พันธสัญญาใหม่ 2023
8 มกราคม ฉันจะเป็นพรแก่ผู้อื่นด้วยประจักษ์พยานของฉันในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร? มัทธิว 1; ลูกา 1


“8 มกราคม ฉันจะเป็นพรแก่ผู้อื่นด้วยประจักษ์พยานของฉันในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร? มัทธิว 1; ลูกา 1” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023 (2022)

“8 มกราคม ฉันจะเป็นพรแก่ผู้อื่นด้วยประจักษ์พยานของฉันในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023

ตามคำของท่าน โดย เอสเพิร์ธ ยังก์

มารีย์แสดงประจักษ์พยานอันทรงพลังถึงพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอด (ดู ลูกา 1:46–55 ตามคำของท่าน โดย เอสเพิร์ธ ยังก์

8 มกราคม

ฉันจะเป็นพรแก่ผู้อื่นด้วยประจักษ์พยานของฉันในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร?

มัทธิว 1; ลูกา 1

ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

เมื่อเริ่มการประชุมให้ท่อง สาระสำคัญเยาวชนหญิง หรือ สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นหรือคำถามของท่านเอง (ดู คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย, 10.2, 11.2, ChurchofJesusChrist.org) วางแผนวิธีปฏิบัติตามที่ท่านสนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ครั้งที่แล้วเราสนทนาเรื่องอะไร และมีคำเชื้อเชิญหรืองานมอบหมายอะไรบ้าง? เราทำอะไรบ้างเพื่อปฏิบัติตามคำเชื้อเชิญหรืองานมอบหมายเหล่านี้?

  • ดูแลคนขัดสน เราจะทำหรือพูดอะไรได้บ้างเพื่อยื่นมือช่วยเหลือคนที่อาจรู้สึกเดียวดายหรือเหินห่างจากพระบิดาบนสวรรค์?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถช่วยให้คนอื่นๆ รู้สึกถึงความรักของพระเยซูคริสต์?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ เราจะแบ่งปันแนวคิดอะไรให้กันได้บ้างเพื่อช่วยทำให้ครอบครัวเราเข้มแข็ง?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ไอคอนสอนหลักคำสอน

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

มารีย์เหมือนชาวยิวที่ซื่อสัตย์ส่วนใหญ่ในสมัยของเธอคือโหยหาการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ หลังจากทราบจากทูตสวรรค์ว่าการรอคอยใกล้สิ้นสุดแล้ว—และเธอจะเป็นพระมารดาของพระผู้ไถ่ที่สัญญาไว้—มารีย์จึงแสดงประจักษ์พยานที่สวยงามถึง “พระเจ้าพระผู้ช่วยให้รอดของข้าพเจ้า” ประจักษ์พยานของเธอบันทึกไว้ใน ลูกา 1:46–55 และชาวคริสต์ทั่วโลกรักประจักษ์พยานนี้ ขณะที่ท่านอ่านข้อเหล่านี้ ให้นึกถึงคนในชั้นเรียนหรือโควรัมของท่าน พวกเขาเหมือนมารีย์คือกำลังเตรียมรับการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์—แต่คราวนี้เตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองอันรุ่งโรจน์ของพระองค์ และเช่นเดียวกับมารีย์ ประจักษ์พยานของพวกเขาสามารถมีอิทธิพลแรงกล้าต่อศรัทธาของคนรอบข้าง

คนที่ท่านสอนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์? ประจักษ์พยานของพวกเขาในพระองค์จะเป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร? ขณะเตรียมสอน ท่านอาจศึกษา 2 นีไฟ 25:23–26 และข่าวสารของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นเรื่อง “เราพูดถึงพระคริสต์” (เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 88–91) ด้วย

เรียนรู้ด้วยกัน

วิธีที่ดีมากๆ ที่จะช่วยให้เยาวชนนึกถึงประจักษ์พยานของตนในพระเยซูคริสต์คือพินิจประจักษ์พยานของมารีย์ใน ลูกา 1:46–55 ด้วยกัน พวกเขาอาจจะแบ่งปันวลีให้กันที่บอกว่ามารีย์เชื่ออะไรและรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด วลีใดในวลีเหล่านี้บอกเช่นกันว่าเรารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระองค์? ตัวอย่างเช่น อะไรเป็นเหตุให้วิญญาณเรา “เปรมปรีดิ์ในพระเจ้า”? (ข้อ 47) พระองค์ทรงทำ “การใหญ่” อะไรเพื่อเรามาแล้วบ้าง? (ข้อ 49) พระองค์ทรงแสดงให้เห็นอานุภาพของพระองค์ในชีวิตเรามาแล้วอย่างไร? (ดู ข้อ 51) แนวคิดกิจกรรมด้านล่างอาจนำไปสู่การสนทนาว่าประจักษ์พยานของเราในพระคริสต์จะเป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร

  • ข่าวสารของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นเรื่อง “เราพูดถึงพระคริสต์” ช่วยอธิบายว่าเหตุใดเราจึงควรพูดถึงพระผู้ช่วยให้รอดอย่างเปิดเผยมากขึ้น—และเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร ท่านอาจจะอ่านหัวข้อต่างๆ ในข่าวสารของเอ็ลเดอร์แอนเดอร์เซ็นด้วยกัน สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมจะสนทนาเหตุผลที่เอ็ลเดอร์แอนเดอร์เซ็นให้ไว้สำหรับการแบ่งปันประจักษ์พยานของเราในพระเยซูคริสต์และคำแนะนำของท่านเกี่ยวกับวิธีแบ่งปัน เราจะทำสิ่งจำเพาะเจาะจงอะไรได้บ้างเพื่อพูดถึงพระคริสต์อย่างเปิดเผยมากขึ้น?

  • ในฐานะสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย เรารู้ความจริงสำคัญๆ เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่เราสามารถแบ่งปันได้ ท่านอาจจะช่วยให้เยาวชนคิดถึงความจริงเหล่านี้ได้อย่างไร? ท่านอาจจะขอให้พวกเขาศึกษา “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โดยมองหาคำตอบของคำถามว่า “ความจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดมีความหมายพิเศษต่อท่าน?” ขอให้พวกเขาแบ่งปันความจริงที่พบและอธิบายว่าเหตุใดความจริงเหล่านี้จึงมีความหมายต่อพวกเขา และอาจจะแบ่งปันข้อพระคัมภีร์กับประสบการณ์ของพวกเขาเองขณะอธิบาย อาจจะสนทนาต่อจากนั้นว่าความจริงใดบ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดที่พวกเขาสามารถแบ่งปันบนโซเชียลมีเดีย กับเพื่อนที่กำลังมีปัญหากับประจักษ์พยาน หรือกับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกศาสนจักรของเรา

  • นอกจาก ลูกา 1:46–55 แล้วยังมีพระคัมภีร์อีกหลายข้อที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เราแบ่งปันสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ บางตัวอย่างอยู่ใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” ลองอ่านข้อเหล่านี้ด้วยกัน ข้อเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีแบ่งปันประจักษ์พยานของเราในพระเยซูคริสต์กับผู้อื่น? เราเรียนรู้อะไรอีกบ้างจากข้อเหล่านี้? สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมอาจจะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากคนรู้จักผู้พูดถึงศรัทธาของตนในพระเยซูคริสต์อย่างตรงไปตรงมา

เยาวชนหญิงศึกษาพระคัมภีร์

ขณะเรียนรู้เพื่อรู้จักและรักพระผู้ช่วยให้รอด เราจะพบวิธีแบ่งปันประจักษ์พยานของเราในพระองค์

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อกระทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจจะแบ่งปันแนวคิดของตนถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขาตรึกตรองว่าการกระทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านั้นจะกระชับความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

การถามคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงประจักษ์พยานสามารถเป็นวิธีที่มีพลังในการอัญเชิญพระวิญญาณ ท่านอาจจะถามคำถามเช่น “คุณรู้ได้อย่างไรว่าพระเยซูคริสต์ทรงชดใช้บาปของคุณ?” หรือ “คุณซาบซึ้งในสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อเราในเกทเสมนีอย่างไร?”