิบายง่ายๆ ว่าตัวเลือกแบบใดจะนำไปสู่ผลลัพธ์ใด

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ท่านจะให้คำแนะนำว่าอย่างไร?

ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอธิบายหรือบรรยายทักษะที่ได้รับการพัฒนาแบบสั้นๆ ให้ชั้นเรียนฟัง หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนทุกคนใช้เวลาหนึ่งนาทีอธิบายทักษะที่ตนมีให้คู่ฟัง

นึกถึงทักษะที่ท่านได้พัฒนาผ่านประสบการณ์ โดยอาจเป็นกีฬา งานอดิเรก วิชาที่โรงเรียนหรือทักษะ เช่น ขับรถ ทำอาหารบางเมนู หรือดูแลสัตว์เลี้ยง

ลองนึกภาพว่าหลังจากอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับทักษะของท่านกับใครบางคน แล้วพวกเขาแสดงความสนใจที่อยากจะลอง

นึกถึงคำแนะนำหนึ่งข้อจากประสบการณ์ของท่านที่อาจให้ได้ อาจเป็นเคล็ดลับที่ต้องให้เวลาพวกเขาสักครู่ในการหาคำตอบ หรืออาจช่วยป้องกันไม่ให้มีข้อผิดพลาดที่พบบ่อยจากการเรียนรู้ทักษะของท่าน

สรุปคำแนะนำของท่านด้วยข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลแบบง่าย (ตัวอย่างเช่น หากมีทักษะในการวิ่งระยะไกล ท่านอาจพูดว่า “ถ้าท่านยังรักษาความชุ่มชื้นไว้ กล้ามเนื้อของท่านจะฟื้นตัวเร็วขึ้น”)

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนบางคนแบ่งปันข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกับชั้นเรียน

เช่นเดียวกับความรู้และคำแนะนำที่อาจช่วยคนที่กำลังเรียนรู้ทักษะของท่านให้ประสบความสำเร็จและไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่ไม่จำเป็น คำแนะนำของพระเยซูคริสต์จะเป็นพรและปกป้องท่านจากความผิดพลาดได้

วันนี้ท่านจะได้รับพรจากการศึกษา 3 นีไฟ 13–14 ซึ่งเป็นความต่อเนื่องของคำเทศนาอันหาที่เปรียบมิได้ของพระผู้ช่วยให้รอดที่พบใน มัทธิว 5–7 พระเยซูยังทรงสอนกฎระดับสูงต่อไปที่ช่วยให้เราเตรียมดำเนินชีวิตในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:21–22) ขณะศึกษาคำแนะนำของพระองค์ ให้มองหาว่าคำสอนของพระองค์เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ท่านเผชิญอย่างไร หยุดเป็นระยะๆ เพื่อไตร่ตรองหลักธรรมที่ค้นพบ และบันทึกว่าการปฏิบัติตามความจริงที่พระองค์ทรงสอนจะเตรียมท่านกลับไปที่ประทับของพระองค์อย่างไร

ข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลในพระคัมภีร์

วิธีหนึ่งในการศึกษาคำสอนของพระเจ้าอย่างมีประสิทธิภาพคือ มองหาความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล หลายครั้งที่มีข้อความเริ่มต้นด้วยคำว่า ถ้า ข้อความเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเห็นได้ชัดเจนว่าตัวเลือกแบบใดจะนำไปสู่ผลลัพธ์แบบใด ในการพูดถึงข้อความที่เป็นเหตุเป็นผล (หรือแบบมีเงื่อนไข) เอ็ลเดอร์เควิน เอส. แฮมิลตันแห่งสาวกเจ็ดสิบประกาศว่า:

พระเจ้าทรงดำเนินการตามเงื่อนไขเช่นกัน: เงื่อนไขแห่งศรัทธา เงื่อนไขแห่งความชอบธรรม เงื่อนไขแห่งการกลับใจ มีตัวอย่างเงื่อนไขมากมายจากพระผู้เป็นเจ้า เช่น …

ถ้า ท่านจะทูลถามด้วยใจจริง, ด้วยเจตนาแท้จริง, โดยมีศรัทธาในพระคริสต์, [แล้ว] พระองค์จะทรงแสดงความจริงของเรื่องให้ประจักษ์แก่ท่าน, โดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (โมโรไน 10:4) …

ถ้า พวกท่านประพฤติตามบัญญัติของเรา [แล้ว] ท่านก็จะติดสนิทอยู่กับความรักของเรา” (ยอห์น 15:10) (เควิน เอส. แฮมิลตัน, “เมื่อนั้นเราจะทำให้สิ่งที่อ่อนแอกลับเข้มแข็ง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2022, 50, เครื่องหมายวงเล็บและเน้นตัวเอนในต้นฉบับ)

สังเกตได้จากตัวอย่างของเอ็ลเดอร์แฮมิลตันที่มีคำว่า ถ้า มาก่อนการกระทำที่จำเป็นของเรา จากนั้นจึงอธิบายถึงผลกระทบหรือผลจากการกระทำของเรา

เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงสอนผู้คนในแผ่นดินอุดมมั่งคั่ง หลักธรรมสำคัญบางข้อที่พระองค์ทรงสอนได้รับการระบุว่าเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งรวมอยู่ในพระวจนะ หาก ตัวอย่างเช่น อ่าน 3 นีไฟ 13:14–15 และทำเครื่องหมายถ้อยคำ หาก ในแต่ละข้อ

สังเกตได้จากตัวอย่างของเอ็ลเดอร์แฮมิลตัน ท่านสอดแทรกคำว่า แล้ว ในแต่ละข้อความเพื่อเน้นผลลัพธ์จากการเลือกของเรา ท่านอาจต้องการบันทึกคำว่า แล้ว ที่คิดว่าตรงกับ ข้อ 14–15 ในพระคัมภีร์

เชื้อเชิญอาสาสมัครมาเขียนข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลที่พบในข้อนี้บนกระดาน โดยอาจเริ่มจากรายการข้อความแห่งความจริงที่นักเรียนจะเพิ่มเข้าไปตลอดบทเรียน

เปลี่ยนคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใหม่เป็นข้อความแบบมีเหตุและผล

คำสอนบางข้อของพระเยซูไม่มีคำว่า หาก แต่ด้วยความรอบคอบและความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านจะสังเกตเห็นความสัมพันธ์แบบมีเหตุและผลที่ชี้แจงหลักธรรมที่พระองค์ทรงสอนได้ อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้อย่างน้อยสามข้อ และเขียนข้อความแบบมีเหตุและผลง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นถึงคำแนะนำของพระผู้ช่วยให้รอดในแต่ละข้อ

ท่านอาจต้องการทบทวนสิ่งที่พระองค์ทรงสอนเป็นข้อความว่า “หาก-แล้ว” ตัวอย่างเช่น หลังจากศึกษา 3 นีไฟ 13:1–4 อาจมีคนเขียนว่า “หาก แรงจูงใจของเราในการช่วยเหลือคนยากไร้เป็นเหมือนพระคริสต์ แล้ว รางวัลของเราจะมาจากพระบิดาบนสวรรค์” เราเรียนรู้ได้จากข้อความนี้ว่าแรงจูงใจในการกระทำที่ชอบธรรมมีความสำคัญต่อพระบิดาบนสวรรค์ของเรา ผู้ทรงรักที่จะประทานพรแก่ผู้ที่เป็นเหมือนพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์มากขึ้น

นักเรียนอาจทำกิจกรรมนี้เป็นกลุ่มเล็กๆ โดยให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาข้อต่างๆ และแบ่งปันข้อความที่สร้างขึ้น ท่านอาจแสดงตัวเลือกทั้งหมดต่อไปนี้ หรือจำกัดเฉพาะตัวเลือกที่ท่านรู้สึกว่านักเรียนต้องการมากที่สุด

เชื้อเชิญให้นักเรียนหลายๆ คนมาเพิ่มข้อความแบบมีเหตุและผลบนกระดาน และท่านอาจถามคำถามทำนองนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นว่าคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวข้องกับโลกปัจจุบันอย่างไร

วิธีอื่นที่ช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวข้องคือ เชื้อเชิญให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อนึกถึงสถานการณ์ที่หลักธรรมบางข้อที่ระบุบนกระดานอาจช่วยเยาวชนในสภาพแวดล้อมบางอย่างได้ เช่น: (1) ที่บ้าน (2) ที่โรงเรียน หรือ (3) ในการดำเนินชีวิตแบบผู้ใหญ่ในอนาคต หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้กลุ่มแบ่งปันแนวคิดกับกลุ่มที่อยู่ใกล้กัน

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดจึงทรงต้องการให้ผู้คนในปัจจุบันรู้ว่าพระองค์ทรงสอนอะไรในบทเหล่านี้? ท่านคิดว่าคำสอนใดของพระองค์จำเป็นที่สุดในสมัยของเรา?

  • วัยรุ่นคนหนึ่งอาจประยุกต์ใช้หนึ่งในหลักธรรมที่มีเหตุและผลที่ท่านสร้างขึ้นจากบทเหล่านี้ที่บ้าน ที่โรงเรียน ในการดำเนินชีวิตแบบผู้ใหญ่ในอนาคตได้อย่างไร? สิ่งนี้จะช่วยเขาหรือเธอได้อย่างไร?

    ท่านอาจแบ่งปันช่วงเวลาที่ท่านเอาใจใส่หนึ่งในหลักธรรมที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนในบทเหล่านี้และหลักธรรมนั้นเป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร

    จากนั้นท่านอาจให้เวลานักเรียนไตร่ตรองและเขียนความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้:

  • คำสอนใดของพระผู้ช่วยให้รอดในบทเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ท่านกำลังเผชิญในชีวิตท่านมากที่สุด? ท่านคิดว่าพระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านใช้คำแนะนำที่พระองค์ประทานให้อย่างไร?

พิมพ์