“30 กันยายน–6 ตุลาคม: ‘เราคือกฎ, และแสงสว่าง’ 3 นีไฟ 12–16” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: พระคัมภีร์มอรมอน 2024 (2023)
“30 กันยายน–6 ตุลาคม 3 นีไฟ 12–16” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: 2024 (2023)
30 กันยายน–6 ตุลาคม: “เราคือกฎ, และแสงสว่าง”
3 นีไฟ 12–16
ผู้คนที่มารวมกันที่พระวิหารในแผ่นดินอุดมมั่งคั่งได้ดำเนินชีวิตตามกฎของโมเสสเหมือนสานุศิษย์ของพระเยซูที่มารวมกันเพื่อฟังคำเทศนาบนภูเขาในกาลิลี พวกเขาทำตามกฎนั้นเพราะชี้นำจิตวิญญาณพวกเขาไปหาพระคริสต์ (ดู เจคอบ 4:5) และเวลานี้พระคริสต์ทรงยืนประกาศกฎที่สูงกว่าอยู่เบื้องหน้าพวกเขา ถึงแม้เราไม่เคยดำเนินชีวิตตามกฎของโมเสสแต่สามารถรับรู้ได้ว่ามาตรฐานที่พระเยซูทรงกำหนดไว้สำหรับสาวกของพระองค์นั้นเป็นมาตรฐานสูง “เราอยากให้เจ้าดีพร้อม” พระองค์ทรงประกาศ (3 นีไฟ 12:48) ถ้าทำให้ท่านรู้สึกไม่ดีพอ จำไว้ว่าพระเยซูตรัสเช่นกันว่า “คนที่ยากจนทางวิญญาณที่มาหาเราย่อมเป็นสุข, เพราะอาณาจักรแห่งสวรรค์เป็นของพวกเขา” (3 นีไฟ 12:3) กฎที่สูงกว่านี้เป็นการเชื้อเชิญ—เป็นวิธีพูดอีกแบบหนึ่งว่า “มาหาเราและเจ้าจะได้รับการช่วยให้รอด” (3 นีไฟ 12:20) เช่นเดียวกับกฎของโมเสส กฎนี้ชี้นำเราไปหาพระคริสต์—พระองค์เดียวผู้ทรงสามารถช่วยให้เรารอดและดีพร้อม “ดูเถิด” พระองค์ตรัส “เราคือกฎ, และแสงสว่าง จงดูที่เรา, และอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่, และเจ้าจะมีชีวิต” (3 นีไฟ 15:9)
แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์
ฉันสามารถเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์
วิธีหนึ่งที่จะศึกษาและประยุกต์ใช้สิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนใน 3 นีไฟ 12–14คือ เลือกข้อพระคัมภีร์มากลุ่มหนึ่ง และดูว่าท่านจะสรุปข้อพระคัมภีร์เหล่านั้นให้เป็นประโยคเดียวได้หรือไม่โดยเริ่มประโยคว่า “สานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์ …” ตัวอย่างเช่น สรุปของ 3 นีไฟ 13:1–8 อาจจะเป็น “สานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์ไม่แสวงหาการสรรเสริญจากสาธารณชนเมื่อทำความ” ลองเขียนสรุปข้อเหล่านี้:
หลังจากอ่านข้อเหล่านี้แล้ว ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ทำอะไรเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์?
พระบัญญัติใน 3 นีไฟ 12:48 ดูเหมือนน่าหนักใจ—จนถึงขนาดเป็นไปไม่ได้ ท่านเรียนรู้อะไรจากข่าวสารของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์เรื่อง “เพราะฉะนั้นพวกท่านจงเป็นคนดีพร้อม—ในที่สุด” (เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 40–42) ที่ช่วยให้ท่านเข้าใจพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดในข้อนี้? ตามที่กล่าวไว้ใน โมโรไน 10:32–33 อะไรทำให้การดีพร้อมเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดเป็นไปได้?
ดู ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, พ.ย. 2000, 47–50; “พระเจ้าขอข้าตามพระองค์, เพลงสวด, บทเพลงที่ 106; “Jesus Christ Teaches How to Live the Higher Law” (วีดิทัศน์), Gospel Library ด้วย
3 นีไฟ 12:1–2; 15:23–24; 16:1–6
คนที่เชื่อโดยไม่เห็นย่อมเป็นสุข
ลูกๆ ไม่กี่คนของพระผู้เป็นเจ้าเคยเห็นพระผู้ช่วยให้รอดและได้ยินสุรเสียงของพระองค์เหมือนผู้คนที่เมืองอุดมมั่งคั่ง พวกเราส่วนใหญ่เหมือนผู้คนที่บรรยายไว้ใน 3 นีไฟ 12:2; 15:23; และ 16:4–6 มากกว่า ในข้อเหล่านี้ทำสัญญาอะไรไว้กับคนเช่นนั้น? สัญญาเหล่านี้เกิดสัมฤทธิผลในชีวิตท่านอย่างไร?
ดู ยอห์น 20:26–29; 2 นีไฟ 26:12–13; แอลมา 32:16–18 ด้วย
3 นีไฟ 12:21–30; 13:1–8, 16–18; 14:21–23
ฉันสามารถพยายามทำให้ความปรารถนาของใจฉันบริสุทธิ์
สาระสำคัญประการหนึ่งที่ท่านอาจจเสังเกตเห็นในบทเหล่านี้คือพระดำรัสเชื้อเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ดำเนินชีวิตตามกฎที่สูงกว่า—เป็นคนชอบธรรมไม่เฉพาะในการกระทำของเราเท่านั้นแต่ในใจเราด้วย มองหาสาระสำคัญนี้เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดตรัสเรื่องความขัดแย้ง (3 นีไฟ 12:21–26) การผิดศีลธรรม (3 นีไฟ 12:27–30) การสวดอ้อนวอน (3 นีไฟ 13:5–8) และการอดอาหาร (3 นีไฟ 13:16–18) ท่านพบตัวอย่างอะไรอีกบ้าง? ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้ความปรารถนาของใจท่านบริสุทธิ์?
พระบิดาบนสวรรค์จะประทานสิ่งดีๆ ให้ฉันเมื่อฉันขอ หา และเคาะ
ขณะที่ท่านอ่านพระดำรัสเชื้อเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดใน 3 นีไฟ 14:7–11 ให้ขอ หา และเคาะ จงไตร่ตรองว่าพระองค์ทรงต้องการให้ท่านทูลขอ “สิ่งดีๆ” อะไรบ้าง พระคัมภีร์เพิ่มเติมต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจวิธีขอ หา และเคาะ จะช่วยอธิบายด้วยว่าเหตุใดการสวดอ้อนวอนบางครั้งไม่ได้รับคำตอบอย่างที่ท่านคาดหวัง: อิสยาห์ 55:8–9; ฮีลามัน 10:4–5; โมโรไน 7:26–27, 33, 37; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 9:7–9; 88:64 ข้อเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อวิธีที่ท่านขอ หา และเคาะอย่างไร?
ดู มิลตัน คามาร์โก, “ขอ หา เคาะ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 106–108 ด้วย
แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก
ฉันสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีโดยติดตามพระเยซู
-
บางครั้งเด็กอาจไม่ตระหนักว่าแบบอย่างของพวกเขาเป็นพรแก่คนอื่นๆ ได้มากแค่ไหน ใช้ 3 นีไฟ 12:14–16 กระตุ้นให้พวกเขาส่องสว่าง ตัวอย่างเช่น เมื่อท่านอ่านคำว่า “ท่าน” หรือ “ของท่าน” ในข้อเหล่านี้ ขอให้เด็กชี้ไปที่ตนเอง บอกเด็กเกี่ยวกับแสงสว่างที่ท่านเห็นในตัวพวกเขาเมื่อพวกเขาติดตามพระเยซูคริสต์ และบอกว่าแสงสว่างนั้นสร้างแรงบันดาลใจให้ท่านติดตามพระองค์ด้วยอย่างไร ท่านจะร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันที่กระตุ้นให้เด็กส่องสว่างเหมือนไฟ เช่น “ฉันเป็นเหมือนดวงดาว” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 84)
-
เพื่อกระตุ้นไม่ให้เด็กซ่อนแสงสว่างที่อยู่ในตัวเอง (ดู 3 นีไฟ 12:15) ให้พวกเขาผลัดกันซ่อนหรือบังตะเกียงหรือแสงสว่างอื่นๆ เด็กจะเลิกบังแสงสว่างทุกครั้งที่บอกบางอย่างที่พวกเขาทำได้เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
“จงสะสมทรัพย์สมบัติไว้เพื่อตนในสวรรค์”
-
การอ่านข้อเหล่านี้จะกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เราเห็นคุณค่า ท่านอาจจะนำเด็กๆ ตามล่าหาสิ่งที่เตือนพวกเขาให้นึกถึงสมบัติที่มีค่านิรันดร์
พระบิดาบนสวรรค์ทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของฉัน
-
ขณะที่ท่านอ่าน 3 นีไฟ 14:7 เด็กๆ จะทำท่าประกอบคำเชื้อเชิญแต่ละอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในข้อนี้ ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะแบมือ (ขอ) ทำมือเหมือนกล้องส่องทางไกลไว้ที่ตา (หา) หรือทำท่าเคาะประตู (เคาะ) ช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถทูลและขอในคำสวดอ้อนวอนของตน
-
เด็กอาจจะชอบเล่นเกมที่พวกเขาขออย่างหนึ่งและได้รับอีกอย่างหนึ่ง ใน 3 นีไฟ 14:7–11 พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้เรารู้อะไรเกี่ยวกับพระบิดาในสวรรค์ของเรา?
พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้ฉันฟังและทำสิ่งที่พระองค์ทรงสอน
-
คิดหาวิธีที่ท่านจะช่วยให้เด็กเห็นภาพอุปมาในข้อเหล่านี้ พวกเขาอาจจะวาดรูป ทำท่าประกอบ หรือสร้างบางอย่างบนฐานหินและฐานทราย พวกเขาจะใช้คำว่า “คนมีปัญญา” แทนชื่อตนเองขณะอ่าน 3 นีไฟ 14:24–27 หรือร้องเพลง “คนมีปัญญาและคนโง่” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 132) หรือพวกเขาจะยืนขึ้นทุกครั้งที่ได้ยินคำว่า “ทำ” ใน 3 นีไฟ 14:21–27 และ 15:1
-
บทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริงที่ท่านลองนำไปใช้ได้คือ ขอให้เด็กสมมติว่าขาข้างหนึ่งแทนการได้ยินพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอด และขาอีกข้างแทนการทำสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอน ให้เด็กพยายามทรงตัวโดยใช้ขาข้าง “ได้ยิน” เท่านั้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลมแรงพัดเข้ามาในห้อง? จากนั้นท่านและเด็กจะมองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนให้เราทำ: ดู 3 นีไฟ 12:3–12, 21–26; 13:5–8