จงตามเรามา
14–20 เมษายน: “เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร”: อีสเตอร์


14–20 เมษายน: ‘เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร’: อีสเตอร์” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“อีสเตอร์” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

รูปปั้นพระคริสต์

14–20 เมษายน: “เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร”

อีสเตอร์

วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1836 เป็นวันอาทิตย์อีสเตอร์ หลังจากช่วยปฏิบัติศีลระลึกให้วิสุทธิชนในพระวิหารเคิร์ทแลนด์ที่เพิ่งได้รับการอุทิศ โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีพบที่เงียบสงัดหลังม่านและก้มศีรษะสวดอ้อนวอนในใจ จากนั้น ในวันศักดิ์สิทธิ์นี้เมื่อชาวคริสต์ทุกหนแห่งกำลังเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดผู้คืนพระชนม์แล้วทรงปรากฏในพระวิหารของพระองค์ ทรงประกาศว่า “เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 110:4)

การพูดว่าพระเยซูคริสต์คือ “เขาผู้นั้นที่มีชีวิต” หมายความว่าอย่างไร? ทั้งนี้ไม่เพียงหมายความว่าพระองค์ทรงลุกออกจากอุโมงค์และปรากฏต่อเหล่าสาวกของพระองค์ในกาลิลีเท่านั้น แต่หมายความว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ทุกวันนี้ พระองค์ตรัสผ่านศาสดาพยากรณ์ทุกวันนี้ พระองค์ทรงนำศาสนจักรทุกวันนี้ พระองค์ทรงรักษาจิตวิญญาณที่บาดเจ็บและใจที่ชอกช้ำทุกวันนี้ เราจึงสามารถกล่าวย้ำประจักษ์พยานอันทรงพลังของโจเซฟ สมิธที่ว่า “หลังจากประจักษ์พยานจำนวนมากที่ให้ไว้ถึงพระองค์, นี่คือประจักษ์พยาน … ซึ่งเราให้ไว้ถึงพระองค์: ว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่!” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:22) เราสามารถได้ยินสุรเสียงของพระองค์ในการเปิดเผยเหล่านี้ เป็นพยานถึงพระหัตถ์ของพระองค์ในชีวิตเรา และรู้สึกว่า “ข้อความหวานนี้แสนสุขล้น ‘ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์!’” (เพลงสวด บทเพลงที่ 59)

ไอคอนศึกษา

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

ไอคอนเซมินารี
พระเยซูคริสต์ทรงพระชนม์

พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นพระเยซูคริสต์เหมือนศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเห็น แต่เรารู้ได้เช่นเดียวกับโจเซฟว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงพระชนม์ พระองค์ทรงทราบความสําเร็จและการต่อสู้ดิ้นรนของเรา พระองค์จะทรงช่วยเราในยามต้องการ พิจารณาประจักษ์พยานของท่านเองเกี่ยวกับพระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์ขณะไตร่ตรองคําถามด้านล่างและศึกษาแหล่งข้อมูลประกอบ

พลังมาจากการท่องจํา เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์อธิบายว่า “พลังยิ่งใหญ่เกิดขึ้นได้จากการท่องจําพระคัมภีร์ การท่องจำพระคัมภีร์เป็นการสร้างมิตรภาพใหม่ เปรียบเสมือนการค้นพบบุคคลอีกคนหนึ่งที่สามารถช่วยเราได้ยามจำเป็น ให้การดลใจและการปลอบโยนตลอดจนเป็นบ่อเกิดของแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น” (“พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 7) ถ้าท่านพบพระคัมภีร์ข้อหนึ่งเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดที่มีความหมายต่อท่านเป็นพิเศษ—บางทีข้อนั้นอาจให้การปลอบโยนท่านในยามต้องการ—ท่านอาจจะท่องจําข้อนี้

ในวีดิทัศน์เรื่อง “My Spiritual Goal” เยาวชนหญิงคนหนึ่งตัดสินใจท่องจํา “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์” (คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับประสบการณ์ของเธอ? ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ทําอะไรเพื่อได้รับความจริงใน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์” ในใจและในความคิดท่าน?

2:5

Let Your Goals Be Guided by the Spirit

Ashley’s spiritual goal was to grow closer to Christ. So she made a plan, wrote it down, and set a completion date. Setting goals has increased Ashley’s ability to accomplish things she feels inspired to do.

เพื่อเรียนรู้มากขึ้นว่าพระผู้ช่วยให้รอดประทานพรเราในวันนี้อย่างไร ท่านอาจศึกษา ฟัง หรือร้องเพลง “ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์” (เพลงสวด บทเพลงที่ 59) อาจสร้างแรงบันดาลใจให้มองหาความจริงในเพลงสวดนี้ที่สอนไว้ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 6:34; 84:77; 98:18; 138:23

เพราะพระเยซูคริสต์ ฉันจึงจะฟื้นคืนชีวิต

โจเซฟ สมิธรู้ว่าความรู้สึกอาลัยรักต่อการสิ้นชีวิตของคนที่เรารักนั้นเป็นอย่างไร รวมทั้งบิดาและพี่ชายสองคนของท่าน โจเซฟกับเอ็มมาฝังลูกหกคน แต่ละคนอายุไม่ถึงสองขวบ จากการเปิดเผยที่พระผู้เป็นเจ้าประทาน โจเซฟกับเอ็มมาได้รับมุมมองนิรันดร์

มองหาความจริงเกี่ยวกับความตายและแผนนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้าใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 29:26–27; 42:45–46; 63:49; 88:14–17, 27–31; 93:33–34 ความจริงเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่ท่านมองความตาย? และส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่ท่านดำเนินชีวิต?

ดู 1 โครินธ์ 15; คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ (2007), 174–176Easter.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

พระเยซูคริสต์ทรงทำ “การชดใช้ที่สมบูรณ์” สำเร็จสำหรับฉัน

วิธีหนึ่งที่จะให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นศูนย์รวมในช่วงเทศกาลอีสเตอร์คือศึกษาการเปิดเผยในพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาที่สอนเกี่ยวกับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระองค์ การเปิดเผยบางส่วนพบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:10–13; 19:16–19; 45:3–5; 76:69–70 ท่านอาจเขียนความจริงที่ท่านพบในข้อเหล่านี้เป็นข้อๆ เพื่อทําให้การศึกษาของท่านลึกซึ้งยิ่งขึ้น ท่านอาจเพิ่มรายการของท่านโดยค้นคว้า ลูกา 22:39–44; 1 ยอห์น 1:7; 2 นีไฟ 2:6–9; โมไซยาห์ 3:5–13, 17–18; โมโรไน 10:32–33

คำถามบางข้อต่อไปนี้จะให้แนวทางในการศึกษาของท่าน:

  • การชดใช้ของพระเยซูคริสต์คืออะไร?

  • เหตุใดพระเยซูคริสต์ทรงเลือกทนทุกข์และสิ้นพระชนม์เพื่อเรา?

  • ฉันต้องทำอะไรจึงจะได้รับพรจากการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์?

  • ฉันรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์หลังจากอ่านข้อเหล่านี้?

ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ชดใช้ (การ),” คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ; “The Savior Suffers in Gethsemane” (วีดิทัศน์), คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

2:3

พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์ในเกทเสมนี

พระเยซู เปโตร ยากอบ และยอห์นไปยังสวนเกทเสมนี พระเยซูทรงยอมรับพระประสงค์ของพระบิดาและเริ่มทน​ทุกข์​ทรมานเพื่อบาปและความทุกข์ของมนุษยชาติ จากนั้น พระองค์ถูกทรยศและจับกุม มัทธิว 26:36-57

ดูแนวคิดเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร เลียโฮนา และ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ฉบับเดือนนี้

ไอคอนหมวดเด็ก 01

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

เพราะพระเยซูคริสต์ ฉันจะฟื้นคืนชีวิต

  • เพื่อสอนเด็กเรื่องการฟื้นคืนชีวิต ท่านอาจเริ่มโดยให้พวกเขาดูภาพการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด ให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ ท่านอาจร้องเพลงเช่น “พระเยซูทรงฟื้นขึ้นจริงไหมหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 45)

  • พิจารณาบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์ที่อาจช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราตาย (วิญญาณกับร่างกายของเราแยกจากกัน) และเมื่อเราฟื้นคืนชีวิต (วิญญาณกับร่างกายของเรากลับมารวมกันอีก และร่างกายของเราจะสมบูรณ์และเป็นอมตะ) ตัวอย่างเช่น เกิดอะไรขึ้นเมื่อเรานำถ่านออกจากไฟฉายหรือนำหมึกออกจากปากกา? เกิดอะไรขึ้นเมื่อนำสิ่งเหล่านี้มารวมกัน? (ดู แอลมา 11:44–45)

  • เด็กรู้จักคนที่ตายไปแล้วหรือไม่? ให้พวกเขาแบ่งปันเล็กน้อยเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ แล้วอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 138:17 ด้วยกัน สนทนากันว่าเรารู้สึกอย่างไรเมื่อรู้ว่าคนที่เรารักจะฟื้นคืนชีวิตและมีร่างกายอีกครั้ง

  • หากท่านมีเด็กโต ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขามองหาวลีที่จับใจจากข่าวสารของอีสเตอร์ในข้อต่อไปนี้: หลักคําสอนและพันธสัญญา 63:49; 88:14–17, 27; 138:11, 14–17 พวกเขาอาจจะทําเช่นเดียวกันกับวีดิทัศน์เรื่อง “Because He Lives” (คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) เราจะแบ่งปันข่าวสารนี้ให้กับคนอื่นๆ ได้อย่างไร?

การฝังและการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเห็นพระเยซูคริสต์

  • ท่านและเด็กอาจสนใจอ่านสามครั้งที่พระเยซูคริสต์ทรงปรากฏต่อโจเซฟ สมิธและคนอื่นๆ ดังที่บันทึกไว้ใน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:14–17; หลักคําสอนและพันธสัญญา 76:11–24; 110:1–10 เด็กอาจดูภาพเหตุการณ์เหล่านี้ใน หน้ากิจกรรม ของสัปดาห์นี้ เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากประสบการณ์แต่ละอย่างเหล่านี้? เหตุใดจึงเป็นพรที่รู้ว่าโจเซฟ สมิธและคนอื่นๆ เห็นพระผู้ช่วยให้รอดที่ฟื้นคืนพระชนม์?

เพราะพระเยซูคริสต์ ฉันจึงได้รับการอภัยบาป

  • ความจริงที่โจเซฟ สมิธเรียนรู้เกี่ยวกับการให้อภัยผ่านพระคริสต์จะให้ความหวังแก่เด็กว่าพวกเขาจะได้รับการให้อภัยจากความผิดพลาดและบาปของพวกเขา ท่านอาจเชื้อเชิญให้เด็กสร้างตารางที่มีหัวข้อทํานองนี้: สิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทําเพื่อฉัน และ สิ่งที่ฉันต้องทําเพื่อรับการให้อภัยจากพระองค์ ช่วยเด็กค้นหาข้อความต่อไปนี้เพื่อค้นหาสิ่งที่อยู่ในหัวข้อเหล่านี้: หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:10–13; 19:16–19; 45:3–5; 58:42–43 แบ่งปันปีติและความสำนึกคุณของท่านต่อสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อเรา

3:4

The Shiny Bicycle

Everybody makes mistakes, and even though it's not easy, with the help of Heavenly Father and Jesus Christ we can receive forgiveness for our sins.

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

พระคริสต์ผู้ทรงฟื้นคืนพระชนม์ปรากฏต่อมารีย์

พระคริสต์กับมารีย์ที่อุโมงค์ โดย โจเซฟ บริกคีย์

หน้ากิจกรรมสําหรับเด็ก